โรคไข้เลือดออกในเด็ก


  โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 - 10 ปี โรคนี้มักระบาดในฤดูฝน 



สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลาย เป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออก และออกหากินในเวลากลางวัน ยุงลายชนิดนี้ ชอบเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งๆ ที่อยู่ใต้ตุ่มน้ำ กระป๋อง กะลา และหลุมที่มีน้ำขัง หรือจานรองขาตู้กับข้าว ฯลฯ

                             


อาการและอาการแสดง แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1: ระยะไข้สูง

ไข้สูงตลอดเวลา (39 - 40 องศาเซลเซียส)สามารถสังเกตได้คือแม้จะกินยาลดไข้ยังไง ไข้ก็ไม่ยอมลด
หน้าแดง ตาแดง ไอ เจ็บคอปวดศีรษะ กระหายน้ำ
ซึม เบื่ออาหาร และอาจปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือชายโครงขวา
มีผื่นแดงขึ้น (ไม่คัน) ในวันที่ 3 ของไข้ ตามแขนขา ลำตัว รักแร้ เพดานปาก กระพุ้งแก้มและลิ้นไก่ ผื่นนี้อาจมีจุดเลือดออกเป็นจุดแดงเล็กๆ
ระยะที่ 1 ใช้เวลา 4 - 7 วัน ถ้าอาการไม่รุนแรง ไข้ก็จะค่อยๆ ลดลง และเด็กจะแจ่มใสขึ้น

                                                            

ระยะที่ 2 : ระยะช็อคและมีเลือดออก

จะเกิดขึ้นในช่วงไข้ลด ประมาณวันที่ 3 - 7 ของโรค
พบอาการปวดท้องมากขึ้น กดเจ็บเล็กน้อยตรงใต้ชายโครงขวา
ตัวเย็น ซึม เหงื่อออกตามตัว
ปัสสาวะน้อย
ผู้ป่วยกระวนกระวาย และอาจมีจุดแดงๆ เหมือนมีเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรือสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระสีดำ

ระยะนี้ ใช้เวลา 24 - 72 ชั่วโมง ถ้าแพทย์สามารถแก้ไขได้ทัน ผู้ป่วยจะดีขึ้น และเข้าสู่ระยะที่ 3

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไข้เลือดออกบางรายก็ไม่มีภาวะช๊อคหรือมีเลือดออก เมื่อไข้ลง ผื่นขึ้นก็เข้าสู่ระยะฟื้นตัว คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลจนเกินไป



ระยะที่ 3 : ระยะฟื้นตัว

ร่างกายจะฟื้นตัวได้เร็วจนเข้าสู่ภาวะปกติ ตลอดระยะเวลาของโรค มักไม่เกิน 9 วัน ถ้าอาการไม่รุนแรงจะใช้เวลาเพียง 3 - 4 วัน ผู้ป่วยอาการจะดีขึ้นได้เองโดยสังเกตได้ดังนี้


- คนไข้เจริญอาหารมากขึ้น
- ชีพจรเต้นช้าลง
- ในผู้ป่วยบางราย จะพบมีผื่นขึ้นตามร่างกาย เรียกว่าผื่นในระยะพักฟื้น
- ปัสสาวะออกมากขึ้น 


การดูแล

1 ระยะไข้สูง ควรเช็ดตัวลดไข้, ให้ดื่มน้ำมากๆ

2 ห้ามไม่ให้ยาลดไข้แอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น ควรให้พาราเซตามอลเท่านั้น

3 ดูแลให้อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อน พวกข้าวต้ม นม น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้

4 ให้ดื่มน้ำมากๆ

5 เฝ้าดูแลอาการอย่างใกล้ชิด


การป้องกัน นอนกางมุ้ง หรือนอนในห้องมิดชิดมีมุ้งลวดป้องกันยุง  กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

     

                  

หมายเลขบันทึก: 572500เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ

เมื่อถูกยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด

เชื้อจะถูกฟักในตัว ขณะเดียวกันร่างกายก็มีกลไกกำจัดเชื้อ

๑.บางคนก็ไม่แสดงอาการอะไรเลย

๒.บางคนเป็นไข้ หาสาเหตุอะไรก็ไม่พบทั้งนั้นแล้วก็หายไป

๓.บางรายเป็นไข้สูงหลายวัน ปวดเมื่อย ปวดกระดูกปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร แล้วในที่สุดก็หายโดยไม่มีระยะช็อคให้เห็น

๔.จำนวนไม่มากเป็นไข้เลือดออกแล้วมีการรั่วของสารน้ำในหลอดเลือดออกไปอยู่นอกหลอดเลือด

ทำให้เลือดหนืด หากรักษาประคับประคองได้ดี ๔๘ ชั่วโมงก็เข้าระยะหาย

๕.มีส่วนน้อยเท่านั้นที่รุนแรง สารน้ำรั่วออกนอกหลอดเลือดมาก มีเลือดออกตามที่ต่างๆ รักษายากและมักมีภาวะแทรกซ้อนและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

ปัจจุบันการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น การเข้าถึงบริการทำได้ง่ายขึ้น อัตราตายจึงต่ำมาก แต่อัตราป่วยยังไม่ต่ำ

แม้ช่วยกันกำจัดยุงและแหล่งเพาะพันธ์อย่างขมักเขม้น

ผมว่าวัคซีนสำเร็จเรื่องนี้ถึงจะจบครับ

อ่านเรื่องวัคซีนไข้เลือดออกเพิ่มเติมได้ที่นี่

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท