โครงการทวงคืนศิวลึงค์ของสงขลา


ภาพป้ายเขาคุหา

ภาพฐานโยนี

โครงการจัดงาน "ศิวะประทานพร รุ่งเรือง ตลอดไป"1.ภาพป้ายเขาคูหา 2. ภาพฐานโยนี 3. ภาพถ้ำขุดที่มีอักษร อะ อุ มะ

1. ชื่อโครงการ"โครงการศิวะประทานพร รุ่งเรือง ตลอดไป"

2. หลักการและเหตุผล

จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดเก่าแก่ มีโบราณสถานมากมาย และจังหวัดได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดูมาเนิ่นนานก่อนที่พุทธศาสนาจะเผยแพร่เข้ามาสู่ดินแดนแถบนี้ จากการที่หอการค้าจังหวัดสงขลาได้ร่วมกับนักโบราณคดีออกสำรวจพื้นที่ของคาบสมุทรสทิ้งพระ บริเวณที่เลยจากวัดพะโคะขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 200 เมตรเศษมีถ้ำขุดโบราณเรียกว่าเขาคูหา เป็นเขาหินปูน สองถ้ำ ในถ้ำสลักอักษร อะ อุ มะ หรือ โอม อันหมายถึงพระศิวะ พระพรหม และพระวิษณุ(หรือพระนารายณ์) บริเวณหน้าถ้ำมีฐานโยนี ที่ทางนักโบราณคดียืนยันว่าเป็นฐานโยนีที่ใหญ่ที่สุดในการขุดค้นพบในประเทศไทย ตัวองค์ศิวะลึงค์ทางกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานในกรุงเทพมหานคร แสดงว่าพื้นที่ของคาบสมุทรสทิ้งพระของจังหวัดสงขลาเป็นสถานที่รุ่งเรืองทางศาสนาฮินดูมาก่อน เพราะเวลานั้นบริเวณที่ว่านี้เป็นที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู และทางศาสนาฮินดูถือว่าศิวะลึงค์และฐานโยนีเป็นแหล่งกำเนิดความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้านของมวลมนุษยชาติ จะเห็นได้ว่าสงขลาเป็นแหล่งที่รุ่งเรืองมาในอดีต การที่แยกเอาศิวะลึงค์ออกไปจากฐานโยนี ทำให้ความรุ่งเรืองได้ถดถอยลง และจะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศมหาศาล ดังนั้นหากทางจังหวัดสงขลาทำการฟี้นฟูโบราณสถานที่ว่านี้ขึ้นมาก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น UNSEEN IN THAILAND อันใหม่

3. ลักษณะของโครงการ โครงการจัดทวงคืนศิวะลึงค์องค์ดั้งเดิมคืนจากกรมศิลปากร นำมารักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดสงขลา และในระหว่างยังไม่ได้มาทำการจำลององค์ศิวะลึงค์จำลองขึ้นมาและจัดงานสมโภชณ์องค์ศิวะลึงค์โดยจัดเป็นงานประจำปีของจังหวัดสงขลาเรียกงาน"ศิวะประทานพร รุ่งเรือง ตลอดไป" จัดงาน ๗ วัน ๗ คืน จะดึงคนทั้งประเทศ และผู้เลื่อมใสศรัทธาทั้งโลกมาเที่ยวงานนี้

4.ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลา การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา และสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยจังหวัดสงขลา

5.ระยะเวลาดำเนินการ ช่วงเดือน ที่ปรึกษากับตระกูลพราหมณ์

6. วัตถุประสงค์

6.1 เพื่อเป็นความเจริญรุ่งเรืองของจังหวัดสงขลาอย่างยั่งยืน

6.2 เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น UNSEEN IN THAILAND อันใหม่

6.3 เพื่อให้ความรักความสามัคคีของภาคใต้

6.4 เพื่อดึงรายได้ด้านการท่องเที่ยว ที่เป็น UNSEEN IN THAILAND อันใหม่ เข้าสู่จังหวัด

6.5 เพื่อโปรโมทสินค้าของวิสาหกิจชุมชนของคาบสมุทรสทิ้งพระ
7. เป้าหมาย / ตัวชี้วัด

- เป็น UNSEEN IN THAILAND อันใหม่

- ฟื้นฟูทุนดั้งเดิมออกมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่

- เกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ของจังหวัดสงขลา

- มีการทำการขับเคลื่อนจังหวัดสงขลา

8. สถานที่ดำเนินการ

- บริเวณเขาคูหา ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

10. แผนการดำเนินงานและระยะเวลาดำเนินการโครงการ

เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติในที่ประชุม กรอ. จังหวัดสงขลา

11. งบประมาณที่ดำเนินการ

11.1ค่าจำลององค์ศิวะลึงค์

11.2ค่าปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่บริเวณเขาคูหา ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

11.3ค่าจัดงานสมโภชณ์ ๗ วัน ๗ คืน

11.4ค่าจัดประชุมตระกูลพราหมณ์ในภาคใต้

-

12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จะได้แหล่งท่องเที่ยว UNSEEN IN THAILAND อันใหม่ และการสะพัดของเงินจากการที่นักท่องเที่ยวและผู้เลื่อมใสศรัทธาทั้งในและต่างประเทศประเทศที่จะหลั่งไหลมาเที่ยว และจะเกิดความเจริญรุ่งเรืองของจังหวัดสงขลาที่ยั่งยืน

13. การติดตามประเมินผล

13.1 มอบวิทยาลัยชุมชนสงขลา หรือ มหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา เป็นผู้ดำเนินการติดตามประเมินผล

13.1 การวิจัย

14. วิธีดำเนินการ

14.1 ประชุมเตรียมงานระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล หอการค้าจังหวัดสงขลา การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา และสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา กับตระกูลพราหมณ์ในภาคใต้

14.2 ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณเขาคูหา ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

14.3 ทำหนังสือขอคืนองค์ศิวะลึงค์องค์ดั้งเดิมจากกรมศิลปากรขอให้นำเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดสงขลา

ผู้เสนอโครงการ/ประสานงาน นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ รักษาการรองประธานสภาวิทยาลัยชุมชนสงขลา ประธานฝ่ายเศรษฐกิจสนเทศ/กรรมการหอการค้าจังหวัดสงขลา และกรรมการสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา

โทร.089-7380252 Email : [email protected]

หมายเลขบันทึก: 580475เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมเคยไปวัดพะโคะแต่ไม่เคยรู้ว่ามีถ้ำนี้เลยครับ คราวหน้าถ้ามีโอกาสไปวัดอีกผมต้องแวะไปเที่ยวครับ

เลยวัดไปทางเหนือไม่เกิน 500 เมตรครับ ตัวเขาเป็นรูปศิวลึงซ์โดยธรรมชาติ แต่ต้องปรับภูมิทัศน์ครับ

สวยงามมากนะคะ ...ผู้คน สนใจมากมาย นะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท