เครือข่ายนักพัฒนาสุขภาพชุมชน “อสม. นักพัฒนา จิตสาธารณะ หัวใจประชาชน”: บทนำ


อสม.เหล่านี้ต้องเก็บอะไรดี ๆ ไว้กับตัวเยอะไปหมด สิ่งดี ๆ เหล่านั้น หากได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยเฉพาะประเด็นการพัฒนาสุขภาพ และประเด็นอื่น ๆ ที่เป็น “ลีลาชีวิต” ของแกนนำต้นแบบในชุมชน ความรู้ฝังลึกในตัวตน (Tacit Knowledge) ของ อสม.อันมีคุณค่ายิ่ง ถึงเวลาแล้วที่ควรจะต้องนำมาจัดการ เพื่อหมุนวนกันใช้ และยกระดับความรู้

     อสม.หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นนวัตกรรมของกระทรวงสาธารณสุขในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนต่อการพัฒนาด้านสุขภาพ ผมมองเห็นเป็นการปรับกระบวนทัศน์ครั้งสำคัญต่อคำว่า “สุขภาพ” ด้วย อสม.ได้เข้ามาทำให้จุดเปลี่ยนที่ทำให้สุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน แต่ละคน แต่ละครอบครัว ชุมชน และในระดับสังคม หาใช่เป็นเรื่องของบุคลากรด้านสาธารณสุขไม่ บุคลากรด้านสาธารณสุขคงช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสุขภาพ โดยที่เจ้าของสุขภาพ (ใคร ๆ ทุกคน) ต้องดูแลตนเอง และช่วยกันดูแลกันและกันเป็นสำคัญด้วย การพัฒนาสุขภาพจึงจะก้าวไปสู่สุขภาวะร่วมกันได้จริง ๆ

     อสม.เป็นแกนนำภาคประชาชน ที่มีจิตสาธารณะ ขันอาสาตัวเองเข้ามาทำงานเพื่อพัฒนาสุขภาพในระดับพื้นที่ อย่างไม่เคยมีผลตอบแทนใด ๆ นอกจากความภาคภูมิใจในตัวเองที่ได้ทำหน้าที่เป็นต้นแบบด้านสุขภาพ และได้ให้การช่วยเหลือคนอื่น ๆ ให้มีสุขภาพดี หากจะมองในฐานะหมออนามัย อสม.เป็นเพื่อนกับเรามาอย่างยาวนาน ในการทำหน้าที่สำคัญนี้

     ผมได้พูดคุยกับ อสม.พันธ์ อ่อนเกลี้ยง และ อสม.สมพงษ์ เหมียนย่อง ตอนเตรียมเพื่อมาร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ที่จะถึงนี้ ทำให้ทราบว่า ณ วันนี้เรามี อสม.ทั่วประเทศประมาณ 8 แสนกว่าคน และมี 2 แสนกว่าคนที่เป็น อสม.มาอย่างยาวนานเกินกว่า 10 ปี ในจำนวนนี้มี 5 หมื่นกว่าคนที่ทำงานมานานเกินกว่า 20 ปี และในบรรดา อสม.ทั้งหมด เครือข่าย อสม.ด้วยกัน ได้คัดเลือก อสม.ดีเด่นระดับประเทศไว้อย่างต่อเนื่องในแต่ละปี สะสมถึงตอนนี้มีจำนวน 172 คน

     หากจะนับระดับ ภาค เขต จังหวัด อำเภอ และตำบล เราก็จะมีเครือข่าย อสม.ที่โดดเด่นในแต่ละสาขาทั้ง 10 สาขา (สาขาการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก สาขาการดำเนินงานเรื่องเอดส์ในชุมชน สาขาสุขภาพจิตชุมชน สาขาการแก้ไขปัญหายาเสพติด สาขาการสร้างสุขภาพ สาขาการบริการในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) สาขาการออกกำลังกาย สาขาการคุ้มครองผู้บริโภค สาขาการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และสาขาการพัฒนาสังคม) เป็นจำนวนมาก 

     จากข้อมูลที่ผมได้นำเสนอไว้ หลายท่านคงคิดเห็นเหมือนผมในประเด็นว่า อสม.เหล่านี้ต้องเก็บอะไรดี ๆ ไว้กับตัวเยอะไปหมด สิ่งดี ๆ เหล่านั้น หากได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยเฉพาะประเด็นการพัฒนาสุขภาพ และประเด็นอื่น ๆ ที่เป็น “ลีลาชีวิต” ของแกนนำต้นแบบในชุมชน ความรู้ฝังลึกในตัวตน (Tacit Knowledge) ของ อสม.อันมีคุณค่ายิ่ง ถึงเวลาแล้วที่ควรจะต้องนำมาจัดการ เพื่อหมุนวนกันใช้ และยกระดับความรู้ อันจะนำไปสู่การร่วมกันพัฒนาสุขภาพชุมชนสู่สุขภาวะอย่างแท้จริง

 

หมายเลขบันทึก: 57550เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมคิดว่า  กลไก  อสม. ของเมืองไทยนั้น  เป็นกลไกที่ทำหน้าที่หลายอย่างๆในชุมชน   ที่สำคัญถ้าเป็นฟุตบอล  ก็ถือว่าเป็นกองกลางตัวสำคัญทีเดียว  ที่เชื่อมต่อระหว่างนโยบายสุขภาพ  กับตัวชุมชน

ลองหลับตานึกแล  จากเหตุการณ์โรคระบาดใหม่ๆระยะหลังที่ผ่านมา  ถ้าไม่มีกลไก  อสม. ทำงาน  การระบาดจะรุนแรงขนาดไหน     เช่น  เหตุการณ์ไข้หวัดนก    ปากเท้าเปื่อย   ซาร์ส  เป็นต้น 

   ตามมาอ่านและให้กำลังใจครับ
อยากให้วงการ การศึกษามี กลไกที่เปี่ยมพลังแบบนี้บ้างจังเลย จะได้ช่วยผลักดันการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีค่า มีความหมายต่อชีวิตผู้คน ไม่ให้อำนาจ "อวิชชา" ที่แฝงอยู่ในวงการ ออกฤทธิ์ไปมากกว่านี้

พี่ธวัธ แห่ง สคส.ครับ

     ใช่เลยครับ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเมืองไทยมีกลไก อสม.ที่คอยเชื่อมประสานงานระหว่างนโยบายสุขภาพ (อาจจะมีนโยบายอื่น ๆ อีกเยอะร่วมด้วย) กับตัวชุมชนได้อย่างยอดเยี่ยมมานานแล้วครับ

อาจารย์พี่ Handy ครับ

     เอาใจช่วยนะครับอาจารย์ แม้จะอยู่ในวงการสาธารณสุข แต่ก็เอาใจช่วยไปยังวงการศึกษาด้วยคน เพราะจริง ๆ เราคงแยกส่วนกันไม่ได้ทั้งการศึกษา สังคม และสุขภาพ หรืออื่น ๆ อาจารย์พี่ว่าไหม

น้องบ่าวที่นับถือ

  • ได้รู้วิธีการหมุนวนความรู้ภายในตัว อสม.ให้มีพลังมากขึ้นไปอีก เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนดี
  • ถามหน่อยว่าภาพที่นำมาแทรกทำอย่างไรให้มีภาพทางซ้ายแล้วทางขวาใส่ตัวหนังสือได้ครับ พี่จะได้ทำมั่ง เคอร์เซอร์มันไม่ยอมวางทางขวาให้สักที
  • ย้อนมาตั้งต้นอ่านบันทึกของน้องตั้งแต่บันทึกนี้นะ ถือว่าเอากลองยาวมาต้อนรับ หลังจากน้องต้องผันตัวเองไปทำภารกิจด้านการวิจัยอย่างที่เคยบอก

เรียน (พี่)ครูนงเมืองคอน

     ปกติเครือข่าย อสม.เขาก็หมุนวนเกลียวความรู้ของเขาอยู่แล้ว หากเราจะช่วยกันเสริมหนุนให้การหมุนวนนั้นเปลี่ยน Tacit K. เป็น Explicit K. กลับไปกลับมา ด้วยการนำไปปรับใช้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันให้มากและขยายแนวให้กว้างออกไปอีก สังคมความรู้นี้จะเห็นอะไรดี ๆ จากท่านเหล่านั้นอีกเยอะมากครับ ผมเชื่ออย่างนั้น

     การแทรกภาพให้อยู่ซ้ายหรือขวานั้น คือว่าปกติหากไม่ทำอะไรภาพถูก set ให้ Default อยู่ตรงการเมื่อเราใส่ภาพลงไป หากจะให้อยู่ตามตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากใส่ภาพลงไปแล้ว คลิ้กที่ภาพ แล้วเลือกที่แถบเมนูเพื่อจัดชิดซ้าย หรือชิดขวา พี่ก็จะได้ภาพที่อยู่ด้านใด ด้านหนึ่ง หากภาพเล็กกว่า Frame ของ Blog ตัวอักษรก็จะเลื่อนขึ้นมาอยู่ด้านข้างเองล๊ะครับ ลองดูนะครับ

     ตอนนี้งานวิจัย R2R ก็กำลังให้ทีมงานในแต่ละเรื่องได้อ่านเพื่อตรวจสอบกันอีกครั้ง คาดประมาณว่า อีกสักเดือน จะเสร็จลงพร้อม ๆ กันในหลาย ๆ เรื่องครับ เรื่องที่ทำหลังสุดแต่จะออกก่อนใครเพื่อนน่าจะเป็นที่ออกประเมินผลการจัดการงบ P&P (ส่งเสริม&ป้องกันโรค) ซึ่งเริ่มเมื่อกันยายน ที่ผ่านมาครับ

     ขอบคุณพี่มากนะครับบ้านเรานี่นะ หากเอากลองยาวมารับนี่ถือว่ายิ่งใหญ่นะครับ ของผมเอารถเครื่องร้าย ๆ มารับก็ได้ครับ เสียงน่าจะดังไม่แพ้กลองยาว (ฮะฮา)

 


             ได้ยินคำว่า ความรู้ฝังลึกอยู่บ่อย คิดว่าเข้าใจบ้าง แต่ได้เข้าใจแจ่มแจ้งมากขึ้น เมือ่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ พูดคุยเรื่องราวของความรู้ที่เรามี    ว่าที่แท้หาเรานำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนบ่อยแค่ไหนก็เท่ากับเราขุดหลุมความรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น   ไม่รู้เข้าใจถูกมากขึ้นหรือเปล่า   (หรือยังน้อยอยู่อีก) 
              ย้อนกลับมาดูคำว่า  ""การปรับกระบวนทัศน์ครั้งสำคัญต่อคำว่า “สุขภาพ” ด้วย อสม.ได้เข้ามาทำให้จุดเปลี่ยนที่ทำให้สุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน แต่ละคน แต่ละครอบครัว ชุมชน และในระดับสังคม หาใช่เป็นเรื่องของบุคลากรด้านสาธารณสุขไม่  ""      ทำให้นึกถึงคำว่าแกนนำ  หากเราสร้างแกนนำ ให้เกิดความคิดเช่นนี้ในทุกภาคส่วน (แต่ต้องเป็นแกนนำที่ เต็มไปด้วยความสุข )และเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่นนี้เข้าไปในชีวิตประจำวัน คงจะทำให้คำว่าสุขภาพ  เริ่มที่เรา และซึมลึกไปทุกอนู ของทุกภาคส่วน  "คิดว่าคงจะมาขอวิชากับคุณพี่ชายขอบไปใช้บ้างนะคะ"
          

ยินดีกับอสม.ทุกท่านนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท