ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_16 : การสอนส่งเสริมการคิดด้วย PBL บนฐานปัญหาชีวิตจริง (๕)


บันทึกที่ ๑ ... 
บันทึกที่ ๒ ... 
บันทึกที่ ๓ ...
บันทึกที่ ๔ ...

ขั้นตอนการ "ออกแบบ" กิจกรรมการเรียนรู้  เริ่มที่การเสนอ "ตัวอย่างรูปแบบ" การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเวลา ๑๖ อาทิตย์ โดยยึดหลักการในการทำ LTF ที่สำคัญ คือ การเน้น PLC คือเน้นการมีส่วนร่วมในการคิดและออกแบบ เน้นนักเรียนได้ปฏิบัติจริง ผ่านปัญหาหรือสถานการร์จริงๆ เน้นให้ผู้เรียนได้ ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังแผนภาพ

ผมเรียกเทคนิคการ "พา (PAR)" ออกแบบๆ นี้ว่า "ทามไลน์การอำนวยการเรียนรู้" (น่าจะตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Learning Facilitation Timeline" (LFT))   คือ เริ่มจากเสนอตัวอย่าง รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น "กระบวนการ" โดยยึดหลักการว่า ผู้เรียนจะได้ "ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกเรียนรู้ด้วยตนเอง และได้นำเสนอแลกเปลี่ยน ฉลองความสำเร็จด้วยตนเอง

วิธีการคือ

  • เขียนเส้นจากบนลงล่าง แล้วกำหนดเป็นเหมือนเส้นจำนวน ตามจำนวนสัปดาห์หรือชั่วโมงที่ใช้ในการเรียนการสอนตามวิชา/หลักสูตรนั้นๆ 
  • เขียนเป้าประสงค์ (KPA) ในการจัดการเรียนรู้นั้นไว้ด้านซ้ายมือของเส้น LFT และเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ด้ายขวามือ 
  • เขียนบทบาทของครูหรือผู้เกี่ยวข้องไว้ด้านขวามือถัดจากกิจกรรม 
  • เขียนคำสำคัญที่แสดงถึงวิธีการวัดผลประเมินผล KPA ที่กำหนด ลงในช่วงเวลาที่ทำการวัด 
  • ฯลฯ 

ตัวอย่างของการสอนรายวิชาค้นคว้าอิสระของครูเพ็ญศรี ใจกล้า ที่ใช้ในการพัฒนาจนเกิดกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน" (อ่านรายละเอียดที่นี่)

อีกตัวอย่างเป็นรายวิชาที่ผมสอนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย เป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่เน้นกระบวนการมากกว่าเนื้อหา เน้นสอนคนมากกว่าสอนวิชา ชื่อวิชาว่า "มนุษย์กับการเรียนรู้"

หลังจากเราใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ต่อไปนี้เป็น LTF คร่าวๆ ที่แต่ละกลุ่มมานำเสนอ การวิพากษ์และอภิปราย LTF ของแต่ละโรงเรียน ทำให้เข้าใจและมั่นใจมากขึ้นที่จะกลับไปใช้ PBL ในโรงเรียนบ้าง เพราะที่ผ่านมายังไม่มี PBL  ที่ดีนักในลักษณะที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ ๒๑

 

 

ผม "ปิดวง" ด้วยความสุข และมั่นใจร่วมกันว่า ทุกโรงรียนจะนำแนวทางการออกแบบการเรียนรู้บูรณาการบนฐานปัญหาชีวิตจริงๆ นี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ทั้งที่เป็น Project-based Learning หรือ Problem-based Learning  เราตกลงกันว่าจะไปเยี่ยมทุกโรงเรียนตอนประมาณเดือนกันยายน ๒๕๕๗ นี้  

ผลจะเป็นอย่างไร จะมาเขียนให้ท่านอ่านต่อนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 572505เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับผม ที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท