บทความเรื่อง การปฏิวัติแบบบูรณาการ : ชาติพันธุ์, อัตลักษณ์, และ ความเป็นชาติ ตอนที่ 1


หลังจากที่ผมอ่านบทความเรื่อง การปฏิวัติวัติแบบบูรณาการของ Clifford Geertz ซึ่งเขียนในปี 1963 แต่ผมยังเห็นว่าสามารถนำมาใช้อธิบายสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ และความเป็นชาติได้อยู่ จึงขอสรุปเนื้อความมาโดยย่อ ดังนี้

ในบทความนั้น Geertz ได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า ความยึดติดเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของตน หรือ Primordial attachments และโต้เถียงว่าปรากฏการณ์นี้จะเป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ในการสร้างความสามัคคีแห่งชาติ (national unity) ในรัฐหลังอาณานิคม มุมมองแบบยึดติดกับชาตินิยม หมายถึง การที่มนุษย์ยึดติดอยู่กับชาติพันธุ์ของตน โดยเห็นว่าชาติพันธุ์ของตนดีเด่น สูงเลิศ ไม่มีที่ใดจะเปรียบได้ กว่าชาติพันธุ์อื่นๆ

Geertz เริ่มต้นบทความของเขาว่า ประชาชนในรัฐใหม่ๆ จักถูกก่อกวนด้วยสองความคิด และเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ 1. ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นปัจเจกบุคคล ที่มีความปรารถนาที่แตกต่างกัน กับ 2. สร้างรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา Geertz ได้ขยายความต่อไปว่า ประชาชนในรัฐใหม่นั้นต้องการที่จะหาอัตลักษณ์ (identity) และต้องการให้รับอัตลักษณ์นั้น ในทางตรงกันข้าม ความต้องการที่จะมีสถาบันทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ, ความยุติธรรมทางสังคม และความมั่งคั่งร่ำรวย นอกจากนี้ Geertz ยังเสนออีกว่า ถึงแม้ว่าความต้องการทั้งสองอย่างนั้นจะเกี่ยวพันโอบล้อม แต่ยังมีความแตกต่างกัน เพราะว่าเกิดจากแหล่ง และตอบสนองต่อความกดกันที่แตกต่างกัน

Geertz ยังได้ขยายความต่ออีกว่า ความตึงเครียด ที่เกิดขึ้นจากความต้องการทั้งสองอย่างนั้นจะทำให้รัฐสมัยใหม่อ่อนแอลง ถ้าได้อยู่ในรัฐที่มีกลุ่มชาติพันธุ์, ภาษา, และภูมิหลังที่หลากหลาย (เหมือนประเทศไทย) Geertz ยังชี้ให้เห็นว่า การที่จะทำให้ประชาชนเหล่านี้ยอมสยบ ทั้งที่พวกเขามีอัตลักษณ์เฉพาะ (specific identification) อาจทำให้อัตลักษณ์ของพวกเขาสูญเสียไปได้ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นผ่านการกลืนกลายทางชาติพันธุ์ (assimilation) หรือผ่านกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ (racial), ภาษา, ชาติพันธุ์ที่เหนือกว่า โดยการอ้างอิงซึ่งหลักคุณธรรมและจริยธรรม หรือหลักปฏิบัติของตน (statute)

ยิ่งไปกว่านั้น Geertz ยังชี้ให้เห็นด้วยอีกว่า ปัญหาที่ถูกซ่อนเอาไว้ ซึ่งพบเห็นได้ในรัฐสมัยใหม่ รวมทั้งสังคมที่อยู่ในนั้น ก็คือ พวกเขาอ่อนแอ เพราะเกิดจากความยึดติดในชาติพันธุ์ ตามที่ Geertz ได้กล่าวไว้ ความยึดติดในชาติพันธุ์นั้นเกิดมาจาก ความเหมือนกัน (given) ในด้านการดำรงอยู่ของมนุษย์ด้านสังคม แนวคิดเรื่องความเหมือนกัน (given-ness) คือ ความเหมือนกัน, การเชื่อมโยงกันระหว่างญาติ, และนำไปสู่การสร้างสังคมและวัฒนธรรมเฉพาะอำนาจของความยึดติดในชาติพันธุ์แตกต่างกันไปตามปัจเจก, สังคม, และเวลา อย่างไรก็ตาม Geertz ยืนยันว่า การยึดติดในบางสิ่ง ก็คือ สิ่งที่เป็นธรรมชาติ ความผูกพันทางจิตวิญญาณ มากกว่าสัญญาทางสังคม (ผมรู้สึกว่า Geertz จะอธิบายเรื่องระบบอุปถัมภ์ แต่ไม่เรียกว่าระบบอุปถัมภ์)

หนังสืออ้างอิง

Clifford Geertz. (1963). The Integrative Revolution. in The Interpretation of culture. Basic Books: New York.

หมายเลขบันทึก: 583386เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2015 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2015 08:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท