ฮักนะเชียงยืน 39


บทเรียนด้านการมองละคร

กิจกรรมแลกเปลี่ยน เเละสรุปโครงการ ละครสร้างปัญญา "มะข้ามป้อม"


        เมื่อวันที่ 5-6 กรกฏาคม 2557 ที่ผ่านมาเเล้วนั้น เนื่องในโครงการละครสร้างปัญญา ของมะขามป้อม ที่ได้ทุนมาจาก สสส. ได้จัดกิจกรรมสรุปบทเรียนตนเองขึ้น โดยเป็นการระดมเอา Node ภาคต่างๆ เหนือ  ใต้  ออก กลาง  เเละอีสาน มาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนซึ่งกันเเละกัน ในครั้งนี้ คณะของพี่โจ้ กิตติรัตน์  ปลื้มจิต มาเป็นกระบวนกรในการถอดองค์ความรู้ ซึ่งกิจกรรมนี้ ใน Node มหาสารคาม มีสมาชิกไปด้วยกัน 4 คน ได้เเก่ อ.บั๊ม  พี่อี๊ด  เเสน  เเละน้องป๊อป  จากกลุ่มฮักนะเชียงยืน 2 คน ที่ทางผู้ใหญ่ได้มอบโอกาสให้ไปถอดบทเรียนร่วมกัน 

        ซึ่งในครั้งนี้เราก็ได้เรียนรู้บทเรียนร่วมกันของเเต่ละคน โดยละครสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ดังข้อต่อไปนี้

1.เเง่ของเยาวชน

  • ละครสามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะเเละกระบวนการคิดของเยาวชนได้
  • ละครสามารถเป็นการศึกษาทางเลือกให้กับการเเรียนรู้ด้วยตนเองของเยาวชนได้หรือสามารถเป็น PBL ของนักเรียนได้
  • ละครสามารถเป็นกระบวนการคิดในการให้เยาวชนฝึกจับประเด็นได้ ตามหลัก 5 ภาพ 
  • กระบวนการละครฝึกการคิดให้กับเยาวชนด้วยกระบวนการกลุ่ม ให้คิดอย่างเป็นระบบ  คิดอย่างใคร่ครวญ ด้วยปัญญา
  • ละครฝึกทักษะทางใจ  ทางกาย  เเละทางการคิด
  • ละครฝึกทัศนะคติในการมองผู้อื่นให้หลากหลายมุมมองมากยิ่งขึ้น
  • ละครทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ตนเองเเละเรียนรู้ชุมชน ทำให้เข้าใจตนเอง เเละเข้าใจสังคมมากยิ่งขึ้น
  • ละครฝึกทักษะในการ ประสานงาน  เทคนิคการสื่อสาร เเละมีทักษะการคิดในการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาตน
  • ละครทำให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในบ้านเกิดตนเอง ไม่อายใคร ในถื่นที่ตนเองเกิดมา
  • ละครสอนให้ยอมรับตนเอง ในความหลากหลายในสังคมที่เกิดขึ้น
  • ละครสอน Process  ในการ ตก  Knowledge 


2.เเง่ของชุมชน

  • ละครเป็นเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงชุมชนได้ง่าย
  • ละครเป็นเครื่องมือที่ทุกๆเพศทุกๆวัยสามารถดูได้ร่วมกันทั้งหมด
  • ละครสามารถสะท้อนให้ชาวบ้านในชุมชนได้หันมามองตนเองได้
  • ละครสามารภสร้างจุดสนใจให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมกิจกรรมกับเราได้
  • ละครสามารถเป็นพลังเริ่มต้นที่จะทำให้ผู้ใหญ่ในชุมชนเเละหน่วยงานของรัฐในระดับท้องถิ่น หันมาร่วมมือในการพัฒนางานกับเราได้

คำถามของ สสส. ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

  • ละครสร้างปัญญาได้อย่างไร
  • เมื่อเราเข้าไปลงในชุมชนเเล้วนั้น ชุมชนคนส่วนใหญ่จะกลืนเรา ซึ่งเราจะทำอย่างไร ให้ชุมชนไม่กลืนเรา (ซึ่งเราควรจะมีการเข้มเเข็งทางความคิด)
  • มีวิธีการอย่างไรที่จะไปปรับเปลี่ยนการคิดนำไปสู่ปัญญา
  • จะทำอย่างไรให้ละครทำให้คนยอมรับตนเองเเละปรับปรุงตนเอง
  • จะทำอย่างไรให้ครูที่เรียนรู้เเล้ว ไปสร้างปัญญาในห้องเรียน
  • PLC เกิดจริงหรือไม่
  • ข้อเรียนรู้ในกิจกรรมนี้ ดังนี้

            อันนี้เป็นเครื่องมือที่พี่โจ้ พาชวนคิด คือ การมองปัญหา ซึ่งถ้าลองมองดูจริงๆ เเล้ว ก็คล้ายกันกับการเเยกระดับปัญหาหรือวิธีการในการดำเนินงานที่มีชื่อว่า "ภูเขา 3 ลูก" เเต่อันนี้เป็นการเเยกปัญหาเพื่อพัฒนา โดยเป็นการมองปัญหา 3 แบบ ได้เเก่  เเบบทั่วไป  เเบบสังคม  เเละเเบบโครงสร้าง  ปัญที่เป็นปัญหาทั่วไปเช่น ปัญหาที่เราสามารถเเก้ไขได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งใครๆ   ปัญหาสังคม เช่น การมีพันธะความห่วงใยกัน  ปัญหาความเป็นอยู่ที่ไม่ดี ฯ ส่วนปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การเลือกตั้ง การทุจริต ถนนชำรุด  เครือข่ายการค้าข้ามชาติ หรือระบบการลงทุนเเบบทุนนิยม หรือ บริษัท ฯ  โดยจับปัญหามาเเยกเเล้ววาดรูปเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงาน โดยเราอาจเห็นได้ว่าอะไรที่เกี่ยวโยงกันบ้าง

            หลังจากที่ได้เเยกปัญหาเรานั้นก็นำมาสู่วิธีการเเก้ไข เเล้วดำเนินงานการละคร เพื่อพัฒนาชุมชน เเล้วระหว่างทางเเละหมดระยะเวลาการดำเนินงานตามแผนก็ควรมีหลักวิเคราห์ดังนี้ คือ จุดเด่นของงานเรา คือ อะไร เเล้วจุดด้อย คือ อะไร  วิธีการเรานั้นนำไปสู่สุขภาวะทางปัญญาได้อย่างไร (อันนี้ต้องลองวิเคราะห์ตามแผนงาน)  สิ่งที่เราทำในเเผน เเละนอกเเผน มีอะไรบ้าง เเละสิ่งที่ทำนอกเเผนนั้นเพราะอะไร จึงต้องดำเนินงานนอกเเผน  เเล้วจึงนำมาสู่ข้อเรียนรู้ หรือบทเรียนว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรียนรู้ตนเองอะไรบ้าง เรียนรู้เเง่คิดของคนในชุมชน ว่าชุมชนในปัจจุบันที่เราลงดำเนินงานคิดอย่างไรบ้าง (นี่เป็นสิ่งสำคัญ คือ คอยฟังเสียงชุมชนเเล้วประเมินงานตนเอง) 

            เครื่องมือนี้เป็นการทบทวนเเผนงานตนเองโดยที่เป็นการมองสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น เเล้วเอาเเผนตนเองมาวาง เเล้วนรั่งวิเคราะห์ดูว่า แผนงานของเราที่เราทำนั้น มันมาตอบโจทย์กับความต้องการที่เราอยากให้เกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด เเล้วประเมินงานตนเองว่า ถ้ามันมาตอบโจทย์กับผลลัพธ์ที่เราอยากให้เกิดขึ้นจริง เเล้วกระบวนการอะไรที่ได้ผลที่สามารถตอบโจทย์ผลลัพธ์เราได้ เเละ เมื่อผลผลัพธ์ที่เราอยากเห็นนั้น มันไม่เกิดขึ้น เเล้วเพราะอะไรมันถึงไม่ได้เกิดขึ้น กระบวนการอะไรที่ยังเป็นจุดด้อยที่ยังทำให้เข้าถึงชุมชนไม่ได้เท่าที่ควร เเล้วเราควรปรับปรุงเเก้ไขกระบวนการนั้นอย่างไรบ้าง

            เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือในการทบทวนตนเอง เเละทบทวนงานตนเองว่า งานเรานั้นที่เราทำได้ดำเนินงานไป มันเกิดผลอะไรขึ้นต่อตนเอง  ต่อชุมชน เเละต่อสังคม โดยเป็นมุมมองของคุณค่าในการที่เราได้ดำเนินงานไป โดยอยู่ในมิติของเเง่ดี ว่า คุณค่าที่ตนเองได้รับนั้นมีอะไรบ้าง มีความรู้เเละทักษะการคิด เเละทักษะในการปฏิบัติ หรือทักษะในการตัดสินใจอะไรบ้าง ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ทั้งข้อเรียนรู้จากผู้อื่นเเละข้อเรียนรู้จากบทเรียนที่รู้ด้วยตนเอง   งานเรามีคุณค่าต่อชุมชนอย่างไรบ้าง(มองดูความจริง) คุณค่าต่อชาวบ้าน  คุณค่าต่อเยาวชนเครือข่าย  คุณค่าต่อพ่อเเม่ผู้ปกครองของเรา ฯ  เเละงานเรามีคุณค่าต่อสังคมโดยรวมอย่างไรบ้าง ซึ่งอันนี้เราจะมองในมุมกว้าง คือ สังคม ที่จะใช้ทำว่า อาจจะ เพราะจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้   ถ้าเราได้ทบทวนงานตามนี้เราจะมองผลของงานที่เราทำนั้นหลากหลายมุมมองมากยิ่งขึ้น

            เครื่องมือนี้ได้จากการฟังจากการเเลกเปลี่ยนพูดคุยกันในวง ของ Node มานีมานะ กลุ่มการละครในภาคใต้ ซึ่งเป็นการจับข้อมูลมาวิเคราห์โดยให้ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ที่ผมเรียกว่า "น้ำตกตะกอนความรู้"  โดยน้ำที่ไหลลงมานั้นเทียบเคียงได้กับ ข้อมูลที่ไหลลงมา เมื่อมีข้อมูลที่ไหลลงมาเเล้วนั้น หินเเรก คือ การมองกาย ซึ่งเป็นการมองปัญหา มองสังคมที่เกิดขึ้น เเล้วจำหรือจำเเนกปัญหา ในปัญหา เเยกประเด็นหลักเเละประเด็นรอง  เเล้ว หินก้อนที่ 2 เป็นการเชื่อมทุน โดย เป็นการมองหาทุนในชุมชนเเละทุนนอกชุมชนของเราว่ามีอะไรบ้าง ฯ เเล้วมองรากของปัญหาอีกครั้งทบทวนเพื่อความชัดเจน เเล้วจึงมาคิดวิเคราห์ร่วมกันว่าในปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมันส่งผลกระทบต่ออะไรบ้าง กับใครบ้าง เเล้วนำข้อศึกษาต่างๆเหล่านั้นมา สังเคราห์ให้เป็นวิธีการดำเนินงาน ที่เป็นหินก้อนสุดท้าย

            โมเดลนี้เป็นโมเดลในการดำเนินงานหลักกลุ่มการละคร ที่ได้จากการเเลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ในหลายๆกลุ่มที่มีจุดร่วม คือ จุดเดียวกัน โดยเเบ่งเป็นบันได 4 ขั้น ในการดำเนินงานการละคร เพื่อให้นำละครไปสู่สุขภาวะทางปัญญา โดยที่ในบันไดขั้นเเรกนั้นเป็นการปูพื้นฐานการละครให้กับกลุ่มเป้าหมายเราก่อน เเล้วบันไดขั้นที่ 2 เป็นการซ้อมเเล้วปรับปรุง (ซึ่งปัญญาจะเกิดขึ้นในช่วงนี้) เเล้วออกเร่ สู่สังคม เเล้วถอดตนเอง ในบันไดขั้นที่ 4 ซึ่งในการถอดตนเองนี้ (อาจเกิดสุขทางปัญญาขึ้นมาในระยะเริ่มต้น) โดยเราจะมองภาพออกว่าจากบทเรียนที่เราได้รับมาเเล้วนั้น เราจะเดินทางต่ออย่างไร เดินทางความพลาด เดินอย่างมองตนเอง ก็จะเกิดสุขภาวะที่มีปัญญากำกับ เเล้วในระหว่างที่กำลังเดินอยู่นั้น เราต้องเดินตามเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้ ที่เป็นเป้าหมายหลัก เเล้วควรเก็บข้อเรียนรู้ระหว่างทางหรือเป้าหมายลายทางไว้ย้ำเตือนตนเอง

            เครื่องนี้ได้จากการพูดคุยเเลกเปลี่ยนกันในกลุ่มในเรื่องของละครออกมาจากด้านใน ซึ่งละครนั้นมันออกมาจากใจ โดยออกมาจากใจ เเต่การที่ละครจะออกมาจากใจได้นั้น ต้องมีสิ่งเร้าโดยสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นทำให้เกิดออกจากใจนั้น ได้เเต่  อายะตะนะ  เเบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้เเก่ อายะตะนะภายนอก คือ รูป  รส  กลิ่น  เสียง  การสัมผัส(โสฐัพพะ)  เเละการคิด(ธรรมมารมณ์)  มากระทบเข้ากับ ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย เเละ มากระทบกับใจ  เมื่อมากระทบกับใจเเล้วนั้นจึงก่อเกิดความรู้สึก เมื่อเกิดความรู้สึก จึงเกิดความต้องการ  เมื่อเกิดความต้องการจึงเกิดความคิด  เมื่อเกิดความคิดจึงเกิดการกระทำ นั่นเอง เเล้วเมื่อใจเกิดความรู้สึกที่จากอายะตะนะภายนอกมากระทบกับใจ จึงทำให้เกิด Fell เกิดขึ้น ซึ่งฟิล นี้เองเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ละครของเรานั้นมัความเชื่อเป็นฐานหลัก ที่จะส่งผลออกมาให้คนได้รับรู้กับสารที่เราสื่อออกไปมากที่สุด .... ละครจะเล่นได้ Fell หรือไม่ได้นั้น จุดหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับการสั่งสมของคนในชุมชนที่ลุกขึ้นมาเล่นละครเพื่อการเปลี่ยนเเปลงด้วยตนเอง โดยเขาก็สั่งสมปัญหาที่เกิดขึ้นเเล้วอยากเเก้ไขปัญหา โดยรับรู้จากอายะตะนะภายนอก เเล้วมากระทบกับใจในทุกวัน จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาชุมชนตนเองด้วยตนเอง 

            บทเรียนของละครในครั้งนี้นั้นเป็นบทเรียนที่ได้จากการมองละครเร่ มองชุมชน เเละมองตนเอง พี่ก๋วย พฤหัส จาก มะข้ามป้อมได้บอกเอาไว้ว่า ละครนั้น ถ้ามีเพียงละคร ละครจะกลายเป็นเรื่องบันเทิง คำว่าละครในที่นี้เป็นละครเพื่อการเปลี่ยนเเปลงโดยไม่ได้มีเพียงเเค่ละครเพียงอย่างเดียว ในการพัฒนาจะต้องมี    ละคร   การเรียนรู้   เเละการพัฒนาชุมชนไปด้วยกัน  จึงจะก่อเกิดสุขภาวะทางปัญญา

    .

    .

    .

    .

    .

หมายเลขบันทึก: 572194เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2014 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2014 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณ ดร.ต๋อย (ฤทธิไกร ไชยงาม)ที่ฝึกกระบวนการคิดเชื่อมโยงให้กับเด็กกลุ่มนี้

ชอบการถอดบทเรียนของน้องมากๆครับ ขอบคุณมากครับผม

อ่านแล้ว.. นอกจากภูมิใจภายในมีสุขแล้ว..  ยังได้ความรู้ใหม่ๆ อีกเพียบ.... ความรู้เหล่านี้ย่อม "ใหม่" เพราะ มั่นใจว่า "ผู้เขียน" มอง "เรื่องที่ตนได้เรียนรู้" ผ่าน "แว่น" ของตนเอง....  เพิ่งจะรู้ว่า Note-8" จะสามารถสร้างงานได้สวยขนาดนี้ ....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท