เรียนรู้ภูมิศาสตร์ท้องถิ่นป่าต้นน้ำคลองตง(ปะเหลียน) 4 (ลาคนแก่ ที่ฝังศพ บรรพบุรุษ ศรีปะเหลียน)


"เมื่อปี 2535 ทางกรมศิลปกรได้ส่งคณะมาทำการขุดค้นที่หน้าผานี้ผู้นำในการขุดค้นคือ อาจารย์ สุรินทร์ ภู่สุวรรณ กับคณะ ได้ส่งของทางโบราณคดีและซากศพไป 4 ศพ สัณนิษฐานว่าตรงบริเวณที่ขุดค้น เป็นที่อยู่ที่พักพิงของชนเผ่าโบราณมานานนับร้อยปี สังเกตดินที่ขุด จะเป็นดินซากขี้เถ้าเป็นชั้นๆสูงท่วมหัว และพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นที่ฝังศพ เฒ่าสัง ชนเผ่าที่ตอนนี้ได้มีนามสกุล "ศรีปะเหลียน


สร้างภาพก่อนออกเดินทางขึ้น ลาคนแก่



เช้านี้อากาศบนเขาบรรทัด สดชื่นชาวค่ายทุกคนก็สดชื่น หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทาง

และทำกิจกรรมเมื่อคืน ทุกคนก็หลับสบาย อากาศยามค่ำคืนหนาวเหน็บเอาการอยู่

แต่ชาวค่ายทุกคนก็เตรียมผ้าห่มมาด้วยตามคำแนะนำของครูเสริม

  • แต่ชาวค่ายบางคนบอกว่า หลับๆตื่นๆ เพราะตกใจเสียงตุ๊กแก ที่ร้อง เหมือนนาฬิกาบอกเวลาทุกระยะ

เช้านี้เป้าหมายของกิจกรรมคือ เดินขึ้น "ลาคนแก่" ลาก็คือ ผา ลาคนแก่ เป็นสถานที่ฝังกาย เฒ่าสัง

บรรพบุรุษ ตระกูลศรีปะเหลียน อีกทั้งยังเป็นสถานประวัติศาสตร์ทางโบราณคดี

ที่ทาง คณะอาจารย์ จากกรมศิลปกรได้ ยกทีมงานมาขุดค้นซากศพคนโบราณ

วันนี้จึงเป็นการไปเรียนรู้ ภูมิศาสตร์ ที่เกี่ยวเนื่องกับ ภูมิสังคมคนชนเผ่าในอดีต

ลาคนแก่ เป็นภูเขาหินปูน ยอดเดี่ยว อยู่ตรงกันข้ามกับ ลาพูหนัง ถัดจากลาพูหนัง

ก็เดินข้ามไป อำเภอละงูของจังหวัด สตูล สังเกตเห็นชาวค่ายมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้

เพราะเมื่อครูเสริมชี้ให้ดูยอดเขา ลาคนแก่ เยาวชนหลายก็เดินนำหน้าผู้นำทาง

เดินผ่านสวนยางขึ้นไปจนถึง ลาคนแก่

ยอดเขาที่เห็น คือ ลาคนแก่

ณ.จุดนี้ ครูเสริมให้ข้อมูลเด็กๆทั้งจดทั้งจำ ทั้งอัดอีดีโอ

ครูเสริมเล่าว่า"เมื่อปี 2535 ทางกรมศิลปกรได้ส่งคณะมาทำการขุดค้นที่หน้าผานี้ผู้นำในการขุดค้นคือ

อาจารย์ สุรินทร์ ภู่สุวรรณ กับคณะ ทำการขุดค้น ตั้งแต่2535 ถึงปี 2538

สามปีที่ขุดค้นได้สิ่งของทางโบราณคดีเป็นขวานหิน จานหิน หม้อสามขา ดินเผา

พบข้าวเปลือกหางยาว(ข้าวผี) และซากหอย และซากศพไป 4 ศพ ซึ่งในปี 2535

ทางกรมศิลปกรได้ทำการขุดค้นพร้อมกันหลายที่ เช่นที่ถ้ำผีหัวโต จังหวัดกระบี่

สัณนิษฐานว่าตรงบริเวณที่ขุดค้น เป็นที่อยู่ที่พักพิงของชนเผ่าโบราณมานานนับร้อยปี สังเกตดินที่ขุด

จะเป็นดินซากขี้เถ้าเป็นชั้นๆสูงท่วมหัว และพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นที่ฝังศพ เฒ่าสังเมื่อปี 2553

ชนเผ่าที่ตอนนี้ได้มีนามสกุล "ศรีปะเหลียน" และเรียนรู้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง

บรรยากาศในการฟังครูเสริมเล่าเรื่อง เงียบสนิท ไม่การซัถาม คงจินตนาการไปถึงอดีต

ส่วนผู้เขียนก็จินตนาการเชื่อมโยงไปถึงการขุดพบทองที่พัทลุง ถ้าหากตรงนี้เป็นชุมชนเก่าเมื่อหลายร้อยปี

เมืองปะเหลียนกับเมืองพัทลุงก็เป็นไปตามที่นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเล่าให้ฟังว่ามีเรือสำเภาจากปะเหลียน

ล่องลงมาทางพัทลุง ไปออกทะเลที่คลองพะเนียด อำเภอบางแก้ว

ก็เป็นการสัณนิษฐานที่น่าติดตามค้นหากันต่อไป ถึงประวัต์ศาสตร์เมื่อ 1000ที่ผ่านมา

ลงจากลาคนแก่ เย็นนี้จะเข้าไปเรียนรู้วิถีชนเผ่าซาไก มานำเสนอต่อไป

ถ้ำหน้าลาคนแก่


ครูเสริม มาศวิวัฒน์ ให้ความรู้ทั้งภูมศาสตร์ท้องถิ่น และภูมิสังคมท้องถิ่น (ข้างหลังคือซากกระดูกสัตว์ป่า)


ครูหยิน ลงไปพิสูจน์ ซากเถ้าดิน


ซากปากนกเงือก(เอามาแต่ภาพถ่ายเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้มาศึกษาต่อ)

ชั้นดินขี้เถ้า

ครูพี่นอง จินตนาการถึง บรรพบุรุษ



หมายเลขบันทึก: 586656เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2015 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2015 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เก็บรายละเอียดได้เยี่ยม เราต้องมาเขียนหนังสือกัน

เป็นสถานที่น่าสนใจมากครับบัง

อยากไปบ้าง

555

-สวัสดีครับ

-การเรียนรู้แบบนี้ได้ประโยชน์มาก ๆ ครับ

-เด็ก ๆ นั่งทำอะไรกันหนอ????

สวัสดีครับ ครู หยิน

ด้วยความยินดีครับ คงต้องหาเวลา ไปถอดระหัส ธนาคารความดี

เพื่อนนำเรียนรู้กับพื้นที่อื่นๆ

ขอตั้งหลักนิดหนึ่งก่อน ตอนนี้มีงาน จรเข้ามาเป็นงานประจำหลายเรื่อง

…..

รอวันอาจารย์ขจิตว่าง

เรามานัง"จังกับ"กับซาไก

ทั้งครูเสริมครูหยินอยากถึงวันนั้นไวๆ

ลุงวอจะได้ไปเล่านิทานตำนานใต้

เด็กๆ นั่งตั้งใจฟังครูเสริมเล่าถึงอดีตอันรุ่งเรืองของ เมือยงตระ หรือเมืองปะเหลียน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท