วปช(วิทยาลัยป้องกันชุมชน) 2 สืบค้นประวัติศาสตร์เมือง ลิบง


เกาะลิบงได้ชื่อมาจากต้นเหลาชะโอน ซึ่งเป็นภาษามลายูเรียกว่าลิบง…เพราะแต่เดิมเกาะนี้มีต้นเหลาชะโอนมาก

หินรูปร่างแปลกตสวยงาม มีลายเส้นที่ หาดทุ่งหญ้าคา ไกล้ เกาะเหลาสา


วิทยาลัยป้องกันชุมชน คน วปช สำนึกถึงความเป็นพลเมือง นัดหมายลงพื้นที่จังหวัดตรัง

คุยกับเจ้าของพื้นที่ สพม(สภาพัฒนาการเมือง )อาจารย์ ชัยพร จันทร์หอม เรื่องวิถี ชีวิต

เศรษฐกิจ สังคม และยางพารา พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลเพื่อลงพื้นที่ เมือง ลิบง

ที่เคยโดงดังเป็นเมืองหน้าด่าน ด้านเศรษฐกิจของการค้าขาย ก่อนสมัย อยุธยา

และเป็นที่ตั้งเมืองของจังหวัดตรัง สมัยหนึ่ง ซึ่ง บัง หนุ่ย ทิพย์นุ้ย คน วปช

ที่มีลูกหลานอยู่ที่ หมู่ 5 บ้านทุ่งหญ้าคา ตำบลเกาะลิบง ได้ชักชวน ทีมงาน คน วปช

ไปศึกษา ประวัติศาสตร์ และตำนานของเมืองลิบง พบว่าเมืองนี้มีประวัติ ความเป็นมา ที่ทำให้ คน วปช ต้องถกแถลง และสำรวจ แหล่งประวัติศาสตร์ ภูมิบ้านนามเมือง ตามคำบอกเล่า และสืบค้น ได้ความเป็นมาว่า.........

" ลิบง เป็นชื่อของเกาะซึ่งตั้งอยู่ในน่านน้ำทะเลตรัง บริเวณปากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียน ห่างจากฝั่งบ้านเจ้าไหมไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร และมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าเกาะใด ๆ ที่อยู่เขตปกครองของจังหวัดนี้ เกาะลิบงที่มีฐานะเป็นตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง"(แหล่งข้อมูลจาก วิกิพิเดีย)

ที่มาและความหมายของชื่อ...........

"ชื่อของเกาะลิบงได้ปรากฏอยู่ในเอกสารหลายแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งได้เรียกผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป เช่น ปูเลาลิบง,ตะลิงโบง,ปลิบง,ตาลิบง, ลิบอง, ปูลูติลิบอง และ ตะลิบง หนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้อธิบายความหมายของ เกาะลิบงเอาไว้ว่า"…เกาะลิบงได้ชื่อมาจากต้นเหลาชะโอน ซึ่งเป็นภาษามลายูเรียกว่าลิบง…เพราะแต่เดิมเกาะนี้มีต้นเหลาชะโอนมาก…เกาะตะลิบง ก็เรียก"[ต้องการอ้างอิง] ส่วนคำว่า "ปูเลา หรือปูลู" นั้นก็เป็นภาษามลายูซึ่งแปลว่า "เกาะ" เมื่อนำเอาคำว่าปูลู มารวมเข้ากับคำว่า ลิบงแล้วก็มีความหมายว่า เกาะที่มีต้นเหลาชะโอน คำว่า "ตะ" นั้นก็ได้มีผู้กล่าวว่าเป็นคำในภาษามลายูเช่นกัน ซึ่งแปลว่า "ไม่มี" ดังนั้นคำว่า เกาะตะลิบง จึงมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า ปูลูลิบง อย่างสิ้นเชิง คือแปลความว่า เป็นเกาะที่ไม่มีต้นเหลาชะโอน"(แหล่งข้อมูลจาก วิกิพิเดีย)

เกาะลิบงในสมัยพุทธศตวรรษที่ 23 (อยุธยา - ธนบุรี)[แก้]

ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่23 ประมาณพุทธศักราช 2204 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น ที่เมืองเคดาห์(ไทรบุรี) ก็ได้ตรงกับรัชสมัยของตนกู ลิ ล้าฯให้พระราชโอรส 2 พระองค์ออกไปปกครองเมืองเกาะในทะเล โดยโปรดเกล้าฯให้ตนกูอะตาอินลา มะหะหมัด ชะ(Tunku Attaullah Mohamad Shah) เสด็จออกไปปกครองเมือง ปูเลาปินัง (เกาะลิบง) (โดยน่าจะตั้งเมืองขึ้นที่บ้าน พร้าว ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเตาเผาถ่านซึ่งอยู่ในเขตท้องที่หมู่ 1 ตำบลเกาะลิบง) การที่ทางเมืองไทรบุรีได้ส่งพระราชบุตรมาตั้งเมืองขึ้นที่เกาะลิบงตามพงศาวดารนี้ได้สอดคล้องกับนิทานพื้นบ้านที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า "พระยาแขกที่สร้างเมืองลิบง กับเมืองปินังนั้นได้มีประสงค์ที่จะทำให้เมืองทั้งสองนี้ให้ยิ่งใหญ่คู่กัน แต่โหรได้ทำนายเอาไว้ว่าเมืองทั้งสองนี้จะอยู่คู่กันไม่ได้ หากเมืองหนึ่งเจริญ เมืองหนึ่งก็ต้องร้างผู้คน แต่ปัจจุบันเมืองปินังเจริญรุ่งเรือง เมืองเกาะลิบงก็ต้องทรุดโทรมไปตามคำทำนาย เนื่องจากตามเกาะหลายแห่งในน่านน้ำแถบนี้ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าหลายอย่างโดยเฉพาะรังนกนางแอ่นนั้นเป็นสินค้าที่คนจีนมีความต้องการสูง ดังนั้นเมืองไทรบุรีจึงได้ทำการจัดเก็บทรัพยากรเหล่านี้อย่างเป็นล่ำเป็นสันและสามารถส่งเป็นสินค้าออกนำรายได้มาบำรุงเมืองได้ปีละมาก ๆ ดังรายงานของ ฟรานซิส ไลท์ และเจมส์ สก๊อส ที่รายงานไว้ว่า เกาะและทะเลแถบเมืองไทรบุรี จนกระทั่งถึงเมืองมะริดนั้นเป็นเขตผลประโยชน์ของไทรบุรีทั้งสิ้น ทุกๆปีจะมีเรือของชาวไทรบุรีเป็นจำนวนมากถึง 1,000 ลำที่เข้ามาเก็บรังนกนางแอ่น และปลิงทะเล โดยมีลักษณะเป็นเจ้าภาษีที่จะคอยจัดเก็บภาษีอากรอีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รายงานของฝรั่งทั้งสองคนนี้ถูกวิจารณ์อยู่เสมอว่าเขียนขึ้นเพื่อต้องการมีอำนาจเหนือรัฐบาลสยาม แต่ในเอกสารฝ่ายไทยก็ได้กล่าวถึงการเข้ามาจัดเก็บรังนกของชาวไทรบุรีตามเกาะแถบนี้ไว้ในทำนองเดียวกันว่า "พวกมลายูจากไทรบุรีเป็นผู้เก็บรังนกตามเกาะแก่งแถบนี้เป็นส่วนใหญ่" ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว อำนาจของรัฐบาลแห่งกรุงศรีอยุธยาอ่อนล้าลง บริเวณดินแดนแถบนี้จึงถูกอำนาจของเมืองไทรบุรีขยายออกมาครอบคลุมเอาไว้อย่างง่ายดาย ดังนั้นการที่สุลต่านแห่งเมืองเคดาห์ (ไทรบุรี) ได้โปรดเกล้าฯให้พระราชบุตรของพระองค์เสด็จมาตั้งเมืองขึ้นที่เกาะลิบงนี้น่าจะมีพระราชประสงค์เพื่อคอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากบรรดาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แถบนี้ส่งกลับไปเป็นรายได้บำรุงเมืองแม่ที่เคดาห์(ไทรบุรี) เป็นสำคัญ

ตนกู อะหมัดตายุดดินมัด รำชะ(Tunku Ahmad Tajudin Halim Shah) ปกครองเมืองนี้อยู่จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2249 ก็ได้เสด็จกลับไปครองราชเป็นสุลต่านปกครองเมืองเคดาห์อยู่เป็นเวลาประมาณ 2 ปีก็เสด็จสวรรคต สำหรับเมืองเกาะลิบงนั้นพระองค์คงจะมอบหมายให้ผู้ที่ไว้วางพระหฤทัยทำการปกครองสืบมา ความเป็นมาของเกาะลิบงดำรงอยู่มาได้ยาวนานแค่ไหนไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่มีนิทานพื้นบ้านได้กล่าวถึงการล่มสลายของเมืองนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า

"เมื่อพระยาแขก มาตั้งเมืองขึ้นที่บ้านพร้าวแล้ว เมืองนี้ก็รุ่งเรืองมากและ ได้มีสัมพันธไมตรีกับเมืองพม่า ต่อมาบุตรชายของเจ้าเมืองทั้งสองก็ได้เป็นเกลอกัน"

และตามประเพณีแล้วทุก ๆ ปีเกลอจะต้องผลัดกันไปเยี่ยมเยือนกันเป็นประจำ(เรียกกันว่าวังเกลอ) อยู่มาวันหนึ่ง ลูกชายของเจ้าเมืองลิบงก็ได้เดินทางไปเยี่ยมเกลอที่เมืองพม่า และได้มีโอกาสพบกับลูกสาวของเจ้าเมืองพม่าซึ่งเป็นน้องของเกลอตัวเอง ทันทีที่พบลูกชายเจ้าเมืองลิบงก็เกิดหลงรักนางขึ้นมาทันที แต่ตามประเพณีแล้วน้องสาวของเกลอนั้นก็เปรียบเสมือนกับนอ้งสาวของตัวเองไม่อาจจะแต่งงานกันได้ จึงออกอุบายลักพาลูกสาวเจ้าเมืองพม่ามอญของตัวเองไม่อาจจะแต่งงานกันได้ จึงออกอุบายลักพาลูกสาวเจ้าเมืองพม่ามาอยู่กินกันที่เมืองลิบง ทางลูกชายของเจ้าเมืองพม่าเมื่อทราบว่าเกลอของตนลักพาน้องสาวหนีไปก็โกระมาก จึงรวมพลยกทัพมาตีเมืองลิบงและนำน้องสาวกลับเมืองพม่า พร้อมกับเผาเมืองลิบงเสียย่อยยับ ทำให้เมืองลิบงร้างไป ถึงแม้ว่านิทานและตำนานจะมิใช่หลักฐานที่นำมาใช้อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ก็ตามแต่หากได้พิจารณาถึงสาระอันเป็นแก่นของนิทานและตำนานนั้น ๆ แล้ว ก็จะเห็นได้ว่าภายในนั้นได้บรรจุข้อเท็จจริงบางประการเอาไว้บ้างไม่มากก็น้อย เช่นกันภายในนิทานข้างต้นได้มีสาระบางประการฝังซ่อนอยู่ และเท่าที่มองเห็นค่อนข้างข้างชัดก็คือ สถานะความเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวพันอยู่กับพม่า ซึ่งแก่นของเรื่องในนิทานนี้ได้พ้องกับบันทึกของเจมส์ โลว์ ที่กล่าวเอาไว้ว่า "แต่ก่อนนี้เกาะลิบงมีพวกมลายูอาศัยอยู่อย่างเป็นสุข แต่เมื่อพวกพม่ายกมารุกรายเมืองถลาง พวกนั้นได้ปล้นสะดมประชาชนบนเกาะนี้ด้วย" เมื่อนำเอาสาระจากนิทานข้างต้น มาเทียบเคียงกับบันทึกของเจมส์ โลว์ (ความจริงเจมส์ โลว์ ก็น่าจะบันทึกมาจากคำบอกเล่าเช่นกัน) แล้วพบว่ามีข้อความตรงกันอยู่ 2 ประการ คือ การดำรงอยู่ของชุมชนเมืองบนเกาะลิบง ที่ประชากรมีเชื้อสายจากไทรบุรี ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือพวกพม่าเข้ามามีส่วนรวมทำให้เมืองนี้เสียหาย เท่าที่ได้ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับการเข้ามาของพม่าในบริเวณนี้แล้ว พบว่าในประวัติศาสตร์นั้น พม่าได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับบริเวณใกล้เคียงนี้ ถึง 3 ครั้ง และทุกครั้งล้วนเข้ามาทำสงครามทั้งสิ้น คือครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2307 ครั้งนั้นพม่าได้จัดทัพแบบกองโจรยกลงมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ได้หลายเมือง และเมื่อมีชัยชนะเหนือเมืองใดแล้วก็จะเผาเมือง ริบทรัพย์สินมาแบ่งปันกันแล้วทิ้งเมืองไป ครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2328 พระเจ้าประดุงได้โปรดเกล้าฯให้เนมะโยคุงนะรักเป็นแม่ทัพใหญ่ยกลงมาตีเมืองชุมพร ไชยา และให้ยี่วุ่นเป็นแม่ทัพเรือ ยกมาตีเมืองถลาง ศึกครั้งนั้นพม่าได้ยกทัพลงมาตีได้หัวเมืองปักใต้ตั้งแต่ชุมพร เรื่อยมาจนถึงนครศรีธรรมราช และกำลังจะยกลงไปตีเมืองพัทลุงและสงขลา ก็ได้รับข่าวว่ากองทัพหลวงยกลงมาช่วย พม่าจึงแตกทัพหนีไปสมทบกับพรรคพวกที่ล้อมเมืองถลาง และครั้งที่ 3 ในปีพุทธ – ศักราช 2352 พระเจ้าปะดุงโปรดเกล้าฯให้อะเติงวุ่นและแยฆองยกมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ตั้งแต่ชุมพร ไชยา และเกาะถลาง เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการปล้นเมืองเกาะลิบงตามสาระในนิทานและบันทึกของเจมส์ โลว์ กับเหตุการณ์ที่พม่ายกลงมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้ง 3 ครั้งแล้ว ทำให้พอจะสันนิษฐานได้ว่าการที่พม่ายกมาปล้นเมืองเกาะลิบงน่าจะอยู่ในคราวพม่ายกมาปล้นหัวเมืองปักษ์ใต้ในช่วงปีพุทธศักราช 2307 หรือพุทธศักราช 2328 เท่านั้น ทั้งนี้เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้งนั้นพม่าอาจจะมีโอกาสผ่านมาทางนี้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในศึกคราว 2307 นั้นพงศาวดารไทยกล่าวชัดว่ากองทัพพม่าที่ยกเข้าเมืองต่าง ๆ มักจะยกไปเป็นกองโจรเพื่อปล้นทรัพย์เท่านั้น ส่วนศึกเมื่อครั้งปี 2328 นั้นก็มีโอกาสที่พม่าจะผ่านมาปล้นเมืองบนเกาะได้เช่นกันเพราะเมื่อ พม่าตีได้เมืองไชยา นครศรีธรรมราชแล้วและกำลังตั้งรอจะยกลงไปตีเมือง พัทลุงและสงขลานั้น ก็มีข่าวว่ากองทัพหลวงจากกรุงเทพได้ยกลงมาหนุนช่วยแล้ว ทำให้กองทัพพม่าตกใจเลิกทัพกลับไปสมทบกับพรรคพวกที่กำลังล้อมเมืองถลางอยู่ก่อน เมืองเกาะลิบงนั้นตั้งอยู่ตรงปากน้ำ ที่เป็นทางผ่านไปเมืองถลางได้ ดังนั้นถ้าพม่าผ่านทางนี้ก็มีโอกาสสูงที่เมืองเกาะลิบงจะถูกพม่าบุกเข้าไปปล้นได้ง่ายเช่นกัน สำหรับศึกครั้งที่ 3 ในปี 2352 นั้นพม่าไม่สามารถที่จะยกเข้ามาตีได้เลย เพราะที่เกาะลิบงเป็นแหล่งชุมนุมของกองทัพต่าง ๆ ที่จะยกไปช่วยเมืองถลางอยู่ก่อน ซึ่งหากเป็นไปตามที่สันนิษฐานข้างต้นแล้วทำให้พอจะประมาณอายุของเมืองปูเลาลิบงตั้งแต่สมัยที่ "ตนกูอะหมัดตายุดดินมัดรำชะ" มาปกครอง จนกระทั่งถึงวาระที่เมืองล่มสลายลงได้ว่าน่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 100 ปี (แหล่งข้อมูลจาก วิกิพิเดีย)

บังหนุ่ย คนวปช

ทีมงาน วปช ไปแวะไปสักการะ บุโบร์ (หลุมฝังศพ) ของ โต๊ะปังกะหวา ซึ่งทุกปี ในวันฮารียารอ ชาวบ้านเกาะลิบง จะไปรำลึกถึง โต๊ะปังกะหวา ตำนานและประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า ทั้งร่องรอย ที่เหลืออยู่ คน วปช จะได้ นำมาคุย ในตอนต่อไป

ธรรมชาติ จัดสรรค์

หมายเลขบันทึก: 589612เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 01:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 01:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

Thank you.

I now know about one more palm species (หลาวชะโอนทุ่ง and หลาวชะโอนเขา).

I kooked up http://th.wikipedia.org/wiki/หลาวชะโอนทุ่ง and these references therein:

- หลาวชะโอน สวนแสนปาล์ม - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
- วงศ์หมากและหวาย สวนพฤกษศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

น่าสนใจมากเลยครับบัง

เดินทางไปทั่ว

ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

ตามอ่านค่ะ ชอบมากค่ะ

เคยเห็นชื่อ ปูเลาปินัง เมื่อครั้งทำงานที่ปีนัง แต่เห็นวงเล็บนี้ (เกาะลิบง) แสดงว่าคือสิ่งเดียวกัน แต่ปินังกับลิบงเป็นเมืองคู่กันตามท้องเรื่องนี้ ก็แปลว่าปีนังเอาชื่อนี้ไปใช้ ส่วนเกาะลิบงก็เป็นของไทยอย่างเดียว ถูกมั้ยคะท่าน

ผมชอบประวัติศาสตร์ท้องถิ่นครับ น่าสนใจมากครับ

เป็นประวัติศาสตร์ จริงๆๆค่ะ .... ขอบคุณค่ะ บัง


ถามมาว่า..เกาะลิบงกับเกาะลิเปะ..คนละเกาะใช่ไหม..เจ้าคะ.

เรียนท่าน sr

เคยเข้าดู อุทยานปาล์ม ที่ มเกษตรกำแพงแสน

ท่าน อาจารย์ ขจิต กรุณา นำชม สวนปาล์ม ชอบ ปลามฤาษีมากๆ

ปูเลาลิบง กะ ปูเลาปีนัง เป็นเมืองพี่เมืองน้องกัน

ปูเลาปีนังรุ่งเรือง ปูเลาลิบงจึงต้องถอย ช่างทำนาย ไม่รู้ว่าตำนานเขียนก่อนหรือเขียนทีหลังนะ

ลิบง ชื่อไพเราะนะลุงวอ เที่ยงตรังหลายหน ไม่เคยไปลิบงสักที อ่านบันทึกแล้วชักอยากมาเที่ยวแล้วละ

ขอบคุณ อาจารย์ ขจิต

รักลิบง เมืองประวัติศาสตร์ มีโอกาสขอมาเยือนอีกครั้ง

เรียนอาจารย์ อร บริเวณนี้ มีแร่เหล็ก

หินจึงสายใยแร่ใยหินเหล็ก เกาะติดอยู่ ทุกก้อน สวยงามตามธรรมชาติ

น่าสนใจมากเลยนะครับ

ขอบคุณครับ

เรียน อาจารย์ GD ตามการสืบค้น ก็เป็นที่ท่านเข้าใจ ปูเลา ปินัง กับ ปูเลาลิบง เป็นเมืองคู่กัน

ตามตำนาน มีเรื่องเล่าของคนเฒ่า ระหว่างปินัง และลิบง ซึ่งหากมีโอกาส จะได้ รวบรวมเรียบเรียง ตำนาน โยง ตำนาน สำเภาเภตรา ในอดีต

ขอบคุณที่มาติดตามเติมเต็ม

เรียนอาจารย์ ต้น ประวัติชุมชน ตำนานท้องถิ่น ภูมิบ้าน นามเมือง เป็นเรื่องน่าสนใจ

ตำนาและประวัติเมืองคอน ยิ่งน่าสนใจทุกอำเภอ

เรียนคุณหมอเปิ้น ชอบหินที่นี้มากๆ

มีลวดลายแร่เหล็กฝังอยู่ในลายหิน มองออกไป ในทะเล คือมหาสมุทรอินเดีย

มีเกาะรอก เกาะกระดาน และเกาะเชือกอยู่เบื้องหน้า

ถามมาว่า..เกาะลิบงกับเกาะลิเปะ.....

เรียนคุณยายธี เกาะลิบงอยู่จังหวัดตรัง

ส่วนเกาะหลีเป๊ะ อยู่จังหวัดสตูลครับ

เรียนอาจารย์ nui ลิบง ยังคงความเป็นธรรมชาติ หากมีโอกาส เชิญเยือน บ้านทุ่งหญ้าคา หาดทรายสวยงาม ไร้คนรบกวน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท