สถิติ...มีความเชื่อถือและเชื่อมั่น เราจึงให้ความมั่นใจและยอมรับ เพราะถูกทดสอบทางกระบวนวิทยาศาสตร์
ชีวิต...มีจุดเริ่มต้นและจุดจบชัดเจน แต่หลายครั้งเราลังเลและไม่ยอมรับ ทั้งที่เป็นกฎธรรมชาติ
บางครั้งเราหลงทางกับสถิติ
คนป่วยกำลังจะผ่าตัด พยาบาลปลอบใจว่า
"ตามสถิติหมอท่านนี้ผ่าตัดคนป่วยปลอดภัย 10% รายของคุณไม่น่ามีปัญหา เพราะหมอเพิ่งผ่าตัดคนป่วยแล้วไม่รอดมา 9 คน คุณเป็นรายที่ 10 ซึ่งตามสถิติต้องรอด"
คนป่วยรายนี้ ฟังแล้วจะตัดสินใจอย่างไรนะ อยากรู้จริงๆ...
และตัวอย่างที่หลงทางกับสถิติอีกอย่าง
นักวิจัยประกาศข้อค้นพบในการศึกษาใหม่ว่า
"การทานข้าวเหนียว เป็นสาเหตุของโรคเอดส์" (อ่านตอนแรก ใครหลายคนที่กำลังจกข้าวเหนียว ต้องรีบวางคืนกระติบเลย)
จนเมื่ออ่านรายละเอียดพบว่า นักวิจัยสำรวจพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ ร.พ.สวนดอก ปรากฏว่า
พฤติกรรมของผู้ป่วยที่ตรงกันมากที่สุด คือ ทานข้าวเหนียวเป็นประจำ
พวกเราคงเดาต่อได้ว่า ถ้านักวิจัยรายนี้ไปสำรวจผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่ ร.พ.สงขลา จะสรุปผลออกมาได้อย่างไร?
ชีวิตของคนเราผิดพลาดได้...
สถิติก็ผิดพลาดด้วยเช่นกัน...
กระบวนการในตรวจสอบจึงไม่แตกต่างกัน
นักใช้ชีวิต และนักวิจัย ลองหาเวลา เพื่อครุ่นคิด
ตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน หาความเที่ยง ความเชื่อมั่น ตรวจสอบข้อมูล
และวิเคราะห์ด้วยหัวใจ สติ และปัญญาเช่นกัน...
อาทิตย์ 25 มกราคม 2557
แรงบันดาลใจในการเขียน
# รูป จาก https://www.gotoknow.org/posts/181358
## พี่เก่าเล่าเรื่อง วิวัฒน์ คล่องพานิช ในวารช้างเหล็ก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.
ตรงใจ ชอบใจค่ะ .. จากสถิติ เมื่อสายตาเหลือบมองเห็นคำว่า 'สถิติ' มีสถิติว่าจะข้ามผ่านเลยไป เป็นส่วนใหญ่ ดิฉันอยากทดสอบสถิติจำนวนผู้อ่านบทความนี้ว่ามากน้อยแค่ไหน เสียแต่ว่าชื่อผู้เขียน 'ทิมดาบ' อาจจะเพิ่มสถิติผู้อ่านได้จำนวนมาก .. หวิ่ง! แปลว่าวิงเวียนค่ะ อยากหยอกคุณทิมดาบ แต่ต้องหยุดเรื่องสถิติเอาไว้ก่อน เพราะหวิ่งซะแล้ว ฮา..
....หากหมายถึงสถิติในงานวิจัย.สถิตินั้นต้องมีความเหมาะสมกับงานวัจัยนั้นๆ ...จึงจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นๆ ...ค่าสถิติจึงมีความสำคัญมาก เมื่อนำมาแปลความ จะได้คำตอบที่เชื่อถือได้เฉพาะของงานวิจัยแต่ละเรื่องเท่านั้นนะคะ...
การเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมมีความสำคัญมาก ถ้าทุกองค์ประกอบถูกต้องหมด สถิติก็เชื่อถือได้ภายใต้ความผิดพลาดที่ยอมรับได้ บางปัญหา ความผิดพลาดแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ก็ถือว่ามากเกินไป แต่บางปัญหา อาจยอมได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์
ก่อนจะยอมรับหรือเชื่อถือสถิติหรือผลการทดสอบทางสถิติ ต้องพิจารณาความถูกต้องน่าเชื่อได้ของข้อมูลก่อน ถ้าข้อมูลบกพร่อง ผลการวิเคราะห์ แปลความขยายความ ตีความจากข้อมูล ถึงแม้จะถูกต้องตามหลักวิชา แต่ก็คือ ขยะ นั่นเองเพราะมาจากข้อมูลที่เป็น ขยะ
input=ขยะ---> process(ดีเลิศ) ----> output = ขยะ(จะเป็นอื่นไปไม่ได้ แม้วิธีการ=คน เครื่องมือ จะดีเลิศ)
ดังนั้นการอ่านงานวิจัยต้องประเมินความถูกต้อง (validity) อย่างรอบด้าน อคติ(bias) เป็นสิ่งที่ต้องขจัดทุกขั้นตอนของการวิจัยจากวางแผนถึงแปลผล ตีความ ขยายความ และข้อเสนอแนะการนำไปใช้
โดยส่วนตัว อ่านงานวิจัยจาก บทความ แล้วยังไม่ค่อยเชื่อถือโดยเฉพาะบทความทางสังคม-พฤติกรรมศาสตร์ อยากอ่านฉบับเต็มหรือ Technical report ด้วยเพราะจะประเมินได้ดีว่าควรเชื่อถือได้เพียงใด
ความผิดพลาดในชีวิต จะยอมรับและอยู่กับมันได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกัน ถ้ามีอยู่สูงก็ยอมรับได้ สบายมือดังนั้นเราทุกคนควรมีสิ่งนี้ติดตัว
ด้วยความเกรงใจที่เขียนยาวเกินไป
ชอบใจมากเลยครับ
ใช้สอนได้เลย
เห้นภาพตามวัฏสงสาร
ขอบคุณมากๆครับ