สศพ. _ ๐๓ : รูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม (๓)


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

ตามที่เขียนไว้ในบันทึกแรกว่า ก่อนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนยังพบปัญหาพฤติกรรมนักเรียนไม่เหมาะสม แต่เมื่อน้อมนำหลักปรัชญาฯ มาใช้ จึงพบว่าปัญหาดังกล่าวค่อยๆ หมดไปในที่สุด เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน และค่อยๆ ขยายผลจากภายใน ทำให้ยิ่งภูมิใจ และขยายผลได้อย่างมีพลัง ต่อเนื่อง ยาวนาาน

ตามหลักวิชาการด้านการเรียนรู้สมัยใหม่ ครูและนักเรียนเปลี่ยนแปลงจากภายในอย่างแท้จริงได้ แสดงว่าโรงเรียนเชียงขวัญฯ ต้องใช้วิธีการที่เรียกได้ว่า "การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง" หรือ Transfomative Learning ซึ่งต้องมีกระบวนการพัฒนาจิตใจ ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นกิจวัตร เพราะมุ่งเป้าไปที่การขัดเกลาจิตใจตน ไม่ใช่ให้เข้าใจด้วยคนอื่น

กิจกรรมเตรียมความพร้อมจากภายในใจของนักเรียน ที่โรงเรียนเชียงขวัญฯ นำมาใช้ คือ การทำสมาธิแบบเคลื่อนไหวสร้างจังหวะแบบหลวงพ่อเทียน ๑๕ ท่า ( ปรับจาก ๑๔ จัวหวะ) แทนการ "พร่ำสอน" (อบรมหน้าเสาธง) และลดระยะเวลาหน้าเสาธงลง ให้นักเรียนเดินแถวมาทำกิจกรรมในโรงยิม ดังรูป


(ที่มา : http://sec27.ddns-th.com/news/95.html)

อ. ฉลาดเล่าว่า หลังจากนำกิจกรรมทำสมาธิ ๑๕ ท่ามาใช้สัปดาห์ละ ๓ วัน ต่อเนื่องกันเพียง ๑ เดือน พบการเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินแถวของนักเรียนจากหน้าเสาธงชาติมาโรงยิม จากเดิมที่เห็นการหยอกล้อ เล่นกัน เดินแซงหรือซ้อนกันไม่เป็นระเบียบ มาเป็นการเดินอย่างสำรวมมีสติมีสมาธิมากขึ้นอย่างเห็นชัด

แม้ว่าหลายครั้งหลายเวที ที่ ผอ.ระวี และ อ.ฉลาด ออกไปขับเคลื่อนฯ ขยายผล ดังเช่น คลิปวีดีโอต่างๆ ด้านล่างนี้ ท่านทั้งสองไม่ได้กล่าวเน้นถึง กระบวนการเตรียมนักเรียนด้วยการทำสมาธิ ๑๕ ท่านี้ ... แต่ผมตีความแบบ "ฟันธง" ด้วยประสบการณ์ทั้งตรงและอ้อมว่า กระบวนการนี้คือ ปัจจัยสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม


นั่นหมายถึง หากโรงเรียนใดจะ นำเอาวิธีการขับเคลื่อนฯ แบบโรงเรียนเชียงขวัญฯ ไปทำ ต้องนำเอาวิธีการทำสมาธิเคลื่อนไหวสร้างจังหวะนี้ ไปเตรียมนักเรียนด้วย





บันทึกนี้ขอจบตรงนี้นะครับ บันทึกต่อไป จะกล่าวถึงตัวอย่าง การน้อมนำไปใช้กับการสอนของครูหลายท่าน ที่ผมเห็นว่า น่าจะนำมาแบ่งปันกันได้

หมายเลขบันทึก: 588243เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2015 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2015 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท