จากพิธีกรรมผ่าจ้านช้าง สู่วัฒนธรรมฝึกคนเพื่อให้เป็นมนุษย์เศรษฐกิจ



วันนี้วันแรงงาน มีวาทกรรมเท่ห์ ๆ ว่า "แรงงานนั้นเป็นผู้สร้างโลกนี้"
ไม่รู้ว่าใครสร้างวาทกรรมนี้ นายทุน หรือ กรรมกร จึงมิอาจทราบได้
แรงงานแต่เดิมมีตั้งแต่ยุคบุพกาล เชลยที่แพ้จากการต่อสู้จึงต้องนำ
มาใช้แรงงานเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงพัฒนาการให้เป็นทาส ที่สามารถ
ซื้อขายแรงงานด้วยเงินได้ จนมาถึงระบบทุน ที่แรงงานถูกจูงใจด้วยเงิน
แต่อย่างไรก็ตามมีคำถามว่า "มีการฝึกคนให้เป็นมนุษย์เศรษฐกิจได้อย่างไร

ก่อนที่จะไปดูมนุษย์เศรษฐกิจ ไปดูเรื่องการฝึกช้าง โดยเฉพาะพิธีกรรม
ที่เรียกว่า การผ่าจ้านช้าง ปกติช้างก็อยู่ในป่ามีความเป็นอิสระอยู่ในตัว คนได้
มองเห็นประโยชน์ที่จะนำเอาช้างมาใช้ประโยชน์เป็นแรงงาน จึงได้เอาช้างมาฝึก
เพื่อให้ประโยชน์แก่มนุษย์ การเอาช้างมาฝึกแต่แรกเขามีพิธีกรรมคือ "ผ่าจ้าน"
ผ่าจ้าน คือ แยกลูกช้างออกจากแม่ช้าง และพยายามบังคับควบคุมด้วยการให้
รางวัลคืออาหาร และลงโทษด้วยตะขอ จนสามารถเอาช้างมาทำงานรับใช้
มนุษย์ได้ ซึ่งปกติกว่าจะนำเอาช่างให้เชื่องและเชือฟังคนฝึก ต้องผ่านการลงโทษ
อย่างรุนแรง ซึ่งคลิปที่เอาลงนี้เบามาก ๆ ยังมีอีกหลายคลิปที่แสดงถึงความโหดร้าย
ทารุณกว่าที่ช้างจะกลายเป็นแรงงาน ช้างบางตัวเสียชีวิตไปก่อน บางตัวบาดเจ็บมาก
ต้องฝึกอย่างหนักเพื่อโชว์ในธุรกิจของมนุษย์ เช่นวาดภาพ เล่นฟุตบอล เพื่อความ
บันเทิงของมนุษย์ นอกจากนั้นแล้วการใช้แรงงานในการขนของ ลากไม้ นำนักท่องเที่ยว
ไปเที่ยว และใช้แรงงานเกินกำลังเพื่อธุรกิจทำกำไรสูงสุด นำไปสู่การทารุณกรรมช้าง

แล้ว กระบวนการกลายเป็นมนุษย์เศรษฐกิจ ก็คล้าย ๆ กับการทำผาจ้านช้างนั่นแหละ
กระบวนการแยกคือ กระบวนการแยกลูกออกจากแม่จากครอบครัวเสียก่อน เป็นอันดับแรก
เพื่อมาฝึกให้เป็นแรงงานที่ดีในระบบทุนนิยม ผ่านกระบวนการให้รางวัลและการลงโทษ
เหมือนกัน ในยุคก่อน ๆ การฝึกคนนั้นใช้ไม้เรียว เพื่อที่จะควบคุมการลงโทษให้เบ็ดเสร็จ
สิ่งสำคัญในการฝึกมนุษย์ให้เป็นมนุษย์เศรษฐกิจก็คือ "เชื่อฟัง" การเชื่อฟัง นั้นเป็นเป้าหมาย
ไม่ว่าคนหรือช้าง เป้าหมายของช้างคือ "เชื่อฟัง" และ "ควบคุมได้ "เป้าหมายของคนคือ
"เชื่อฟัง" และ "สามารถควบคุมได้" ความแตกต่างระหว่างช้างกับคนก็คือ ช้างไม่สามารถ
หลอกคนได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจ ช้างจะแสดงออกอย่างชัดเจน สำหรับคนแล้วสามารถ
หลอกว่าพอใจได้ ทั้งที่ไม่พอใจ ส่วนรางวัลของช้างเป็นอาหารที่ใช้ประทังชีวิต ส่วนรางวัล
ของคนมีมากหลาย เช่น จะทำใช้ชีวิตดีขึ้น มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เยอะ ๆ ได้รับการ
ยกย่อง มีเกียรติ การจูงใจหรือรางวัลทางบวกจึงมีความซับซ้อนกว่า การฝึกช้างมาก ส่วน
การใช้แรงงานของมนุษย์ในระบบอุตสาหกรรม มีการแบ่งแยกแรงงานตามที่ได้รับการฝึก
นอกจากกระบวนการฝึกให้เป็นแรงงานแล้ว การฝึกที่สำคัญของการเป็นมนุษย์เศรษฐกิจ
ก็คือ การฝึกเพื่อให้เป็นนักบริโภคที่ดี ไลฟ์สไตล์ของการบริโภค เป็นหัวใจสำคัญของระบบ
ทุนนิยม จึงสร้างวิธีฝึกที่แนบเนียนจากความเชื่อฟังจากการฝึกประจำวัน มาสู่การเชื่อฟังใน
ระบบโฆษณา เพื่อผลักดันระบบทุนนิยมให้แข็งแกร่งขึ้น และมีการฝึกเป็นแรงงานที่ดีสามารถ
ทำตามคำสั่งได้อย่างยิ่งยวด ที่เรียกว่า คุณภาพ มาตรฐาน มีเป้าหมายเพื่อจะฝึกมนุษย์เศรษฐกิจ
ได้มีศักยภาพเพิ่ม โดยเนื้อแท้แล้วก็คือการทำตามคำสั่งและข้อกำหนดอย่างละเอียด เพื่อสามารถ
ควบคุมกำไรในระบบทุนนิยมได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าในอนาคตอาจมีการกำหนดฝึกช้างแบบ "KPI"
ก็เป็นได้เหมือนกัน ถ้าทำสำเร็จกับมนุษย์ ช้างอาจเป็นรายต่อไป

จากกระบวนการกลายเป็นแรงงาน ซึ่งช้างกับคน ไม่แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่คนมีความซับซ้อน
กว่า กระบวนการลงโทษของคนอาจจะเนียนกว่า การลงโทษช้าง แต่สุดท้าย ช้าง กับ คน ก็มีฐานะ
เท่าเทียมกันคือ "เป็นสัตว์เศรษฐกิจ" เหมือนกัน

คำสำคัญ (Tags): #ผ่าจ้าน
หมายเลขบันทึก: 589618เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หากเราจะนำพิธีกรรมการฝึกช้างมาเทียบกับพิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน หรือ the rite of passage จะน่าสนใจมากขึ้น ทีคุณมาถามผมว่า ผมเคยอ่านงานของ Geertz เรื่อง The Integrative Revolution ไหม ผมเคยอ่านครับ เกือบ 15 ปีได้แล้วครับ ผมย้ายบ้านบ่อยก็เลยไม่ได้เก็บต้นฉบับไว้ แต่ผมได้นำบางส่วนมาเขียนบันทึกในเรื่อง การปฏิวัติแบบบูรณาการ : ชาติพันธุ์, อัตลักษณ์, และ ความเป็นชาติ ตอนที่ 1..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/583386 ครับ ขอบคุณอีกครั้งที่ได้สอบถามนะครับ

น่าสงสารช้างนะเนี่ย

ขอบคุณครับ

Thanks for the viewpoint on economic animals.

Man over work animals is an exploitation (Man gets profit; Animals get food and care). Man over man is economic power (few of Man get profits; more enslaved). Sad!

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท