โรคเรื้อรังเป็นดั่งกระดาษสี


มีคนกล่าวไว้ว่า การดูแลโรคในผู้สูงอายุ นั้นซับซ้อน มีของเก่า ของใหม่ ปะปนให้แปลผลยาก

'ของเก่า' ก็คือโรคเรื้อรัง ที่เป็นแล้วเป็นเลย เหมือนเป็นกระดาษสี

'ของใหม่' ก็คือภาวะฉับพลัน เป็นๆ หายๆ เหมือนปากกาสี

ปากกาสีเขียว ถ้าวาดบนกระดาษขาว ใครๆ ก็เห็นสีเขียวได้ ไม่ยากอะไร

แต่ปากกาสีเขียวเดียวกัน ไปวาดบนกระดาษแดง อาจเห็นเป็นสีม่วง

ยิ่งไปวาดบนกระดาษเขียว พาลมองไม่เห็นเลยทีเดียว

...

โรคเรื้อรัง ภาษาทางการแพทย์ใช้คำว่า 'underlying' มีนัยยะว่า เรากำลังดูปากกาสีบน 'กระดาษ' สีอะไรอยู่

สิ่งที่ นักศึกษาแพทย์ ได้เรียนจากห้องเรียนคือ สีปากกาบนพื้นขาว

ชีวิตจริง สีปากกาอยู่บนกระดาษสี (บางครั้งเป็นสองสามสีผสมกัน = เป็นทั้งเบาหวาน ไตวาย หัวใจวาย)

ก็อาจทำให้รู้สึกท้อใจ เพราะไม่เห็นเหมือน 'สี' ที่ปรากฎในห้องเรียนเลย

บางทีการสอนให้รู้จัก 'แม่สี' ของกระดาษ เป็นเบื้องต้น

แล้วฝึกสังเกต ฝึกสะสมประสบการณ์ 'ผสมสี' อาจทำให้รู้สึกสนุกขึ้นบ้าง

...

กระดาษแม่สี หรือโรคเรื้อรัง ที่น่าให้นักศึกษารู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่

1. ระบบสมอง = Alzheimer -Parkinson

2. ระบบหัวใจ = Congestive heart failure

3. ระบบปอด = COPD

4. ระบบไต = Chronic kidney disease

5. ระบบทางเดินอาหาร = Cirrhosis - alcoholism

6. ระบบต่อมไร้ท่อ = DM

7. ระบบเลือด = Thalassemia

8. โรคติดเชื้อ = HIV

9. โรครููมาติสม์ = SLE

10 โรคผิวหนัง = Psoriasis

คำสำคัญ (Tags): #underlying#กระดาษสี
หมายเลขบันทึก: 584575เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2015 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2015 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"กระดาษสี" บน "พื้นสี"

เป็นเรื่องน่าคิดนะครับ คุณหมอ ;)...

เปรียบเทียบชัดเจนค่ะ

สบายดีนะคะ ^_,^

ขอบคุณกัลยาณมิตรทั้งสองท่านค่ะ ^^

มีเวลามีแรงมาเขียนมาตอบเป็นช่วงๆ ต้องขออภัยที่เข้ามาตอบช้าค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท