นักการเงิน


ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจและการเงินมีความผันผวนอย่างมาก อัตรา ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ การขึ้นลงประจำวันของราคา น้ำมัน การขึ้นลงของอัตราเงินเฟ้อ การปฏิรูปทางกการเงินและการเกิด นวัตกรรมทางการเงิน ทำให้ผู้บริหารการเงินต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้ทันกับ สถานการณ์ ต่าง ๆ ตลอดจนการน าเทคโนโลยีและวิทยาการทางการเงินสมัน ใหม่เข้ามาใช้บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารการเงินจึงต้องมีขอบข่ายงาน กว้างขวางจากเดิม เพื่อให้ครอบคลุมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อบุคคล หลายฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาลได้เพิ่มบทบาทเข้ามาควบคุมการ ดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสวัสดิการแก่ สังคมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธุรกิจจำเป็น ต้องด าเนินงานและ ประสานงานกับหลาย ๆ ฝ่ายทำให้การบริหารงานของผู้บริหารการเงินต้อง คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ ดังน ั้น

1.ความรับผิดชอบต่อเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น คือ ต้องการให้ผู้ถือหุ้นได้รับ ผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราสูงสุด

2.ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง (พนักงาน) คือ ต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างมี ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ และความมั่นคงในการทำงาน ตลอดจนจัด ให้มีสวัสดิการแก่ลูกจ้างด้วย

3. ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ คือ การบริหารงานให้มีความมั่นคง ทางการเงิน เพื่อเจ้าหนี้จะได้มีความมั่นใจว่าธุรกิจสามารถช าระหนี้ได้ตาม กำหนดเวลา

4. ความรับผิดชอบต่อรัฐบาล คือ ธุรกิจต้องดำเนินงานโดยไม่ขัดต่อ รัฐบาลและกฎหมายของประเทศที่ตนดำเนินงานอยู่

5.ความรับผิดชอบต่อชุมชนในสังคม คือ ธุรกิจต้องดำเนินงานโดยไม่ เป็นภัยต่อสุขภาพ หรือศีลธรรมอันดีต่อประชาชน

เป็นสายที่นักการเงินคุ้นเคยมากที่สุด และเป็นสายงานที่เก่าแก่ที่สุด สายนี้จะเน้นหน้าที่หลักคือปล่อยสินเชื่อ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ เครดิต การวิเคราะห์ธุรกิจและโครงการ รวมถึงการจัดวงเงินสินเชื่อที่ เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า ผู้ท าหน้าที่นี้อาจเรียนจบเศรษฐศาสตร์แล้ว มาฝึกฝนเรียนรู้ในงานก็ได้ นอกจากการปล่อยสินเชื่อแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้ ทางด้านการเงินคือ สายบริหารเงิน ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการเป็นดีลเลอร์ และเทรดเดอร์ด้วย กลุ่มนี้จะต้องคิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว เพราะมีโอกาสท าก าไร หรือท าให้ขาดทุนได้ ส่วนใหญ่ผู้ ท างานด้านนี้มักจะมีทักษะทางคณิตศาสตร์ดีมาก

การเงินของบริษัท คือผู้ที่ทำหน้าที่กระเป๋าเงินให้กับองค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่แสวงหา ผลกำไร หรือไม่แสวงหาผลกำไร หน้าที่ก็มีตั้งแต่จัดหาเงินมาใช้ในการด าเนิน กิจการ ซึ่งมีทางเลือกหลักๆ คือ ใช้ส่วนของทุน (Equity) ใช้เงินกู้ยืม (Debt) หรือ ใช้เครดิตทางการค้า (Supplier's Credit) ส่วนที่ใช้ตราสารใหม่ๆ ก็จะแทรกอยู่ใน หมวดหลักๆ เหล่านี้ทั้งนั้น เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ ก็เป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ใบส าคัญแสดงสิทธิ (Warrant) ก็เป็นอนุพันธ์ของตราสารทุน เป็นต้น นอกจากการจัดหาเงินแล้วก็ต้องดูแลการใช้เงินและจ่ายเงิน เช่น การซื้อ วัตถุดิบ การควบคุมจำนวนสินค้าระหว่างผลิต การควบคุมลูกหนี้การค้าในกรณีที่ มีการให้เทอมเครดิตกับผู้ซื้อ และการจัดเก็บหนี้ให้มีประสิทธิภาพ ผู้ท าหน้าที่ดูแลการเงินของบริษัท เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน (Chief Financial Officer) ซึ่งมักจะเป็นต าแหน่งที่เป็นหมายเลขสองขององค์กร เพราะเป็นผู้กุมกระเป๋าเงิน

แหล่งที่มา http://www.spu.ac.th/

คำสำคัญ (Tags): #เงิน
หมายเลขบันทึก: 589616เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 08:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท