หมอครอบครัว...ต่างกับ..การเยี่ยมบ้านอย่างไร?


ประชาชนอุ่นใจ...มีญาติทั่วไทย...เป็นหมอครอบครัว..

ตามที่มี...นโยบาย..ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team)...ซึ่งมีเป้าหมายและองค์ประกอบดังนี้ค่ะ...

เป้าหมาย (Goal) ประชาชนและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้และไม่ทอดทิ้งกัน... โดยมีเครือข่ายบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ... และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน

เป้าหมาย ระยะ 6 เดือนแรก (ธ.ค. 57-พ.ค. 58) การรับรู้ของประชาชนว่า มีทีมหมอครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลประชาชน โดยระยะแรกมี.... กลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการดูแล ๓ กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุติดเตียง คนพิการที่ต้องได้รับการดูแล และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care)

เป้าหมาย ระยะ 6 เดือนหลัง (มิ.ย.-พ.ย. 58) คนไทยมีทีมหมอครอบครัวประจำตัวทุกครัวเรือน มีการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง คนพิการที่ต้องได้รับการดูแล และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

องค์ประกอบ ของทีมหมอครอบครัว

  • ทีมหมอครอบครัว ระดับอำเภอ หมายถึง ทีมที่มีแพทย์เป็นหัวหน้าทีม เพื่อเป็นพี่เลี้ยง ดูแลทีมระดับตำบล และทีมชุมชน ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพจาก รพ. และทีมจาก สสอ. เท่าที่จะจัดทีมให้เหมาะสม โดยมีแพทย์เป็นหัวหน้าทีม โดยส่วนใหญ่แพทย์ 1 คน จะรับผิดชอบ ประมาณ 2-3 ทีม (แพทย์อาจเป็นหัวหน้าทีมหลายทีมได้)
  • ทีมหมอครอบครัว ระดับตำบล หมายถึง ทีมที่มีบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ใน ศสม./ PCU / รพ.สต. ทำงานร่วมกันในการดูแลประชาชนประกอบด้วยหลายวิชาชีพ เช่น พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข ทันตาภิบาล นักการแพทย์แผนไทย เป็นต้น (จำนวนทีมเท่ากับหน่วยบริการ ศสม. / PCU / รพ.สต. )
  • ทีมหมอครอบครัว ระดับชุมชน หมายถึง ทีมที่มีเจ้าหน้าที่ ศสม./ PCU /รพ.สต. เป็นหัวหน้าทีม มีการแบ่งพื้นที่การดูแล รับผิดชอบประชาชน ทำงานร่วมกับท้องถิ่น อสม. อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสา และชุมชน (ส่วนใหญ่จำนวนทีมชุมชนจะเท่ากับจำนวนเจ้าหน้าที่ รพ.สต.)

กลุ่มเป้าหมาย...ได้แก่ ประชาชน ทุกกลุ่มวัย และ ทุกครัวเรือน แต่ในระยะเริ่มแรก ปีงบประมาณ 2558 ได้กำหนดกลุ่ม เป้าหมายหลัก ที่จะต้องได้รับการดูแลโดยทีมหมอครอบครัว 3 กลุ่ม

- ผู้สูงอายุติดเตียง

- ผู้พิการที่ต้องได้รับการดูแล

- ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative Care)

  • ผู้สูงอายุติดเตียง หมายถึง ผู้สูงอายุที่ป่วย/ไม่ป่วย และช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นบางครั้ง หรือตลอดเวลา
  • ผู้พิการที่ต้องได้รับการดูแล หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือมากกว่า ที่ช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนทำให้ต้องมีผู้ดูแลกิจวัตรประจำวันบางส่วนหรือทั้งหมด
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative Care) หมายถึง ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะคุกคามชีวิต คือ ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ผู้ป่วยที่มีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นานหรือผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต



ส่วน...งานเยี่ยมบ้าน (Home visit) ... เป็นงานเยี่ยมบ้านที่โรงพยาบาลได้กำหนดการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ออกจาโรงพยาบาลแล้วมีความจำเป็นตามเกณฑ์ที่ต้องลงไปเยี่ยมผู้ป่วยภายหลังออกจากโรงพยาบาลซึ่ง

มีกลุ่มเป้าหมายและเกณฑ์การเยี่ยม มี 7 กลุ่มคือ

1. ผู้ป่วยจิตเวช คือ ผู้ป่วยในเขตรพ.สต.นั้นๆ ซึ่งได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าป่วยเป็นโรค จิตเวช (Psychosis)

ระดับ 1 คือ ผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และรบกวนความสงบผู้อื่น และ

ระดับ 2 คือ ผู้ที่ อยู่ตามล่าพังแยกตัวตัวจากผู้อื่นและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้โดยทุกรายต้องได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อยเดือน ละ 1 ครั้ง

2. ผู้ป่วยวัณโรค คือ ผู้ป่วยในเขตรพ.สต.นั้นๆ ซึ่งได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าป่วยเป็นโรค วัณโรค และขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งส่งต่อการรักษาด้วยวิธี DOTS ที่ รพ.สต. โดยทุกรายต้องได้รับ การเยี่ยมบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

3. ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง คือ ผู้ป่วยในเขตรพ.สต.นั้นๆ ซึ่ง ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนหรือมีองค์ประกอบอื่นอย่างใดอย่าง หนึ่ง ดังต่อไปนี้ทุกรายต้องได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เป็นผู้ป่วยเบาหวานติดเตียง ไม่สามารถเดินหรือช่วยตนเองได้น้อย เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า แผลกัดทับ หรือแผลต่าแหน่งอื่นๆ ซึ่งต้องได้รับ การทำแผลหรือต้องเฝ้าระวัง หรือ ได้รับการ รักษาด้วยยาฉีด Insulin

4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคเส้นเลือดสมอง คือ ผู้ป่วย ในเขตรพ.สต.นั้นๆ ซึ่ง ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีโรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก มีอาการ อัมพาตอ่อนแรง อัมพาตทั้งตัว อัมพาตครึ่งท่อนล่าง อัมพาตครึ่งซีก หรือ อัมพาตของแขนและขา ผู้ป่วยตาม เกณฑ์นี้ทุกรายต้องได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

5. ผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ คือ ผู้พิการทางกายที่สูญเสียความสามารถในการ เคลื่อนไหวจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจ่าวันได้หรือผู้พิการทางสายตาระดับตาบอดชั้นสาม (มองไม่เห็น แม้แต่แสงสว่าง) และไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจ่าวันได้ หรือ ผู้พิการทางปัญญาระดับปัญญาอ่อนรุนแรง จนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจ่าวันได้ ผู้พิการที่เหลือตนเองไม่ได้ตามหลักเกณฑ์นี้ ทุกรายต้องได้รับการ เยี่ยมบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

6. ผู้สูงอายุ คือ ผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมทางกายภาพ ส่งผลให้มีการจ่ากัดในการดูแล ช่วยเหลือตนเองในการท่ากิจวัตรประวัน ทุกรายต้องได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ในรายที่ต้อง พึ่งพา ไม่มีผู้ดูแล ต้องเยี่ยมตามความจำเป็น

7. หญิงหลังคลอด คือ หญิงคลอดบุตรในเขตรับผิดชอบทุกราย ต้องไดรับการเยี่ยมบ้าน 3 ครั้ง ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด


สรุปได้ว่า... ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team: FCT) กับ...การเยี่ยมบ้าน (Home visit) ต่างกันไหม????..

1. โครงสร้างของทีม หรือ องค์ประกอบ ของทีมFCT มีตั้ง 3 ระดับ คือ

- ระดับอำเภอ....

- ระดับตำบล...

- ระดับชุมชน..

2. กลุ่มเป้าหมายที่ไปเยี่ยมของทีมFCT มีแค่ 3 กลุ่ม คือ

- ผู้สูงอายุติดเตียง

- ผู้พิการที่ต้องได้รับการดูแล

- ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative Care) ค่ะ

ที่แน่ๆ คือ ในFCT ไม่มีเรื่องการไปเยี่ยมแม่หลังคลอดเพื่อให้คำแนะนำ...ทั้งการดูแลทารกและหญิงหลังคลอด ...แนะนำครอบครัว...แนะนำการวางแผนการคุมกำเนิด ... แนะนำการให้นมแม่และเรื่องอื่น ฯลฯ นะคะ

3. เป็นนโยบายใหม่...ของผู้บริหารระดับสูง....เป็นบริการใหม่ของกระทรวงฯที่จะเข้าถึงประชาชนคนไทยทุกครัวเรือน... นโยบายทีมหมอครอบครัว เป้าหมาย (Goal) ประชาชนและชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมี...เครือข่ายบริการสาธารณสุข...ที่มีคุณภาพนะคะ...และได้รับความไว้วางใจจากประชาชนค่ะ

4. มีการติดตามและประเมินผล ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพค่ะ... เชิงปริมาณมีการตั้งทีมเป็นลายลักษณ์อักษร... ของทีมทั้ง 3 ระดับ...ได้ลงไปทำงานตามที่วางแผนไว้ไหม? คือ ไปทำงานเป็นทีมแล้วผลลัพธ์ คือ กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มดีขั้นไหม? คุณภาพ/ผลการทำงานดีไหม? (วัดจากคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ป่วยแต่ละกลุ่มมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นนะคะ (แต่....คุณภาพเจ้าหน้าที่... อย่าลืมดูแลตนเองด้วยนะคะ)

5. มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม....ซึ่งได้แก่ ทำงานร่วมกับท้องถิ่นนะคะทั้ง อสม. อปท. กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, จิตอาสาและคนในชุมชน .... ถ้าเป็น Home visit...เราไปกันเอง คือ มีทีมใน รพ.หรือทีมเยี่ยมบ้าน ร่วมกับPCU/เจ้าหน้าที่อนามัย.... อย่างดีก็มี อสม. มาร่วมนะคะ ...

6. เป็นการวัดความแข็งแกร่งการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ของหมอครอบครัว จริงๆ ค่ะ (วัดความแข็งแกร่งทั้ง 3 ระดับเลยนะคะทั้ง ระดับอำเภอ....ระดับตำบล...ระดับชุมชน)

7. เป็นการวัด "ระบบการรับส่ง-ส่งต่อผู้ป่วย" (ระบบ Refer)... ทีมที่แข็งแกร่งนั้น ... ระบบReferต้องรวดเร็ว..แบบไร้รอยต่อ ไร้ตะเข็บ (Lean and Seamless Healthcare) .... ก็จะทำให้ทีมหมอครอบครัว ...เยี่ยมจริงๆๆ ค่ะ

8. ต่างตรงชื่อที่เรียก (ฮาา...ฮา...555)...Family Care Team กับ...Home visit ฮาฮา


สรุปได้ว่า... จะมีนโยบายอะไรมา....ชาวสา'สุข ทำได้ทั้งนั้นค่ะ(ฮาาฮา)



ขอบคุณค่ะ

9 มิ.ย.2558

หมายเลขบันทึก: 590930เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2015 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2015 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขออนุโมทนาบุญ และชื่นชมในภาระกิจดูแลสุขอนามัยของผู้ป่วยอย่างเข้มแข็งเช่นนี้ ขอบคุณค่ะ...

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจชาสาธารณสุขครับ

-การได้เยี่ยมเยียนทำให้ได้ทราบถึงความเป็นอยู่ของชุมชน

-ได้งาน...ได้ใจ...และก็สุขใจครับ

-ขอบคุณครับ

เป็นกำลังให้ทีมหมอครอบครัวนะครับ

มีดอกไม้มาฝากเป็นกำลังใจเจ้าค่ะ..

กระจ่างมากขึ้นค่ะพี่เปิ้น แนวคิดหลักไม่ต่างมากนักนะคะ .... ขอให้พึ่งตนเอง ครอบครัว ชุมชนดูแลกัน ไม่ทอดทิ้งกันนะคะ

ชัดเจนขึ้นมากๆครับ

ได้เห็นความแตกต่างเลย

ขอบคุรพี่มากๆครับ

ไม่ต้องมาเยี่ยมกุกูอยากตาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท