ตำราชิวิต กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุที่มีปัญหานอนไม่หลับ


สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน หลังจากที่ดิฉันได้รับมอบหมายจากอ.ให้ค้นหาข้อมูลในเรื่องที่สนใจ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำวิจัยของตนเองในปีการศึกษาหน้า ดิฉันได้เลือกหัวข้อที่ตัวเองสนใจก็คือ การรักษาทางกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุที่มีปัญหานอนไม่หลับ เมื่อได้ค้นคว้าข้อมูลและอ่านเอกสารทางวิชาการมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว วันนี้ดิฉันจะมาเล่าให้ฟังว่า นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยผู้รับบริการสูงอายุที่มีปัญหานอนไม่หลับให้นอนหลับได้อย่างไรบ้าง

1.PEOP interaction

นักกิจกรรมบำบัดจะใช้กรอบอ้างอิงในการประเมินและรักษาผู้รับบริการ ซึ่งในหัวข้อนี้ ดิฉันจะขอนำเสนอกรอบอ้างอิงที่มีชื่อว่า Person-Environment-Occupation-Performance Model หรือที่เรียกสั้นๆว่า PEOP นั่นเอง

P (Person): ผู้สูงอายุมีภาวะนอนไม่หลับ

1.ซึ่งมีปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดสภาวะการนอนไม่หลับอยู่หลายประการด้วยกันคือ1.Physical Illness ปัจจัยทางด้านร่างกาย ได้แก่ มีอาการเจ็บในโรคข้ออักเสบ(arthritis), อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากโรคสมองเสื่อม (dementia), การไอ กรน หายใจติดขัดทำให้นอนไม่หลับ เป็นต้น

2.Depress mood สภาวะอารมณ์ที่เศร้าหมอง ได้แก่ ความเหงา ความกังวลใจ ความเครียด เป็นต้น

3.Gender เพศ จากการศึกษาพบว่า เพศหญิงจะมีอัตราความเสี่ยงในการนอนไม่หลับมากกว่าเพศชาย

E (Environment): สิ่งแวดล้อมภายนอก

จากงานวิจัยพบว่า

  • การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการนอนหลับ มีประสิทธิภาพในการนอนหลับที่ดียิ่งขึ้น คือ ในห้องนอนต้องไม่มีโทรทัศน์อยู่ ไม่แนะนำให้ดูโทรทัศน์และหลับไป, ขณะเตรียมนอนหลับควรปิดไฟทุกดวงให้ในห้องเป็นห้องที่มืดสนิท และในห้องไม่ควรมีเสียงที่รบกวนการนอนหลับ
  • กำลังใจจากคนที่รัก เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้สูงอายุ ควรให้กำลังใจผู้สูงอายุ พูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้ผู้สูงอายุผ่อนคลาย ไม่เกิดความเหงาและคิดว่าตนเองไร้ค่า

O (Occupation): กิจกรรมการดำเนินชีวิต

การที่ผู้สูงอายุสามารถนอนหลับได้ โดยการเตรียมตัวในการนอนหลับ ดังนี้

  • ฝึกการเข้าห้องน้ำก่อนเตรียมตัวนอน เพื่อไม่ให้อาการปวดท้องเข้าห้องน้ำ เป็นสาเหตุที่รบกวนการนอนหลับ
  • อาการหิวเป็นสาเหตุหนึ่งที่รบกวนการนอน แนะนำให้ผู้สูงอายุรับดื่มนมก่อนเข้านอน
  • ให้ผู้สูงอายุได้ออกแรงโดยการออกกำลังกายเบาๆ เช่น ยกแขนยกขาก่อนนอน เพื่อให้รู้สึกเหนื่อยนิดหน่อย จะได้นอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้น
  • ไม่ให้นอนระหว่างวัน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้นอนไม่หลับ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดมลม

P (Performance): สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากวิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถนอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น ไม่ตื่นในกลางดึก ส่งผลให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในช่วงกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.Evidence Based Practice Level

คือ การให้ค่าความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดิฉันได้ค้นหามาในหัวข้อนี้

  • Risk Factors for sleep disturbances in older adults: เป็นหลักฐานระดับ 3 (Level of evidence C) เนื่องจากมีการศึกษาในกลุ่มควบคุมที่มีระดับคุณภาพพอใช้
  • Measurement properties of the Minimal Insomnia screening test for adult and the elderly: เป็นหลักฐานระดับ 4 เนื่องจากวิจัยนี้ทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับจากหลายสถาบัน ซึ่งศึกษาในประชากรต่างกลุ่ม
  • Subjective–objective sleep discrepancy among older adults: associations with insomnia diagnosis and insomnia treatment: : เป็นหลักฐานระดับ 4 เนื่องจากมีการศึกษาที่สนับสนุนวิจัยนี้จำนวน 3 ฉบับ
  • REM sleep and depressive symptoms in a populationbased study of middleaged and elderly persons:เป็นหลักฐานระดับ 4 เนื่องจากมีการศึกษาที่สนับสนุนวิจัยนี้จำนวน 3 ฉบับ และศึกษาในประชากรที่ต่างกลุ่มกัน
  • Gender differences in sleep disordered breathing: implications for therapy: เป็นหลักฐานระดับ 2 เพราะเป็นการเลือกกรณีศึกษาแบบไม่สุ่มเพียงในพื้นที่เดียวเท่านั้น

    3.Knowledge management (KM)
  • Therapeutic use of self: นักกิจกรรมบำบัดช่วยให้เขานอนหลับด้วยตัวเขาเอง โดยจะมีหน้าที่แค่เพียงเป็นผู้กระตุ้นวิธีการเตรียมตัวในการนอนเท่านั้น
  • Client Relationship: นักกิจกรรมบำบัดควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้รับบริการ โดยสายตาที่มองต้องเป็นมิตร มีการสื่อสารที่ดี ต้องรับฟังความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการให้ความไว้วางใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
  • Activity analysis: การวิเคราะห์กิจกรรมถือเป็นอาวุธที่สำคัญของนักกิจกรรมบำบัด เพราะเป็นการทำให้ผู้รับบริการแต่ละรายสามารถเข้าร่วมกิจกรรม และบรรลุเป้าประสงค์ที่วางแผนไว้ได้ โดยดูองค์ประกอบของผู้รับบริการแต่ละคนที่แตกต่างกันไป เช่น ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการหกล้มง่ายกว่าวัยอื่น เหนื่อยง่ายไม่สามารถออกกำลังกายหนักๆ ได้ เพราะฉะนั้นควรให้กิจกรรมการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก และนั่งออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้ม
  • Teaching and Learning process: นักกิจกรรมบำบัดจะสอนวิธีการเตรียมตัวนอนหลับที่ทำให้การนอนหลับของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ท่าทางการออกกำลังกาย ฝึกการขับถ่ายและการนอนรวมถึงการตื่นนอนให้เป็นเวลา
  • Environment modification: นักกิจกรรมบำบัดจะแนะนำวิธีการปรับสิ่งแวดล้อม และปรับสภาพบ้านให้เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับ เช่น การทาสีห้องนอนให้เป็นสีพื้นที่สงบไม่ฉูดฉาด ไม่มีลาย ผ้าม่านที่ใช้ในห้องควรเป็นสีสุภาพเช่นกัน ไม่ควรนำโต๊ะทำงานมาตั้งไว้ในห้องนอนด้วย


  • 4.Knowledge translation (KT)

คือกระบวนการ 10 ประการที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ มีดังนี้

1)การสร้างสัมพันธภาพ: พูดคุย สื่อสารกับผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ สียิ้มแย้ม สบตาขณะพูดคุย ใช้คำพูดสั้นๆ ง่ายๆ และอาจใช้ท่าทางประกอบคำพูด เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะการได้ยินเสื่อมสภพสามารถเข้าใจได้ง่าย เมื่อเราสามารถทำให้ผู้รับบริการไว้วางใจเราได้ เขาจะให้ความร่วมมือในการรักษา

2)การสัมภาษณ์: สอบถามข้อมูลต่างๆ จากผู้รับบริการหรือผู้ดูแล เช่น ความต้องการของผู้รับบริการที่มาหานักกิจกรรมบำบัด โรค อาการของโรค

3)ประเมินกิจกรรมการดำเนินชีวิต: ดูกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการ กิจกรรมยามว่างที่สนใจ

4)การสังเกต: สังเกตพฤติกรรม และปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับบริการ ว่ามีความสนใจและเห็นความสำคัญในกิจกรรมหรือไม่ อย่างไร

5)การทดสอบ: โดยการประเมินการนอนหลับโดยใช้แบบประเมินมาตรฐานต่างๆ เช่น Quality of sleep of the elderly, The Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality index (T-PSQI), The Rasch model, Minimal Insomnia Symptom Scale total score (MISS)

6)ตรวจสอบแฟ้มเวชระเบียน: เพื่อดูสิ่งที่ควรระมัดระวัง หาข้อมูลประวัติการรักษาในอดีตเพิ่มเติม รวมถึงดูความก้าวหน้าของอาการของโรค

7)ประเมินความสามารถ: สังเกตว่ามีข้อจำกัดใดที่ทำให้มีหรือไม่มีความสามารถในการทำกิจกรรม ประเภทไหนบ้าง มีความสามารถทำได้แค่ไหน เช่น การเตรียมตัวก่อนเข้านอน โดยการเข้าห้องน้ำ การนั่งลงบนเตียงก่อนเอนตัวลงนอน เป็นต้น

8)ประเมินความสุข: อาจจะสังเกตจากสีหน้า ซักถามความรู้สึก หรือโดยการให้คะแนนความสุข 1-10 หลังจากฝึกทำกิจกรรมเสร็จ

9)ประเมินบทบาท: แนะนำและส่งเสริมบทบาทหลักที่สำคัญของผู้สูงอายุ เพื่อให้เขารู้สึกเห็นคุณค่า และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

10)ประเมินตัวนักกิจกรรมบำบัด: ผู้บำบัดต้องประเมินตนเองหลังจากการให้การรักษาผู้รับบริการด้วย ว่าตัวเราได้อะไรจากเคสนี้ สิ่งใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การรักษาดีขึ้น ดูความก้าวหน้าของการรักษา ปรับเปลี่ยนเป้าประสงค์ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้รับบริการ

5.Implication and Application

ความรู้ใหม่ที่ได้จากการทำตำราชีวิตนี้ขึ้นมา ทำให้เข้าใจปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุมากขึ้น เพราะการนอนไม่หลับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และทำให้ได้รู้แนวทางการรักษาในหลายๆสาขาวิชา เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น ได้ลองนำสิ่งที่รู้จากเอกสารทางวิชาการมาปรับใช้ในทางกิจกรรมบำบัด เพื่อส่งเสริมการนอนซึ่งเป็นกิจวัตรพื้นฐานที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุที่มีอาการนอนไม่หลับ หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ สามารถอ่านได้ที่ กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ

References:

Stephen F. et al. Risk Factors for sleep disturbances in older adults. Sleep medicine 2015: 1-38

Albert W. et al. Measurement properties of the Minimal Insomnia screening test for adult and the elderly. Sleep medicine 2015: 1-6

Daniel B. K. Subjective–objective sleep discrepancy among older adults: associations with insomnia diagnosis and insomnia treatment. Journal of Sleep Research 2015; 24: 1: 32-39

Annemarie I. L. REM sleep and depressive symptoms in a populationbased study of middleaged and elderly persons. Journal of Sleep Research 2015

Won C. Gender differences in sleep disordered breathing: implications for therapy. Informal Healthcare offers a unique range of publishing formats 2015; 9: 2: 221-231

หมายเลขบันทึก: 589611เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท