การท่องเที่ยวไปในดินแดนปลายด้ามขวาน 4


ต่อจากตอนที่แล้ว

การเดินทางของคณะเราเที่ยวนี้ล้วนเป็นชาวมหาวิทยาลัยทักษิณถิ่นเมืองสงขลาทั้งนั้นกล่าวคือมีอาจารย์สามคนมีนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษาหนึ่งคนนักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาไทยคดีศึกษาจำนวนสองคนนอกนั้นเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีรวมทั้งหมดสามสิบเก้าคน ขณะกำลังนั่งรถผ่านรัฐเกดะห์ได้นึกถึงพี่น้องคนไทยในถิ่นแถบนี้เพราะได้มีโอกาศมาเยี่ยมเยือนและได้ทำวิจัยจบไปหนึ่งเล่ม ชุมชนคนไทยที่นี้เรียกตนเองว่าคนสยามมีประเพณีวัฒนธรรมเดิมเหมือนประเพณีวัฒนธรรมคนปักษ์ใต้บ้านเราและยังใช้ภาษาปักษ์ใต้เดิมแม้บางคำคนไทยในถิ่นปักษ์ใต้ไม่ได้ใช้พูดแล้วแต่คนไทยในรัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซียนี้ยังคงใช้สื่อสารกันอยู่

ขณะรถทัวร์ที่เรานั่งอยู่วิ่งผ่านไปบางแห่งยังคงเห็นหลังคาอุโบสถบ้างวิหารบ้างตั้งอยู่ภายในวัดกลางชุมชนของหมู่บ้านโดยมีท้องทุ่งนามีต้นข้าวเขียวขจีมองไกลสุดสายตาล้อมรอบหมู่บ้านแต่ก็มีบางบ้านที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางทุ่งท้องนา

สำหรับประเทศมาเลเซียนั้นถึงแม้จะมีดินแดนติดกับประเทศไทยตั้งอยู่ในปลายด้ามขวานของผืนแผ่นดินใหญ่นี้ แต่วิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนส่วนมากกับสอดคล้องกับเพื่อนประเทศที่อยู่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ โดยมีภาษามลายูกลางใช้สื่อสารและคนส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม ขณะที่พระพุทธศาสนาในภาพรวมมองเห็นมีเพียงรอยอดีตที่เป็นซากของความรุ่งโรจน์เท่านั้น

ในช่วงฤดูกาลถิ่นแถบนี้ถือได้ว่าช่วงฤดูฝนมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตมาก มีแม่น้ำหลายสายที่เปรียบเหมือนสายเลือดที่ไหลมาหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของผู้คนทั้งภูมิภาค เมื่อมองทั่วไปเราจะเห็นแม่น้ำสายหลักในผืนแผ่นดินใหญ่ได้ดีเช่นแม่น้ำสาลวินและแม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า แม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย แม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม แม่น้ำงึมในประเทศลาวและแม่น้ำโขงถือว่าเป็นสายแม่น้ำนานาชาติโดยเริ่มต้นไหลลงมาจากขุนเขาทางตอนใต้ของประเทศจีนไหลผ่านลงมายังประเทศต่าง ๆ ก่อนจะไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ในที่สุด

แม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ถือว่าเป็นสายเลือดที่สำคัญในผืนแผ่นดินใหญ่ บางแห่งถือว่าเป็นจุดแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศและเป็นจุดแบ่งวิถีวัฒนธรรมของผู้คนในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งกายวัฒนธรรมทางการสื่อสารโดยใช้ภาษาต่างกันเช่น ภาษามลายู ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร ภาษาพม่าและภาษาไทยเป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 584579เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2015 06:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2015 06:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท