ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาของสิงคโปร์


กลับไปอ่านยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของสิงคโปร์ว่าเป็นอย่างไรจึงทำให้การศึกษาในระบบทุนนิยม
ของเขาประสบความสำเร็จ [1]

1. มุ่งเน้นผลลัพธ์ทางการศึกษา

2. เน้นจิตสำนึก แรงจูงใจ การใฝ่รู้ ด้วยตัวของผู้เรียนเอง

3. ทุ่มทรัพยากรด้านเงินทุนทางการศึกษา

4. การบริหารจัดการแบบศูนย์รวม

5. หลักสูตรการเรียนการสอนที่เข้มข้น

6. ประเมินตัวเองของผู้เรียนให้มากขึ้น

7. แรงสนับสนุนจากครอบครัว

จริง ๆ แล้วเห็นสิงคโปร์แล้วเฉยมาก ๆ เพราะระบบอุดมการณ์ของเขามีอยู่สองอย่าง คือ อุดมการณ์ทุนนิยมแบบขงจื้อ
ที่ยอมรับอำนาจสูงต่ำที่มีอยู่ กตัญญูรู้คุณครอบครัว และกระตุ้นให้คนเห็นว่า การทำงานหนักในระบบทุนนิยมนั้นได้มาซึ่ง
เงินจำนวนมหาศาลในการเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งก็เป็นหนึ่งในอุดมการณ์ของคนจีนโพ้นทะเลเกือบทุกสมัยมีอุดมการณ์นี้ และอีกอุดมการณ์หนึ่งของสิงคโปร์คืออุดมการณ์อำนาจนิยม ความเป็นเผด็จการของสิงคโปร์ทำให้เกิดประสิทธิภาพของระบอบทุนนิยม
การเมืองที่นิ่งสนิท ทำให้การพัฒนาด้านอื่นของระบอบทุนนิยมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีคำตอบสำเร็จรูปทุกอย่างสำหรับเส้นทางเดินของประชาชน

ก็ไม่ได้แปลกใจอะไรเท่าไรนักที่สิงคโปร์มีประวัติศาสตร์ที่ต้องสู้กับความขาดแคลนตามธรรมชาติ เช่นขาดแคลนน้ำ นำเข้าทุกอย่าง
จากประเทศอื่น จะหันมาสร้างสิ่งที่เป็นจุดแข็งของตนเองคือคน เนื่องจากคนก็เห็นแล้วว่าปัญหาต่าง ๆ ของประเทศที่ประสบอยู่ก็ทำ
ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกับรัฐ และก็ไม่แปลกใจอีกเช่นกันที่นักการเมืองของเขาไม่คอรัปชั่น เพราะถ้าทำเช่นนั้นแล้วความล่มสลาย
และหายนะก็คงตามมาเห็น ๆ

แต่ที่เป็นที่สะดุดตาในวันนี้ และมองเห็นว่า ยุทธศาสตร์ข้อนี้เองที่ทำให้การศึกษาของเขาประสบความสำเร็จ ก็คือ ข้อที่สอง เน้นจิตสำนึก แรงจูงใจ การไฝ่รู้ ของผู้เรียนเอง ทำให้มองประเทศสารขัณฑ์ว่า ขาดข้อนี้ข้อเดียวก็เจ๊งทั้งประเทศเหมือนกัน มั่นใจได้เลยสิงคโปร์ก็ก๊อบการศึกษาแบบอังกฤ๋ษมา แต่เขาได้มองเห็ฺนว่า ระบบการศึกษาแต่เดิมที่เป็น passive learning ที่ลอกแบบตะวันตก
เพื่อให้แรงงานมีการเชื่อฟัง ยินดีทำตามนั้น ไม่เพียงพออีกต่อไป

การเตรียมตัวผู้เรียนตามยุทธศาสตร์นี้ ที่เขาระบุว่า จิตสำนึก แรงจูงใจ การใฝ่รู้ของตัวเอง แปลง่าย ๆ ก็คือ สำนึกต่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือการเปลี่ยนจาก Passive Learning เป็น Active Learning ซึ่ง ระดับสูงสุดของ active learning ก็คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้จากตัวเอง ไม่มีใครยัดอะไรเข้าไปได้ ถ้าไม่มีความสนใจใฝ่รู้ ต่อให้เทวดาที่เก่งที่สุดมาสอน ก็เจ๊งไปทั้งหมด ชักนิยมชมชอบนโยบายข้อนี้ของเขาเสียจริง เพราะเขาสร้างคนรุ่นในระบบทุนนิยมที่มีสมรรถภาพและมีราคามากกว่า แรงงานใช้แรงงานตามคำสั่ง

การเปลี่ยน Passive Learning เป็น Active Learning แบบนี้ต้องเปลี่ยนแปลงถึงระดับระบบคิด ญาณวิทยาและวัฒนธรรม ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ข้ออื่น ๆ ที่ีไม่ใช่ข้อสอง ก็คุ้น ๆ นะ เคยนำเอามาใช้ แล้วก็เจ๊งไม่เป็นท่า เหมือนกับเอาซากร่างกายเขามาไม่ได้เอาจิตวิญญาณมาด้วย ก็ได้เศษซากทางวิชาการ ที่ไม่ได้นำเอาระบบคิด จิตวิญญาณมาด้วย ดังนั้นจึงเป็น
นวัตกรรมที่รอเผา เท่านั้นเอง


[1] http://www.jsfutureclassroom.com/news_detail.php?n...


คำสำคัญ (Tags): #ยุทธศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 588815เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2015 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2015 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบคำนี้ของอาจารย์จังครับ "

เหมือนกับเอาซากร่างกายเขามาไม่ได้เอาจิตวิญญาณมาด้วย ก็ได้เศษซากทางวิชาการ ที่ไม่ได้นำเอาระบบคิด จิตวิญญาณมาด้วย ดังนั้นจึงเป็น
นวัตกรรมที่รอเผา เท่านั้นเอง.....
"

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท