ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_12 : การสอนส่งเสริมการคิดด้วย PBL บนฐานปัญหาชีวิตจริง (๑)


วันที่ ๑๔-๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗  CADL ขับเคลื่อน PLC กับกลุ่มเป้าหมาย ๑๒ โรงเรียน จาก สพป. กาฬสินธุ์ เขต ๑ ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เราตั้งใจเสนอรูปแบบการสอนผ่านปัญหาชีวิตจริงๆ (PBL) ให้กลุ่มเป็าหมายคือผู้อำนวยการโรงเรียนและครูเพื่อศิษย์โรงเรียนละ ๑ คน ได้ทดลองนำไปใช้ ก่อนที่เราและศึกษานิเทศก์จะตามไปเชียร์ในเดือนกันยายน จึงได้ออกแบบกิจกรรมเชิง "ขับเคลื่อน" มากกว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แม้ว่าตอนแรกๆ จะเน้น "การจัดการความรู้" อย่างไรก็ตาม กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในความพยายามในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการเสริมสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่ หรือ LLEN ที่เราบรรจุไว้ในแผนงานของสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยให้ CADL เป็นคณะทำงาน

การออกแบบกิจกรรม จึงเน้นเป็นขั้นตอน "แลกเปลี่ยนเชิงปฏิบัติการ" ดังนี้ครับ

  • ทีม CADL เล่าถึงข้อค้นพบและประเด็นสาระที่สำคัญๆ และอภิปรายปัญหาและอุปสรรคร่วมกัน อ่านได้ในรายงานฉบับสมบูรณ์ที่นี่ครับ
  • ร่วมกันกำหนดเป้าหมายร่วม ส่วนนี้ผมใช้นักเรียนกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน" ของโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมเป็นเครื่องมือ นำให้ทุกคนได้สะท้อนและอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์งานของครูเพ็ญศรี ใจกล้า
  • นำเสนอ "รูปแบบการเรียนรู้แบบ PBL บนฐานปัญหาจริงๆ" ซึ่งผมเตรียมไปนำเสนอ 
  • ทำ Work Shop เพื่อกำหนดปัญหาหรือหัวเรื่องของโรงเรียน และสร้าง "แผน PLC แผ่นเดียว" 
  • จบด้วยการนำเสนอและสะท้อน อภิปราย และวิพากษ์ ให้แผนชัดเจนขึ้น 

ผม AAR ว่า เราประสบผลสำเร็จในกิจกรรม PLC  นี้อย่างสูง ผมคิดว่าศึกษานิเทศก์ที่ สพป.กส. เขต ๑ นี้ มีวัฒนธรรมทำงานที่ดี เป็น PLC ที่มีคุณภาพสูงอยู่แล้ว ทั้งวิสัยทัศน์ร่วม ความสามัคคี และจิตใจที่ทุ่มเทเอาใจใส่เรียนรู้ในงานของตนเอง  ทั้งท่านรอง ผอ.เขตฯ และ ผอ.กลุ่มนิเทศ อยู่กับเราตั้งแต่ต้นจนจบ คุณครูที่มาก็ให้ความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมเสนอเต็มที่ .... เรามีความสุขและพลังขึ้นอีกเยอะ แม้ว่า เราจะไม่ได้เสนองานที่ผ่านมาในลักษณะงานวิจัยเชิงปริมาณ  แต่ทุกท่านก็เข้าใจและให้โอกาสในการทำงานนี้ต่อไป

บันทึกต่อไป จะมาให้รายละเอียดของกระบวนการครับ

 

ดูรูปทั้งหมดที่นี่ครับ

หมายเลขบันทึก: 572196เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2014 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2014 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท