ร้องไห้...อารมณ์ล้า


ขอบพระคุณกรณีศึกษา อ. กับคุณแม่ที่ให้ความร่วมมือกับดร.ป๊อปในการเข้าร่วมโรงเรียนการจัดการความสุขในโปรแกรมการจัดการความล้าหลังน้อง อ. วัยรุ่นเพิ่งจบม.6 ผู้ตั้งใจทดลองงดยาจิตเวชลงตามคำแนะนำจากจิตแพทย์แต่กำลังต่อสู้กับภาวะอารมณ์ที่อ่อนล้าและอยู่ในการทดลองโปรแกรมกิจกรรมบำบัดจิตสังคม 6 สัปดาห์ก่อนไปใช้ชีวิตท่องเที่ยวต่างประเทศ

น้อง อ.: พี่ป๊อปครับ...รู้สึกใจหาย เช้าๆ หงุดหงิดตะคอกคนรอบข้าง ลุกจากเตียงก็เพลียๆ เบื่ออาหาร ทานอาหารไม่ลง อยากนอนแต่นอนไม่หลับ กลัวไปหมด ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร ทั้งหมดนี้ถามหมอ ต. ก็บอกว่า ไม่ใช่ผลข้างเคียงของยา แล้วมันคืออะไร ถามหมอ อ. ที่ฝึกสมาธิให้ แต่ทำเองก็จะหลับ ต้องมีหมอ อ. อยู่ด้วย ที่พี่ป๊อปให้การบ้านทีีคลินิกกิจกรรมบำบัดก็ไม่ได้ทำ ไม่มีใครกระตุ้นก็ไม่อยากทำ เคยนั่งทานก๋วยเตี๋ยวข้างทาง ก็น้ำตาไหล รู้สึกเศร้า แล้วร้องไห้ แต่ไม่มีสาเหตุ ทำยังงัยดีครับ

ดร.ป๊อป: เอาหละน้องรัก ใจเย็นๆ นะครับ ไหนลองทบทวนความคิดของน้องว่า ที่พี่ให้การบ้านไป ตอนที่อยู่คลินิกก็ตั้งใจทำได้ดีแล้วน้องก็รับปากว่าจะกลับมาทำที่บ้าน จำได้ไหม จำได้อย่างไรบ้าง

น้อง อ.: จำได้ นี่งัย [พร้อมค้นกระดาษบันทึกการบ้านแล้วหยิบมาให้ดร.ป๊อปดู...หลังจากตรวจประเมินและออกแบบโปรแกรมการจัดการความล้า ณ คลินิกกิจกรรมบำบัด รวม 1 สัปดาห์ก่อน] ทำไปแล้ว 1 รอบมันก็ยังรู้สึกใจหาย น้ำตาไหลหาวนอน กล้ามเนื้อแขนกระตุกอยู่ ก็เลยไม่อยากทำ

ดร.ป๊อป: การบ้านนี้เป็นชุดโปรแกรมที่เราช่วยกันคิดและทดลองฝึก ณ คลินิกฯ แล้ว 2 รอบทำให้น้องน้ำตาไหลหาวนอนลดลงจาก 5 ครั้งเหลือ 1 ครั้ง กล้ามเนื้อลดการกระตุกลงจาก 1 ครั้งเหลือ 0 ครั้ง รู้สึกใจหายเป็นรู้สึกผ่อนคลายขึ้น วันนี้พี่ขับรถมาติดตามว่า น้องได้ทำชุดโปรแกรมที่บ้านของน้องเองจะเป็นอย่างไรกันแน่ พี่ตั้งใจมาแบบจิตอาสาเพราะเป็นห่วงและอยากให้น้องมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ตอนนี้น้องเข้าใจและมั่นใจในตัวเองเท่าไรจาก 0-10

น้อง อ.: แค่ 5 เอง จะทำยังงัย เริ่มอย่างไร ที่บ้านตรงไหน จะดีหรือ ถ้าใจหาย จะลุกขึ้นมาฝึกได้จริงหรือ ...??? [คุณแม่ของน้อง อ. ก็เสริมว่า "ขอร้องให้ลูกตั้งใจทำจริงๆ เถอะนะ...ลูกอยากหายไม่ใช่หรือ มาเดี๋ยวแม่หาลูกบอลให้จะได้เตะไปมาบนห้องนอนได้]

ดร.ป๊อปพยายามสร้างแรงเสริมทางบวกและลบให้น้อง อ. เลือกเอาว่า จะอยู่ในวงจรเดิม (อารมณ์ล้าร้องไห้ไม่มีเหตุผล) หรือ จะค่อยๆปรับเปลี่ยนเป็นวงจรใหม่ (อารมณ์ล้าด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ายขวาในกิจกรรมที่สนใจนาน 5 นาที เช่น เตะเลี้ยงลูกบอลไปมาในห้องนอน หรือ กระโดดตบมือ หรือ กระโดดแตะสลับแขนขาสองข้าง หรือ เล่นกีฬาที่ใช้ออกซิเจนไหลสู่สมอง - ขี่จักรยานในหมู่บ้าน ตามด้วยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจนับ 1-30 แล้วนอนพัก 15 นาทีถ้ารู้สึกอ่อนล้า - คิดวุ่นวาย รู้สึกใจหาย อารมณ์หงุดหงิด ร่างกายอ่อนเพลีย ฯลฯ) แล้วให้ความรู้ความเข้าใจว่า น้ำตาที่ไหลออกมามีหลากหลายอารมณ์ เช่น ดีใจสุดๆ ตื้นตันใจ เสียใจ โกรธ ฯลฯ แต่ถ้าไม่มีเหตุผล มันคือ "ความรู้สึกลวงหลอกตัวเอง หรือ เราไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเองดีพอ มีแต่อารมณ์ที่ฉุดชีวิตเราให้จมลงแต่ในอดีต มันอยู่ในจิตใต้สำนึกมานาน มันจะคงอยู่เป็นเพื่อนเรา แต่เราต้องตั้งใจ อดทน และมุ่งมั่นที่จะสร้างความสุขกับวงจรชีวิตอันใหม่ๆ ไปข้างหน้า มีอดีตฉุดเราบ้าง แต่เราคุมใจให้มั่นคง ใช้เวลาและค่อยๆทำเท่าที่เราจะทำให้เต็มที่ที่สุด สั่งจิตใต้สำนึกให้มุ่งมั่นทำสิ่งที่เรารู้ใจตัวเองและทำให้ตัวเองมีความสุขทีละเล็กทีละน้อย แม้ว่าบางครั้งจะร้องไห้ลวงๆ ก็พักสมอง ไม่จำเป็นต้องบังคับใดๆ เหมือนที่ให้น้องนอนพัก 15 นาที ก็ให้ผ่อนคลายโดยธรรมชาติ ไม่ต้องบังคับนอนจริงจังน้อยหรือมากกว่า 15 นาที ลองตั้งใจทำเหมื่อนที่น้องจะลองทำให้พี่ดู สู้ๆ ไหวนะครับ

น้อง อ.: ยิ้มแบบลังเล แต่ก็คงเกรงใจดร.ป๊อปที่มาหาถึงที่บ้านเป็นครั้งที่สองแล้ว หลังจากครั้งแรกก็มานอนค้างด้วยเพราะต้องการประเมินว่าทำไมนอนไม่หลับ - พบว่ามีย้ำคิดย้ำทำและมีพลังงานมากเกินไปในตอนกลางคืน แล้วปรับด้วยการฝึกความรู้ความเข้าใจผ่านกระบวนการรับความรู้สึกที่หลากหลายและการปรับพฤติกรรมด้วยแรงเสริมทางบวกให้ตื่นแต่เช้าไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ น้องไปที่ห้องนอนแล้วทำตามทุกขั้นตอน 1 รอบ หลังจากนั้นก็ตื่นมาพร้อมหน้าตาเพลียและมีน้ำตาไหลหาวนอนถึง 6 ครั้ง ผมเลยปรับพฤติกรรมด้วยการลงโทษทางบวก คือ ให้น้องเลือกที่จะนอนพักต่อไปอีกแล้วจะรู้สึกเพลียล้ามากขึ้น หรือ จะลองฝึกเคลื่อนไหวอีกไม่เกิน 2 รอบแล้วลองดูว่าจะเป็นอย่างไร ... จากนั้นน้องพูดขึ้นมาจนทำให้ดร.ป๊อปอมยิ้มคือ "ผมลองขี่จักรยานได้ไหมครับ พี่ป๊อปจับเวลาให้ผม 5 นาที"

ผ่านไปแล้วถึง 10 นาที น้อง อ.ดูสีหน้าสดชื่น แต่ก็ยังคงพูดว่า "ยังเพลียๆ อยู่" ดร.ป๊อปก็ย้ำให้น้อง อ. เข้าใจว่า "ส่องกระจกดูสีหน้าและริมฝีปากสีอมชมพูแสดงว่าเลือดไหลเวียดดีขึ้น ที่รู้สึกเพลียๆ เพราะอารมณ์ที่ฉุดไปสู่วงจรเดิมๆ ที่ไม่มีเหตุผล และเกินความรู้สึกจริงๆไปถึง 3 เท่าของความจริงของร่างกายที่เป็นอยู่ จะลองวัดดูชีพจรก็ได้ว่าปกติ...ไปล้างหน้าล้างตาแล้วเรานั่งรถไปคุยไป...น้องจะได้ออกไปเข้ากลุ่มสร้างแรงบันดาลใจกับเพื่อนๆที่นอกบ้าน เดี๋ยวพี่ไปส่งที่รถไฟฟ้า ดีไหมครับ ... คุยกันไปเรื่อยๆจนน้อง อ.จะลงป้าย ผมก็ถามครั้งสุดท้ายว่า ตอนนี้น้องเข้าใจและมั่นใจในตัวเองเท่าไรจาก 0-10

น้อง อ.: OK ครับ ผมจะเชื่อพี่ป๊อป จะตั้งใจทำให้ได้แล้วจะบอกผลกับพี่นะครับ รู้สึกมั่นใจ 8 ครับ

ดร.ป๊อป: ดีมากและโชคดีนะครับ [ใช้มือสัมผัสหัวและตบไหล่เบาๆ]

ปล. สำหรับเคสนี้ได้มาปรึกษาถึง "อารมณ์เศร้าส่งผลให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเวลาสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง" ผมก็ทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับ Erectile Dysfunction (ED) ก็ได้แนะนำการจัดการความล้าให้สมอง (ความคิดกับจิตใจ) และร่างกายพร้อมและสามารถฝึกออกกำลังกายแบบการบำบัดสุขภาวะทางเพศ ได้แก่ Kegel Exercise กับ Jelqing Exercise (มีภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป)

หมายเลขบันทึก: 588744เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2015 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2015 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ชอบใจ case นี้

บันทึกแล้วคนอื่นได้เรียนรู้ด้วย

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบพระคุณมากๆครับและขออวยพรพี่นงนาทและพี่ขจิตให้มีความสุขในเทศกาลปีใหม่ครับผม

ขอบพระคุณมากๆครับและขอส่งความสุขปีใหม่ไทยแด่พี่โอ๋ คุณดอกรัก คุณอักขณิช คุณ BlosSom Out คุณ GD และคุณวินัย

พี่เหมียวแวะมาส่งกำลังใจและสวัสดีปีใหม่คร๊าบบบบ อ.ดร.ป๊อป

ขอบพระคุณมากครับพี่เหมียวและขอให้พี่สาวมีความสุขปีใหม่ไทยเช่นกันนะครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท