ฉบับที่ ๐๒๗ แถลงข่าว "ไขข้อข้องใจ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ชะงัก”


หมอหทัยแฉบริษัทบุหรี่ขวางกม.ใหม่


ที่บุหงาส่าหรี รีสอร์ท อ.วังน้าเขียว จ.นครราชสีมา เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ มีการแถลงข่าวเรื่อง "ไขข้อข้องใจ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบชะงัก" จัดโดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญยาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก พ.ศ.2550-2551 กล่าวว่า ผู้ที่เป็นหัวหน้าการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบฉบับใหม่ ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ครม.คือ บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส จากการค้นคว้าเอกสารพบว่า

1) บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส โดยองค์กรลูก Infotab ดำเนินการตั้งองค์กรบังหน้า International Tobacco growers Association (ITGA) หรือสมาคมผู้เพาะปลูกยาสูบนานาชาติขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกเป็นสมาคมชาวไร่ยาสูบจากหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย คือ TTA (The Thai Tobacco Growers, Curers ad Dealers Association) โดย ITGA และสมาชิกตามภูมิภาคต่างๆ ได้ออกมาคัดค้านทุกเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมยาสูบ ทั้งโดยองค์การอนามัยโลกและประเทศต่างๆ เช่น กฎระเบียบของภาคีกฎหมายบุหรี่โลก, ของแต่ละประเทศ, และการขึ้นภาษียาสูบ

2) บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เป็นนายทุนใหญ่ขององค์กร USABC (United States ASEAN BUSINESS COUNCIL) ทั้งๆ ที่แสดงว่าเป็นสภาการค้าของธุรกิจทุกชนิด แต่ฟิลลิป มอร์ริส ก็มีอานาจสูง เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2553 สภาฯ นี้ได้ส่งหนังสือไปคัดค้านการออกกฎหมายให้ซองบุหรี่ปราศจากสีสัน ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย เห็นได้ว่าได้ "ล้าเส้น" ออกไปนอกเขตอาเซียนแล้ว และ

3) สมาคมการค้ายาสูบไทย (Thai Tobacco Trade Association) ก่อตั้งขึ้นเมื่อมกราคม 2012 สมาคมนี้มีความสัมพันธ์กับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ซึ่งบริษัท 7-11 เป็นสมาชิกสาคัญ บริษัท 7-11 และฟิลลิป มอร์ริส เป็นมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดมานานแล้ว การที่ฟิลลิป มอร์ริส เข้าไปตั้งจุดขายที่บริษัท 7-11 ทาให้อัตราการครองตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากเป็นประวัติการณ์

Description: G:\E-Learning\เกี่ยวกับอาจารย์ผุ้สอน\pic อาจารย์\อ สุชาดา.pngรศ.ดร.สุชาดาตั้งทางธรรม นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกล่าวว่าธนาคารโลกตระหนักดีถึงพิษภัยของยาสูบและกาหนดนโยบายชัดเจนตั้งแต่ปี 2534 ไม่สนับสนุนการผลิตการนาเข้าและการตลาดสาหรับสินค้านี้นอกจากนี้สาหรับประเทศที่มีรายได้จากการส่งออกใบยาสูบก็มีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นทดแทนในปี 2542 ธนาคารโลกจัดพิมพ์รายงานสาคัญซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดแปลเป็นภาษาไทยในชื่อว่าหยุดการแพร่ภัยบุหรี่ : สิ่งที่รัฐต้องทำและผลได้ผลเสียทางเศรษฐกิจของการควบคุมยาสูบรายงานนี้กล่าวถึงแง่มุมต่างๆทางเศรษฐศาสตร์และชี้ให้เห็นว่าการควบคุมยาสูบให้ผลคุ้มค่าสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางและเสนอให้รัฐบาลทุกประเทศให้ความสาคัญกับการควบคุมยาสูบปัจจุบันประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาเห็นถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องควบคุมยาสูบอย่างจริงจัง “รายงานดังกล่าวของธนาคารโลกในฉบับภาษาไทยได้รับการตรวจแก้ไขโดยฯพณฯ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ที่ปัจจุบันคือ รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจด้วย ดังนั้นท่านจึงทราบดีว่าการควบคุมยาสูบจะให้ผลคุ้มค่าเพียงใดต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ”


Description: G:\E-Learning\เกี่ยวกับอาจารย์ผุ้สอน\pic อาจารย์\คุณไพศาล.pngนายไพศาล ลิ้มสถิตย์ นักวิชาการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องเสนอมีร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 มีเนื้อหาล้าสมัย ทาให้ไม่สามารถคุ้มครองสุขภาพของประชาชนอย่างเหมาะสม อีกทั้งประเทศไทยยังมิได้ปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) หลายประการ จึงต้องบัญญัติเนื้อหาเพิ่มเติมหลายประการ รวมถึงการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย อาทิเช่น แก้ไขนิยาม "ผลิตภัณฑ์ยาสูบ" ให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่ๆ อย่าง บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ หม้อระกู่ (มอระกู่) แก้ไขคาว่า "การโฆษณา" ให้ครอบคลุมการสื่อสารการตลาดรูปแบบใหม่ๆ กาหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติ 2 คณะ และมีคณะกรรมการควบคุมยาสูบระดับจังหวัด ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่มีอายุต่ากว่า 20 ปี ห้ามแบ่งขายบุหรี่เป็นมวน กำหนดกฎเกณฑ์การติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับธุรกิจยาสูบที่ชัดเจน และต้องทาอย่างจากัด โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ห้ามหน่วยงานรัฐ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รับการอุปถัมภ์ เงินบริจาค ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบ ห้ามเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรม CSR การอุปถัมภ์ดังกล่าว และกาหนดให้เจ้าของสถานที่สาธารณะมีหน้าที่รับผิดชอบไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558

เว็บไซต์ ศจย. : www.trc.or.th

หมายเลขบันทึก: 585963เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2015 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2015 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท