ผู้เขียนขอเขียนต่อจากบันทึกนี้นะครับ วันนี้ตอนเช้านักศึกษามาด้วยหน้าตาแจ่มใส ดูมีความสุขกับกิจกรรมต่างๆ วันนี้ตอนเช้าฝนไม่ตกแดดค่อนข้างจ้า แต่อากาศที่เชียงใหม่ไม่ร้อนเกินไป ผู้เขียนแวะไปถ่ายรูปที่แปลงเกษตรของนักศึกษาก่อนที่จะมาที่จัดกิจกรรม แปลงเกษตรอยู่ในที่ลุ่มเมื่อดูแล้วพบว่าดินดีกว่าที่โรงเรียนบ้านเขานางที่ผู้เขียนไปปลูกผักมาก เนี่ยคือข้อได้เปรียบของนักศึกษาที่อยู่ในที่อุดมสมบูณ์มีความพร้อมของทรัพยากรธรรมชาติ
วันนี้กิจกรรมเริ่มแรกด้วยกิจกรรม ปิดจุดอ่อน โดยใช้กระดาษมาให้นักศึกษาเหยียบ มีกระดาษว่างหนึ่งแผ่น นักศึกษาต้องพยายามปิดจุดอ่อนไม่ให้วิทยากรเข้าไปที่กระดาษแผ่นที่ว่างได้
เมื่อได้คนที่ปิดจุดอ่อนไม่ได้ก็ให้มาแทนที่วิทยากร เพื่อฝึกให้นักศึกษาได้เป็นวิทยากรกระบวนการต่อไปด้วย เผื่อนักศึกษานำกิจกรรมเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้ และเปลี่ยนไปเป็นกิจกรรมทำหอคอย โดยใช้กระดาษที่นักศึกษาเหยียบจะได้ประหยัดทรัพยากร และสามารถดำเนินกิจกรรมต่อได้เลย
กลุ่มที่ทำหอคอยได้สูงที่สุดและแข็งแรงมากที่สุดจะเป็นกลุ่มที่ชนะ ตอนแรกผู้เขียนเร่งด้วยเวลาปรากฎว่าหอคอยนักศึกษาล้มเลยเพิ่มเวลาให้อีก 3 นาที ได้ผล หอคอยแข็งแรงและสูงขึ้น
ในตอนสุดท้ายให้นักศึกษาช่วยกันสรุปว่าได้เรียนรู้อะไรจากทั้งสองกิจกรรมบ้างในกรณีที่เป็นเรื่องของโครงการผลิตและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศ ถ้ามีจุดอ่อน จะทำอย่างไร เป็นต้น การสร้างหอคอยได้เรียนรู้อะไรบ้าง การสร้างจะสร้างส่วนใดให้เแข็งแรงก่อน เพราะอะไร เปรียบเหมือนการศึกษาหรือการทำงานหรือไม่
ต่อมาน้องแผ่นดินให้นักศึกษานำเสนอการทำกิจกรรมเรื่องปัญหาของโครงการ ผลิตและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศ นักศึกษาสะท้อนปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ดี อยากให้นักศึกษามีความอดทน บางทีการเป็นอยู่ในปัจจุบันอาจเป็นบททดสอบอะไรบางอย่าง...
กิจกรรมต่อมาเป็นบทบาทสมมุติให้นักศึกษาแสดงละครเรื่องของการเป็นนักตัดสินและนักเรียนรู้ นักศึกษาแสดงได้ดีมากสิ่งสำคัญคือตอนสะท้อนจากการแสดงของเพื่อนๆนักศึกษามองแบบองค์รวมไม่ได้ตัดสินว่าใครถูกผิดโดยเฉพาะบุคคล
ผู้เขียนเองได้เรียนรู้ได้เข้าใจบริบทต่างๆของนักศึกษาไปด้วยเลย ได้เห็นรอยยิ้ม ไ้ด้เห็นคราบน้ำตาได้ยินเสียงหัวเราะที่สดใส ออกมาจากตัวนักศึกษา เข้าใจเรื่องผ้าขาวได้ทันทีว่านักศึกษาเป็นผ้าขาวที่ครูหรือสิ่งแวดล้อมวาดแต่งได้ว่าจะให้เป็นอย่างไร แต่ควรให้ผู้ขาวได้ตัดสินใจด้วย นักศึกษาเป็นคนมีชีวิตจิตใจ
แต่ดูเหมือนว่าจะมีเสียงหัวเราะและบรรยากาศของการเรียนรู้มากกว่าคราบน้ำตา นักศึกษาคงได้บทเรียนค่อนข้างมาก
ตอนกลางวันมีการนอนผ่อนพักตระหนักรู้และมีการสร้างความตื่นตัวเล็กน้อย ตามด้วยหนังสั้นเรื่องสามเณร ผู้เขียนขอคุณแผ่นดินมาด้วย เผื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้
กิจกรรมที่นักศึกษาทำต่อไปคือการเขียนโครงการที่นักศึกษาจะทำโดยมีหัวข้ออย่างละเอียดคือการกำหนดวัตถุประสงค์ การวิเคราะห์กำลังคนหรือศักยภาพ การกำหนดระยะเวลา วิธีการหรือกิจกรรม(PDCA) สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ ภาคีเครือข่าย ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความเสี่ยง และแนวทางป้องกัน
คนนำเสนอคือ ตอกมัดกล้า
ผู้เขียนได้วิพากย์นักศึกษาเล็กน้อย เพราะอยากให้นักศึกษาได้เห็นปัญหาต่างๆที่จะทำ นักศึกษานำเสนอโครงการเกี่ยวกับ เห็ด ปลาและผัก ซึ่งเป็นโครงการที่ผู้เขียนทำงานวิจัยเพื่อช่วยนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลพอดี...น้องแผ่นดินได้ช่วยนักศึกษาแก้ไขวัตถุประสงค์ของโครงการในบางกลุ่มด้วยว่า เป็นวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้ ขอเขียนแค่นี้ก่อนนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่านไปอ่านในบันทึกเพิ่มเติมนะครับ...
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
- โรงเรียนแห่งความสุข : การสื่อสารคุณลักษณะตัวเองผ่านภาพวาดในมุมขำๆ ... ... แผ่นดิน
- โรงเรียนแห่งความสุข : จากสมุดบันทึก (ทำมือ ๒๕๕๕) สู่กล่องไปรษณีย์มิตรภาพ (ทำมือ ๒๕๕๗) ... แผ่นดิน
- "จับมือ กอดกัน เธอฉัน เพื่อนกันตลอดไป" ... (โครงการครูเป็นเลิศ : ครูดี คนดี พลเมืองดี) ... Wasawat Deemarn
- ณ ขณะหนึ่ง ... ตอกมัดกล้า
- ดังจนเงียบบบ ... เก้าชีวิต
นักเรียน ... เป็น "ผ้าขาว" เสมอสำหรับคนที่เป็นครูโดยจิตวิญญาณ ;)...
ป.ล. ตื่นเช้าอีกแล้วนะครับเนี่ย 555