วปช.ปักหมุดที่พนังตุง แล้วมุ่งไปตอกเสาเข็มที่ขุนทะเล


ารป้องกันชุมชนต้องใช้เศรษฐกิจชุมชน ใช้สื่อทางชุมชน ให้สังคมรับรู้ ในความเป็นสถาบันทาง วิชาการของชุมชน ต้องมีประเด็นร่วม มีประเด็นข้ามพื้นที่ และข้ามประเด็น เชื่อมโยงเครือข่าย

      


   วปช.(วิทยาลัยป้องกันชุมชน) เป็นสถาบันศึกษาที่นำเอาองค์ความรู้ในชุมชน 

มาถ่ายทอดให้กับคนใุมชนเอง เพื่อให้คนในชุมชนรู้ศักยภาพงานของชุมชน และพร้อมที่จะปกป้อง

ชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการชุมชนกันเองได้

"เสมือนหนึ่งเรียนรู้ในที่ทำกิน"....

ก็จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืนวิทยาลัยป้องกันชุมชนเป็นสถาบันทาง

วิชาการของภาคประชาชน  เป็นหน่วยสนับสนุนทางวิชาการให้แก่ประชาชน ภายใต้กรอบคิดการพัฒนา

ประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกสภาองค์กรชุมชน ซึ่งถือเป็นกลไกหลัก ในการกำหนด

ทิศทาง และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยใช้ผู้รู้ในชุมชนและฐานความรู้  ความจริงในชุมชน เป็น

ผู้ให้ความรู้และเป็นแบบเรียนปฎิบัติการจริง เป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการแก่ชุมชนและประชาชน (บางส่วน

จากหลักการเหตผลและกรอบแนวคิดหนังสือรุ่นนักศึกษา  วปช.รุ่นที่ 4)ที่ทาง สพม(สถาบันพัฒนาการ

เมืองโดยคณะกรรมการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง)ได้ให้คำนิยามเอาไว้ ซึ่งทาง 

สภาพัฒนาการ

เมืองรุ่นแรก ได้จัดทำหลักสูตรและเปิดการเรียนการสอนมาแล้ว 4 รุ่น มีนักศึกษาที่จบหลักสูตรประมาณ 


อาจารย์ พง จากสูล กำลังสนับสนุนแนวทางขับเคื่อนสื่อไปถึง คณะ คสช


200คน ซึ่งนักศึกษาประกอบด้วย 

สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง คณะกรรมการส่งเสริมการเมืองภาค

พลเมือง   

สมาชิกสภาองค์กรชุมชนหรือที่ปรึกษาสภาองค์กรชุมชนตำบลหรือผู้ทรงคุณวุฒิในที่ประชุมสภาองค์กร

ระดับจังหวัด  

แกนนำหรือเครือข่ายองค์กรชุมชนที่จดแจ้งองค์กรไว้กับสภาพัฒนาการเมืองหรือเคยเป็นภาคีเครือข่าย

ร่วมกิจกรรมกับสภาพัฒนาการเมือง 

เป็นสมาชิกองค์กรสตตรีหรือเยาวชน

และบุคคลอื่นๆที่มีบทบาทในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับชุมชน ที่มีผลงานได้รับการยอมรับเป็นที่

ประจักษ์ เช่นนักการเมืองทุกระดับ นักวิชาการ และผู้นำท้องถิ่น 

(เอกสาร วปช.รุ่นที่4)



บรรยากาศการถกแถลงเป็นไปแบบปรองดอง

       แต่หลังจาก สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองรุ่นที่ 1 หมดวาระลง ทางสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองรุ่นที่ 

2 ก็ไม่ได้สนับสนุนส่งเสริม กิจการของ วิทยาลัยป้องกันชุมชน ทางเครือข่ายคน วปชทั้ง 4 รุ่น 7 จังหวัด

ภาคใต้ จึงได้นัดทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในนามของเครือข่ายเพื่อให้สถาบัน วปช.คงสถานะภาพ โดย

การรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคม แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จจนถึงทุกวันนี้ ประกอบสถานะการทางการเมืองที่

ทำให้คน วปช ต้องเลือกข้างในทางการเมือง กิจกรรมของคนวปช. จึงขาดหายไปช่วงหนึ่ง  มายุค คสช.

ทางเครือข่ายคน วปช. จึงมารวมตัวกันอีกครั้ง เพือถกแถลงสถานะถาพของคน วปช.และจะสื่อไปถึง

คสช.ในความเป็นเครือข่าย วปช ภาคใต้และบทบาทหน้าที่ในการสร้างประชาธิปไตยภาคพลเมือง 

 ซึ่งได้ลงหลักปักหมุด เครือข่ายคนวปช. ไว้ที่วิทยาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลพนังตุง อำเภอควนขนุน 

จังหวัดพัทลุง 


      การนัดพบปะถกแถลงกันในครั้งนี้มีได้นัดหมายกันอย่างเป็นทางการแก่ คนวปชทั้งหมด ด้วยข้อ

จำกัดไม่มีงบประมาณในนัดพบ จึงนัดกันผ่านสือออนไลน์ตามความสมัครใจในการมาพูดคุยทีมีคนวปช

ทุกรุ่น ทั้ง 7 จังหวัดมาตอกเสาเข็มทางความคิดถึงตัวตนและทิศทางเครือข่ายคน วปช.หาข้อสรุปใน 

สถานการของปัจจุบัน ซึ่ง พอสรุปจากนั่งถกแถลง นอนแคงคุยกันได้ดังนี้ คน วปช.

ต้องทำให้อำนาจ

ของประชาชนมีจริง  

ต้องทำให้เกิดประชาธิปไตย 

ต้องทำให้เกิดการเมืองภาคพลเมือง 

 ต้องทำให้เกิดเป็นสถาบันทางวิชาการของชุมชน 

ต้องสร้างการเรียนรู้ 

ต้องไม่ใช้อำนาจบังคับ แต่ต้องสร้างแรงจูงใจ 

ต้องแสดงออกโดยโดดเด่นชัดเจน มีข้อมูล  มีองค์ความรู้ 


วปช. พัทลุง กับ วปช.สตูล ถกกันนอกรอบ


     การป้องกันชุมชนต้องใช้เศรษฐกิจชุมชน ใช้สื่อทางชุมชน ให้สังคมรับรู้ ในความเป็นสถาบันทาง

วิชาการของชุมชน  ต้องมีประเด็นร่วม มีประเด็นข้ามพื้นที่ และข้ามประเด็น เชื่อมโยงเครือข่าย  หน้าที่

ของสถาบันทางวิชารคือ

รวบรวมสังเคราะห์องค์ความรู้ 

ออกแบบชุดความรู้ 

ทำหน้าที่สร้างประชาธิปไตย

ภาคพลเมือง

สถาปนาตัวตนคนท้องถิ่น

และนำเสนอบนฐานคิดของเครือข่ายคน วปช 

       ภาระเร่งด่วน

ทิศทางที่ต้องทำคือ การสร้างความสัมพันธ์กระชับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง สร้างการสื่อสารสาธารณะทั้ง

ภายในและภายนอกเครือข่าย ร่วมหาแนวทางในการเคลื่อนขบวนในสถานการณ์ปัจจุบัน และการจัดการ

ทุน โดยการหางบประมาณสนับสนุนจากเครือข่ายคนวปช. นี้คือเสาเข็มที่ลงหลักปักฐานสร้างถาบันทาง

วิชาการชุมชนของพลเมืองเครือข่ายคน วปช. วิทยาลัยป้องกันชุมชน


หมายเลขบันทึก: 572299เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2014 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2014 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อำนาจพลเมืองเป็นพลังทางธรรมชาติที่มีอยู่จริง อยู่ที่พลเมืองจะใชำอำนาจหรือไม่ แต่การใช่อำนาจพลเมื่องไม่ได้ขึ้นกับภาวะการนำของคนเก่งคนดัง 

ชอบใจการทำงานของภาคใต้ที่ตื่นตัวรื่องการเมือง

ไปทำกิจกรรมนี้ที่ไหนครับ

ขอชื่นชมการทำงานครับบัง

แค่อ่านย่อหน้าแรกก็ตืนเต้นแล้ว "วปช.(วิทยาลัยป้องกันชุมชน)" เอ๊ะเราไปอยู่ที่ไหนมา ไม่รู้จักงานนี้

เข้มแข็งมาก ขอชื่นชมค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ จำรัส 

พลเมืองคือกำลังของเมือง 

ราษฎร คือคนที่เกิดมามีชื่อใน ทร 14 เมื่อเติบใหญ่ มีสิทธิ์มีเสียง ก็ได้ชื่อว่าประชาชน 

ดังนั้นประชาชนต้องยกระดับไปเป็นพลเมืองเพื่อเป็นกำลังสร้างประชาธิปไตย ชุมชน

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต 

ไปทำค่ายกับครูหยิน ตกกลางคืน ตีรถไปสุราษฎร์ คุยกันหนึ่งคืน

ตีรถกลับมาช่วยค่ายต่อ

ได้ทั้งสองงาน สมประโยชน์ ทุกอย่าง ทั้งค่ายและ วปช

เรียน อาจารย์ หนุ่ย 

วปช มีเฉพาะที่ภาคใต้ น่ะครับ

เสียดายที่ สพม.รุ่น สอง ไม่สนับสนุนต่อยอด  วปช.

สวัสดีครับลุงบัง

มาเป็นกำลังแรงเชียร์ให้คนดีเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนครับ

ลุงบังเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ แก่ผมในหลายด้านเลยครับ

ชุมชนเข้มแข็ง  บ้านเมืองก็เดินหน้า  ปัญหาก็เบาบาง ...  อยากให้ทุกชุมชนเป็นแบบนี้จ้ะลุงวอ

-สวัสดีครับลุง

-ตามมาให้กำลังใจ

-อยากจะได้ข้อมูลเรื่อง"มันขี้หนู"เพิ่มเติมน่ะครับ

-ขอบคุณครับ..

สวัสดี น้องครูอาร์ม ว่างช่วงไหน เชิญแวะมาเยี่ยมค่ายเยาวชน ที่บ้านสวน

ได้เห็นกระบวนการใช้ทักษะชีวิตที่เรียนรู้การอยู่อย่างพอเพียง

ฝึกการปฎิบัติในการใช้ชีวิต ตามวิถีชุมชน

ได้เศรษฐกิจชุมชน เป็นผลพลอยได้

ขอบคุณน้องมะเดื่อ  วปช.คือคนทำงานชุมชน ปกป้องชุมชน

เรียนคุณเพชร....มันขี้หนู เป็อาหารทั้งคาวหวานของคนใต้

แกงส้ม แกงกะทิก็ต้องมีมันขี้หนู ใส่ 

คนใต้คุ้นชินกันดี มักปลูกกันในพื้นที่ปลูกยางใหม่ๆ  ขยายพันธ์ง่าย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท