พหุวัฒนธรรม และ การจัดการศึกษา


มนุษย์ปัจเจกชนมีความแตกต่างกันโดยธรรมชาติ สังคมมนุษย์มีความแตกต่างกันโดยธรรมชาติ ทั้งความคิด ความเชื่อ วิถีปฏิบัติ แต่วิธีการจัดการศึกษามีแค่รูปแบบเดียว คือ การศึกษาที่เป็นไปเพื่อให้คนคิดเหมือน ๆ ทำเหมือน ๆ กัน ในนามของมาตรฐานและคุณภาพซึ่งสะท้อนการแบ่งแยกแบบทุนนิยม ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อแบ่งแยกแรงงานมีฝีมือ กับ แรงงานไม่มีฝีมือ ตามโครงสร้างวิถีการผลิตที่ต้องการแรงงานพื้นฐานภายใต้ฐานปิระมิด จำนวนมาก กำลังแรงงานใช้สาระมาตรฐานและคุณภาพ เพื่อเชื่อฟัง ทำตามคำสั่ง และมีเป้าหมายในกำไรสูงสุด ดังนั้นการจัดการศึกษาระบบเดียวจึงสามารถแบ่งแยกแรงงานได้ชัดเจนดังกล่าว

เสาค้ำระบบทุนนิยม ก็คือแรงงานพื้นฐานนั่นเอง การศึกษาจึงเป็นเศษฐกิจการเมืองอย่างหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวให้เข้าถึงภายในจิตสำนึก และจิตใต้สำนึก โดยทำลายจิตสำนึกแห่งเสรีเสีย ทำให้มีเป้าหมายอย่างเดียวคือสร้างกำไรให้กับระบบทุนนิยม ผ่านสิ่งที่เป็นรูปแบบเคลือบแฝงไว้ รูปแบบ หรือ แคมเปญ ต่าง ๆ ดังจะเห็นการนำเสนอแคมเปญการสื่อสารตามยุคสมัยต่าง ๆ แม้พยายามจะปรับให้ปัจเจกชนได้รับประโยชน์จากแคมเปญต่าง ๆ แต่สิ่งสุดท้ายของแคมเปญ เมื่อถอดรหัสออกแล้ว ก็เป็นเพียงแค่เปลี่ยนเปลือกข้างนอก แต่ยังคงสาระสำคัญอันเดิมไว้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

สิ่งบีบคั้นที่แสดงออกมาเพื่อสร้างผู้คนให้คิดและทำเหมือน ๆ กัน ทำให้การเรียนรู้ไม่มีความสุข บีบคั้น ความบีบคั้นนั้นผิดพลาดอันเนื่องมาจากการใช้ทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์แบบไม้ดัด ไม่ได้ใช้ทฤษฎีทางสมอง ที่ระบุว่าผู้คนและมนุษย์ทุกคนมีคนแตกต่างหลากหลาย แม้รวมกลุ่มที่ค้นพบแล้วโดยมีความแตกต่างอย่างน้อยถึงหกอย่าง การศึกษาตามแนวระบบทุนนิยมนิยมบีบคั้น ทำลายสมองมนุษย์ให้ชัทดาวน์ทำให้เกิดการคิดไม่เป็น ซึ่งก็เป็นไฮไลท์แบบทุนนิยมที่ต้องการแบบนี้อยู่แล้ว เพื่อจะไม่ได้ให้คนคิดวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ได้เห็นถึงการเอาเปรียบแบบทุนนิยม แต่ได้นำเสนอข้อดีของระบบทุนนิยมเอาไว้เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการให้รางวัลจากระบบเช่นตำแหน่งงานที่ดี มีเงินที่เขาแบ่งให้ใช้

ระบบการศึกษาที่เป็นอันตรายต่อระบบทุนนิยม คือ การศึกษาที่สร้างสมรรถภาพการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ การวิพากษ์ ได้จำนวนมาก ๆ จุดเหล่านี้ก่อให้เกิดสหภาพแรงงานเข้ามาเพื่อต่อรองผลกำไรของการประกอบการส่งผลเสียต่อระบบที่ต้องการคนเชื่อฟังง่ายยอมรับการเอารัดเอาเปรียบหากคนที่ใช้สมองคิดได้มาก พวกนี้จะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจแทน คนที่สามารถทำนวัตกรรมและการเลียนแบบและพัฒนาสินค้าได้ก็ส่งผลสะเทือนต่อส่วนแบ่งการตลาด และหากมีคนอื่น ๆ หรือสังคมที่รู้ทันต่อการกระตุ้นการบริโภค ก็จะทำระบอบทุนนิยมล้มทันทีเนื่องมาจากไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการได้ เพราะคนเท่าทันต่อข้อเท็จจริงทางการผลิตและโฆษณา ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาปัจจุบันจะทำให้เกิดการชัทดาวน์ นั่นก็หมายความถึงแรงงานที่ไม่สามารถผลิตความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้ ก็เป็นตัวบ่อนทำลายระบบทุนนิยมอยู่ดี

ดังนั้นระบบการศึกษาจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไปสู่ความหลากหลายมากขึ้น จะต้องให้ทุกคนที่มีความสนใจที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ ตามความถนัดทั้งหกอย่าง คือ ด้านตรรกะทางคณิตศาสตร์ ด้านภาษา ด้านการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย ด้านศิลปะและมิติสัมพันธ์ ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจตนเอง และธรรมชาติวิทยา ได้มีโรงเรียนเฉพาะด้านเหล่านี้เพื่อให้ทุกคนได้เรียนแบบ เอกัตกะบุคคล นอกจากนั้น แทนที่จะมีการศึกษาแบบอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว ก็เพิ่มการศึกษาเพื่อชุมชนได้มีโอกาสได้สร้างคนเพื่อรับใช้สังคม สร้างคนเพื่อการศึกษากลุ่มทีมีความต้องการเฉพาะทั้งหลาย โดยเฉพาะเด็กพิเศษเฉพาะทาง ซึ่งภาระกิจเช่นนี้ระบบการศึกษาระบบหลักไม่มีทางทำได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยสังคมช่วยจัดการศึกษา ดังนั้นคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ จึงไม่ใช่สอนและผูกขาดวิชาการทางด้านการศึกษาไว้ที่ตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่วิชาการศึกษาต้องถูกเปิดเผย ให้มวลชน สังคมได้เรียนรู้และใช้เครื่องมือเหล่านี้ ช่วยพัฒนาการการศึกษาร่วมกับรัฐ เพื่อความสุข และ พัฒนามนุษย์ให้ถึงเป้าหมาย และมีความสุข มากกว่าเส้นทางที่พัฒนาทุนนิยมอุตสาหกรรม เพียงอย่างเดียว



คำสำคัญ (Tags): #พหุวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 588240เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2015 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2015 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยครับ แต่ทุนนิยมที่พูดถึงในบทความน่าจะเป็นทุนนิยมในยุคก่อนกำแพงเบอลินถูกทำลาย หลังจากกำแพงเบอลินถูกทำลายอะไรๆมันก็เปลี่ยนไป เงินไม่ได้กระจุกอยู่กับคนที่ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมอีกต่อไป
การศึกษาในยุคปัจจุบันถูกสร้างมาเพื่อป้อนแรงงานเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม ซึ่งหมดยุคไปแล้วหละครับ
ยุคหลังกำแพงเบอลินถูกทำลายคือยุคข้อมูลข่าวสาร และก็มีคนประตัวได้ย้ายเงินมาอยู่กับตัวเอง เช่น บิล เกต ,วอเรน บับเฟต ,ริชาร์ต แบรนสัน แล้วก็คนอื่นอีกมากมาย ยุคของ เฮนรี่ฟอร์ต ,โทมัตเอดิสัน เริ่มที่จะถดถอยลงทุกวัน
คนที่หลุดพ้นแนวคิดยุคอุตสาหกรรมมาได้ก็กลายเป็นคนที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินเดือน สร้างรายได้ด้วยข้อมูลข่าวสาร เช่น มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ,สตีฟ จ๊อบ ,เลลรี่ เพจ ,คนไทยก็มีมากมาย เช่น คุณทักษิณ ชินวัตร,คุณวิสุทธิ์ แสงอรุณเลิศ ,คุณสุรบถ หลีกภับ ,คุณชาติชกาศ วัยกวี เป็นต้น

ออลืมไปครับ นอกเรื่องไปไกลเลย ผมว่าการศึกษาสมัยใหม่ควรมุ่งเน้นไปในแนวทางที่เสริมสร้างการ การเท่าทัน และความสร้างสรรค์ ตัดการปิดกั้นทางความคิดที่กระทรวงศึกษาทำอยู่ออกไป ให้อิสรในการคิดเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญให้เด็กได้ทดลองทำผิดมากๆ เรียนรู้การแก้ปัญหามากๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด การศึกษาทุกวันนี้ ทำโทษคนทำผิด ให้รางวัลคนที่ผิดพลาดน้อยที่สุด ทำให้เด็กไม่กล้าผิดพลาด จนโตมาไม่กล้าสร้างสรรค์ ไม่กล้าลงมือทำอะไรใหม่ๆ
สุดท้าย ความรู้ทางการเงินสำคัญ ให้ความรู้ทางการเงินกับเด็กด้วย แต่จะเป็นไปได้ไงในเมื่อครู ร้อยละเก้าสิบเก้าก็ยังมีปัญหาทางการเงินอยู่เลย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท