นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี


ท่านหิรัญญา สุจินัย ได้อธิบายและให้ความชัดเจน ชี้ประเด็นข้อสงสัยของผู้เข้าร่วมหารือเป็นอย่างดี และเห็นความสำคัญของข้อเสนอ ของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ที่ขอให้มีการหารือในส่วนของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจที่ใหญ่และมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอันดับต้นๆ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวโดยตรงส่วนมากเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก การลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่การจ้างบุคลากร ถ้าพิจารณาถึงนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี ตามประกาศ กกท.ที่ 2/2557 ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวมีโอกาสที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศได้น้อยมาก ซึ่งไม่ครอบคลุมนโยบายข้อ 1 เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของการส่งเสริมการลงทุนที่กำหนดไว้ ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/new

วันที่ 15 มกราคม 2558 คุณกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ ที่ปรึกษากรรมการบริหาร สภาหอการค้า และประธานอนุกรรมการธุรกิจบริการ นวัตกรรมและการลงทุนที่มีมูลค่าเพิ่ม ได้นำคณะอนุกรรมการ ธุรกิจบริการ นวัตกรรมและการลงทุนที่มีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร คุณเกรียงไกร ภูวณิชย์ คุณสุวดี คุณวีระ บำรุงศรี ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท และ คุณศิริวรรณ ศุภเทียน รองผู้อำนวยการบริหาร และเจ้าหน้าที่สภาหอการค้า เข้าพบท่าน หิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (รักษาการเลขาธิการ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คุณยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ Exective Director,Investment Strategy and Policy Bureau คุณศิวพันธ์ เจ้าหน้าที่ BOI

การเข้าพบครั้งนี้ เป็นการหารือทำความเข้าใจ เรื่องนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี (2558-2564) โดยยึดเอกสาร "ประกาศ กกท.ที่ 2/2557 วันที่ 3 ธันวาคม 2557 มีสาระสำคัญดังนี้

วิสัยทัศน์ของการส่งเสริมการลงทุน

"ส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณค่า ทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทส เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (Middle Income Trap) และเติบโตอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ คณะกรรมการจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนดังนี้

1.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัมนา การสร้างนวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนการส่งเสริมที่เป็นธรรม และการลดความเหลื่อมลำ้ทางเศรษฐกิจและสังคม

(ยังมีอีก 5 ข้อ แต่ขอยกมากล่าวถึงเฉพาะนโยบายหลักที่เกี่ยวข้องกับการหารือ)

ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน

ประกอบด้วย

1.ประเภทกิจการที่กำหนดไว้ในบัญชีที่ให้การส่งเสริมการลงทุน

2.เงื่อนไข สิทธิและประโยชน์สำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามที่ระบุไว้ในแต่ละประเภทกิจการนั้นๆ

3.ให้กำหนดกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยไม่กำหนดวงเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้น โดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ 15 ประเภท (รายละเอียดเข้าไปดูได้ที่ www.boi.go.th)

หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ

1.การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ

2.การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

3.เงินลงทุนขั้นต่ำ และความเป็นไปได้ของโครงการ (ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ ให้พิจารณาเงินลงทุนขั้นต่ำจากเงินเดือนบุคลากรต่อปี ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนท้ายประกาศนี้

หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์

บัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน

แยกออกเป็นหมวดต่างๆ 7 หมวดด้วยกัน แต่ได้หารือเฉพาะหมวดกิจการและสาธารณูปโภค เฉพาะในกิจการ

7.10. กิจการ Cloud Service

7.23.กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

บรรยากาศการหารือเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ โดยทางฝ่ายสภาหอการค้าได้ยกเรื่องของกิจการ Cloud Service และกิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นประเด็นเพื่อขอคำอธิบายเพิ่มเติมจากเอกสารที่อ้างอิง เพื่อพิจารณาถึง ประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และ หลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ ว่าครอบคลุมกับนโยบายข้อ 1 หรือไม่ โดยเฉพาะกิจการของภาคบริการ SMEs เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว

ท่านหิรัญญา สุจินัย ได้อธิบายและให้ความชัดเจน ชี้ประเด็นข้อสงสัยของผู้เข้าร่วมหารือเป็นอย่างดี และเห็นความสำคัญของข้อเสนอ ของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ที่ขอให้มีการหารือในส่วนของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจที่ใหญ่และมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอันดับต้นๆ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวโดยตรงส่วนมากเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก การลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่การจ้างบุคลากร ถ้าพิจารณาถึงนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี ตามประกาศ กกท.ที่ 2/2557 ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวมีโอกาสที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศได้น้อยมาก ซึ่งไม่ครอบคลุมนโยบายข้อ 1 เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของการส่งเสริมการลงทุนที่กำหนดไว้

ท่านหิรัญญา จึงมอบหมายให้ คุณยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ประสานงานกับ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท เพื่อกำหนดวันและเวลาประชุมเพื่อพิจารณาหารือในเรื่องของธุรกิจท่องเที่ยว โดยตรง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

18 มกราคม 2558

หมายเลขบันทึก: 584118เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2015 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2015 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมากเลยครับ

กิจการ Cloud Service น่าสนใจมากๆ

ขอบคุณมากครับ

เป็นนโยบาย ที่ดีมากนะคะ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว เพราะบ้านเรามีอะไรดีดี มากมายนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท