พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม : การวิจัยและพัฒนาหาดทรายของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ผมชื่นชมที่ ผศ. กัลยาณีกล่าวว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จมากในการดูแลป่าชายเลน หรือหาดเลน แต่ละเลยไม่ได้เอาใจใส่ ไม่ให้ความสำคัญต่อหาดทราย ไม่ได้คิดทำงานวิชาการเกี่ยวกับหาดทราย เพื่อทำความเข้าใจหาดทรายหรือพลวัตของหาดทราย สังคมไทยจึงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหาดทราย นำไปสู่การทำลายหาดทรายโดยไม่รู้ตัว ไม่ตั้งใจ โดยการนำเอาโครงสร้างแข็งไปไว้ที่ชายหาด ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับหาดทรายในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยคือ ทรายเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ


สภาวิทยาเขตหาดใหญ่ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เชิญ ผศ. กัลยาณี พรพิเนตพงศ์ ทีมงานวิจัยการใช้ประโยชน์หาดทรายอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินการมา ๕ - ๖ ปี มาเล่าผลงานที่ผ่านมา น่าชื่นชมมาก ท่านที่สนใจดูได้จาก , โดยทีมงานทำทั้ง research และ policy advocacy

ผมชื่นชมที่ ผศ. กัลยาณีกล่าวว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จมากในการดูแลป่าชายเลน หรือหาดเลน แต่ละเลยไม่ได้เอาใจใส่ ไม่ให้ความสำคัญต่อหาดทราย ไม่ได้คิดทำงานวิชาการเกี่ยวกับหาดทราย เพื่อทำความเข้าใจหาดทรายหรือพลวัตของหาดทราย สังคมไทยจึงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหาดทราย นำไปสู่การทำลายหาดทรายโดยไม่รู้ตัว ไม่ตั้งใจ โดยการนำเอาโครงสร้างแข็งไปไว้ที่ชายหาด

ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับหาดทรายในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยคือ ทรายเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ

ศ. ดร. สนิท อักษรแก้ว ให้ความรู้ว่า ชายหาดริมฝั่งทะเลของไทย ๒,๘๐๐ กิโลเมตรนั้น เป็นหาดเลน หรือป่าชายเลน ๖๐% หาดทราย ๓๐% และหาดหิน ๑๐% ส่วนที่เป็นหาดเลนเราจัดการได้ดีพอสมควร แต่ขาดการจัดการหาดทราย อย่างที่ ผศ. กัลยาณีนำเสนอ

ที่จริงในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีทีมวิจัยเกี่ยวกับชายฝั่งทะเลหลายทีม แต่ขาดกลไกบูรณาการ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิด synergy ต่อการทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง

ที่ประชุมสภาวิทยาเขตหาดใหญ่ จึงมีมติให้ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยกลับไปปรึกษาหารือกัน เพื่อเสนอกลไกประสานงานและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาชายหาดอย่างบูรณาการ แล้วนำไปเสนอต่อ สภามหาวิทยาลัย เพราะควรจะเป็นเรื่องที่ทำงานร่วมกันทุกวิทยาเขต เนื่องจากทุกวิทยาเขตต่างก็มีพื้นที่ บริการติดกับทะเลทั้งสิ้น

สภาวิทยาเขตหาดใหญ่เสนอกลไกการจัดประชุมวิชาการประจำปี เรื่องชายหาด/หาดทราย ที่มีทั้ง นักวิชาการ และภาคประชาชน ภาคการปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยราชการที่มีหน้าที่ดูแลชายหาด (ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมเจ้าท่า) เข้าร่วมด้วย เพื่อเชื่อมโยงวิชาการเข้ากับการปฏิบัติ หรือเป็นกลไกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ปฏิบัติ พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (University Social Engagement) นั่นเอง



วิจารณ์ พานิช

๒๓ เม.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 590778เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2015 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2015 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเทศไทยมีเคยมีหาดทรายสวยงามทั้งสองฝั่งทะเล แต่ไม่มีสถาบันไหนจัดการเรียนการสอนและวิจัยอย่างเป็นระบบ ทำให้สมบัติล้ำค่านี้ถูกทำลายไปกว่าครึ่ง และที่เหลือก็รอวันพังทลาย ม.สงขลาฯซึ่งอยุ่ใกล้ชิดชายฝั่งทะเล จึงควรมีภาระหน้าที่ดูแลทรัพยากรนี้ไว้ อย่างเต็มกำลัง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท