เมื่อแม่ผมจัดการความเครียด!


ขอบพระคุณคุณแม่ของดร.ป๊อปที่ช่วยเป็นนางเอกในรายการใหม่ของม.มหิดล รวมถึงคุณโยและทีมงานรายการ 32 Services ที่ถ่ายทำ ณ บ้านดร.ป๊อป เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 57

งานถ่ายทำครั้งนี้เป็นแบบธรรมชาติของการบันทึกอัตราการเต้นของชีพจร (ค่าปกติ 60-90 ครั้งต่อนาที) ความเหนื่อย (จาก 0-10 ไม่เหนื่อย-เหนื่อยที่สุด) โดยมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนปกติ (90-100%) ขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยประเมินก่อนและหลังการจัดการความเครียดด้วยกิจกรรมบำบัด ได้แก่ การให้ความรู้และกำลังใจเพื่อจัดการความคิดในการปรับชีวิตที่ทำซ้ำจนเป็นนิสัยประจำ การปรับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม และการปรับบริบท-ทัศนคติ ความเชื่อ แรงจูงใจ การรับรู้ศักยภาพกายและจิต ทำให้คลายความเครียดเชิงลบสู่ความเครียดเชิงบวก ก่อให้เกิดความสุขตามหลักการของ Positive Psychology ศึกษาเพิ่มเติมจาก Wikipedia และ Self-Psychology ศึกษาเพิ่มเติมจาก Wikipedia 

ลองมาเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของชีพจรและความเหนื่อยที่ลดลง บ่งชี้การจัดการความเครียดได้ดีขึ้น


ก่อนการทำกิจกรรม ความดันโลหิต 113/77 (ค่าปกติ 120/80) ชีพจรเต้น 83 ครั้งต่อนาที

1. กิจกรรมซักผ้า  ชีพจรเต้น 88 ครั้งต่อนาที เหนื่อย 5/10 หลังปรับท่าทางการซักผ้า เช่น นั่งเก้าอี้ที่ไม่ก้มตัวจนเกินไป การวางตะกร้าใกล้ตัว และการสั่งจิตใต้สำนึกว่า เป็นกิจกรรมยามว่าง มิใช่การทำงาน ทำให้ชีพจรเต้น 84 ครั้งต่อนาที เหนื่อย 5/10

2. กิจกรรมเล่นคอมพิวเตอร์ ชีพจรเต้น 74 ครั้งต่อนาที เหนื่อย 2-3/10 หลังปรับท่าทางการนั่งให้ผ่อนคลาย ไม่เอียงตัว แต่เคยชินกับการเอียงตัวมาข้างซ้าย แม้จะมีหมอนหนุน ทำให้ชีพจรเต้น 78 ครั้งต่อนาที เหนื่อย 2-3/10

3. กิจกรรมการดูแลคุณยาย ชีพจรเต้น 88 ครั้งต่อนาที เหนื่อย 8/10 หลังใช้อุปกรณ์ช่วยที่ได้รับบริจาคจากพี่วรรณะ ร้านฉลาดคิด รพ.ศิริราช ก็ทำให้ชีพจรเต้น 84 ครั้งต่อนาที เหนื่อย 7/10 

4. กิจกรรมทำอาหารกลางวัน ชีพจรเต้น 82 ครั้งต่อนาที เหนื่อย 7/10 หลังปรับท่าทางให้ยืนในระยะที่หยิบของใกล้ แต่ใจก็กังวลในการต้องทำอาหารต้อนรับกองถ่ายทำฯ ทำให้ชีพจรเต้น 98 ครั้งต่อนาที เหนื่อย 7-8/10 

หลังการทำกิจกรรม ความดันโลหิต 118/69 (ค่าปกติ 120/80) ชีพจรเต้น 82 ครั้งต่อนาที

การแปรผลความมั่นใจในการจัดการความเครียดของคุณแม่ดร.ป๊อป คือ เรียนรู้การปรับท่าทางขณะทำกิจกรรมที่รู้สึกเหนื่อยได้มั่นในขึ้นและเข้าใจว่า ต้องนำไปฝึกฝนจนเปลี่ยนนิสัยประจำ และที่สำคัญต้องปรับจิตใจที่ยืดหยุ่นและไม่รู้สึกเร่งรีบจนเกินไป เหล่านี้คือ การปรับความเครียดเชิงลบ (ทำกิจกรรมเร็ว ใช้เวลารีบเร่ง และทำให้ใจร้อน) ให้กลายเป็นความเครียดเชิงบวก (ทำกิจกรรมสบายๆ ช้าๆ ตามศักยภาพ และทำให้ใจเย็นเป็นสุข) 

และที่สำคัญที่ผมได้เลือกคุณแม่ให้เป็นนางเอกของรายการนี้ เพราะคุณแม่มีประสบการณ์การจัดการความสุขหลังภาวะรูมาตอยส์ คลิกอ่านบันทึกการเป็นวิทยากรของคุณแม่ของผมที่นี่ 

หมายเลขบันทึก: 572213เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2014 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2014 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

การเรียนรู้แบบนี้เป็นเรื่องสำคัญนะคะ เพราะส่วนใหญ่ผู้สูงวัย หรือ คนที่ทำงานบ้านอยู่บ้านคนเดียว ก็จะมีเรื่องกังวล เรื่องเครียดวนเวียนอยู่คนเดียว หากได้มีการแนะให้ผู้สูงอายุก็จะสามารถปรับให้เกิดการสังเกตตนเองและปรับความคิด-อารมณ์ และปรับการกระทำให้มีความสุขขึ้นได้

คุณแม่น่ารักมากยอมเป็นนางเอกให้^_____^

คุณแม่ มีโอกาสได้เป็นครูและผู้บำบัดไปกับคุณลูกด้วย..ดีจังค่ะ

ขอบพระคุณมากครับอ.ยุวนุช อ.แสงแห่งความดี อ.ภูสุภา และอ.ดร.จันทวรรณ 

แม่ท่านแข็งแรงดีนะครับ

จำได้ว่าพบกับท่านตอนไปทำกิจกรรมที่สมุทรสาคร

ขอบคุณมากๆครับที่เขียนเรื่องดีๆให้อ่าน

สวัสดี Dr.Pop

แวะมาให้กำลังใจท่าน ผมจะลองจับชีพจรของตัวเองก่อนการเล่นวู้ดบอลและหลังการเล่นวู้ดบอลดู แล้วจะขออนุญาตส่งให้ท่านแปรผล ถ้าท่านอนุญาตครับ

ได้ประโยชน์มากค่ะ  พี่จะเอาไปใช้กับตัวเองค่ะ ร่วมกับการรับรู้ลมหายใจ เพราะบางเวลาทำอะไรรีบๆ จะรู้เลยว่าทำให้เครียดโดยไม่จำเป็น

อาจารย์น่าจะเปิดคอสสร้างวิทยากร ให้นำเทคนิคดีๆ ทั้งหลายไปใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลนะคะ

ยินดีแปรผลสุขภาพการวัดชีพจรก่อนและหลังทำกิจกรรมครับผม ขอบพระคุณมากครับผศ.เดชา

ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิต คุณแม่และผมก็สนุกมากๆในกิจกรรมที่เป็นวิทยากรสุขภาวะกับพี่ครับ

ยินดีให้พี่ Nui ลองนำไปใช้ครับ จริงๆผมเปิดโรงเรียนการจัดการความสุขเพื่อสร้างวิทยากร แต่ด้วยภาระงานประจำของอาจารย์ นักวิจัย และนักกิจกรรมบำบัด ทำให้ผมมีเวลาสร้างวิทยากรลดลง แต่ผมก็นำไปสร้างนักศึกษากิจกรรมบำบัดในชั้นเรียนปีนี้เป็นปีแรก จะลองดูครับผม ขอบพระคุณมากครับ

อาจารย์ครับ ความเหนื่อยวัดจากการรับรู้ของตนเองใช่ไหมครับ อยากให้อาจารย์อธิบายเครื่องมือวัดความเหนื่อยในบันทึกต่อๆ ไป ไม่ต้องมากก็ด้วย กลังอาจารย์เหนื่อย ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณมากครับคุณทิมดาบ ยินดีไม่มีวันเหนื่อยอยู่แล้วสำหรับคุณทิมดาบ เครื่องมือวัดความเหนื่อยเป็นการทบทวนความรู้สึกแล้วรับรู้ภาวะเหนื่อยด้วยตนเองครับ สร้างระดับความเหนื่อยเป็น 0 คือ ไม่เหนื่อยเลย จนถึง 1 คือ เริ่มเหนื่อยบ้าง จนถึง 10 คือ เหนื่อยมากที่สุด ก็ลองดูว่าแต่ละคนจะเหนื่อยที่ระดับใด 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 หรือ 10 ในขณะทำกิจกรรมใดๆ ครับผม 

ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์ JJ  และอ.นุ  

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋และพี่ณัฐพัชร์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท