เรื่องเล่าจาก KM MD KKU : 2. New note taker


note taker จะสกัด “ความรู้ปฏิบัติ” ที่สมบูรณ์ไม่ได้เลยหากไม่มีการวางแผนดำเนินกิจกรรมด้วยทีมที่ดี... (ขอเชิญเพื่อนๆ ที่มีประสบการณ์เรื่องนี้ ร่วมแชร์ด้วยค่ะ)

สำนักบริหารจัดการองค์ความรู้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรม KM ครั้งที่ 2/2557 เรื่อง "New note taker" ให้กับบุคลากรจากหน่วยงานในวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2557เวลา 08.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมหนองแวง สำนักงานคณบดีชั้น 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้เรียนรู้แนวคิดการจัดการความรู้และเทคนิคการจัดเก็บความรู้ สามารถนำไปใช้ในหน่วยงานที่ตนปฏิบัติได้

วิทยากรบรรยายโดย รศ.ดร.เพชรากร หาญพานิชย์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น (ลูกศิษย์ อ. JJ ค่ะ)

ผู้เขียนมีส่วนร่วมในการนำเสนอประสบการณ์ตรงที่เคยทำตัวเสมือน note taker ตามสไตล์ของผู้เขียนมาร่วมเล่าให้ทราบด้วย

ด้วยข้อจำกัดของเวลาที่จัดอบรม ผู้เข้าอบรมจึงน่าจะได้เพียงแนวคิดและทักษะการเป็นผู้ฟังและผู้เขียนบางส่วนเท่านั้น การลึกซึ้งในเทคนิคจึงน่าจะเกิดเมื่อผู้เข้าอบรมได้กลับไปลงมือทำด้วยตนเองจริงๆ  จึงจะได้เรียนรู้อุปสรรค/ความสำเร็จในการทำ แลัวหวนกลับมาเล่าให้พวกเราฟัง

จากประสบการณ์ของผู้เขียนเห็นว่าอาจยังมีบางประเด็นในบทบาทสำคัญของ note taker ที่ควรรู้เพิ่มเติม เพื่อทำให้ปฏิบัติภารกิจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้


Note taker หรือคุณลิขิต เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากในทีมการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) การเก็บความรู้ที่สมบูรณ์ส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง


อย่าลืมว่า note taker เป็นผู้บันทึกความรู้ปฏิบัติ 

ดังนั้นหน้าที่หลักของ note taker คือ

การตั้งใจฟัง ฟังแบบ deep listening ฟังให้รู้ลึกถึงใจ/เจตนาจริงของผู้เล่า จึงจะสกัดความรู้ฝังลึกที่ต้องการออกมาได้ เพราะบางครั้งผู้เล่าเองก็ไม่สามารถอธิบายตรงๆได้ คล้าย “น้ำท่วมทุ่ง” ก็มี... สิ่งที่ไม่ควรทำคือ เบรกผู้พูดจน “หัวทิ่ม” เพราะในบางประโยคของ “น้ำท่วมทุ่ง” อาจนำมาซึ่งการต่อยอดความคิดดีๆ ได้

ค้นหาความรู้ปฏิบัติและปัจจัยความสำเร็จ จากปากผู้เล่าให้ได้

- ต้องพยายามฝึก สกัด “ความรู้ปฏิบัติ” จากผู้เล่าให้ครบถ้วน โดยเฉพาะในประเด็นของ 1) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 2) อารมณ์ความรู้สึกและบรรยากาศ/สิ่งแวดล้อมของเรื่องเล่า ที่สามารถสะท้อนและสรุปการเรียนรู้ได้

- เชื่อมโยงประเด็น “ความรู้ปฏิบัติ” สู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้

- สามารถถอดประเด็น “ความรู้ปฏิบัติ” ที่ได้ออกมาเล่าและเผยแพร่ (อย่างมีรสชาติหรือตามสไตล์ผู้เล่า)



โดยสรุป บทบาทและหน้าที่ของ Note taker (คุณลิขิต) คือ

- ทราบประเด็น/เป้าหมายเรื่องที่จะพูดคุยชัดเจน

- มีทักษะที่ดีในการฟัง

- มีความสามารถในการจดบันทึกได้เร็ว เชื่อมโยงและสรุปประเด็นเรื่องเล่า

- ควรใช้ mind mapping บน flip chart ได้ดี

- การบันทึกของ note taker ควรได้รับการตรวจสอบซ้ำโดยเจ้าของงาน 

- การสกัดความรู้ที่ได้สู่การปฏิบัติใหม่ และออกเผยแพร่เป็นสิ่งจำเป็น


จะอย่างไรก็ตาม note taker จะสกัด “ความรู้ปฏิบัติ” ที่สมบูรณ์ไม่ได้เลยหากไม่มีการวางแผนดำเนินกิจกรรมด้วยทีมที่ดี นั่นหมายถึง ต้องมีการกำหนดประเด็นพูดคุย ตั้งเป้าหมายของกลุ่มให้ชัดเจน และมี group facilitator หรือคุณอำนวยของกลุ่มที่ดี ที่ต้องมีทักษะโน้มน้าวสมาชิกกลุ่มไม่หลุดจากประเด็นที่ต้องการ ไม่เช่นนั้น note taker เหนื่อยแน่ เผลอๆ หมดเวลาคุย แต่แกะประเด็นไม่ออกซะงั้น


... Cheer! 

...

ขอเชิญเพื่อนๆ ที่มีประสบการณ์เรื่องนี้ ร่วมแชร์ด้วยค่ะ

...


หมายเลขบันทึก: 570450เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2014 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

note taker ต้องมีสมาธิและเป็นผู้ฟังที่ดีใช่ป่าวคะ 

สำคัญสุดๆ เลยค่ะ... ป้าแดง

ขอบคุณค่ะ

ตามมาชื่นชมและเยี่ยมยามสหายชาวมอดินแดงครับ

สวัสดีค่ะ คุณกฤษณา นางฟ้าในชุดสีขาวของดิฉัน

ทุกวันยังคงทุ่มเทเพื่อคนไข้เหมือนเดิมนะคะ 

คิดถึงและเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ Bright Lily

เดินไปตามฝันค่ะ 

ขอบคุณมากๆนะคะที่เป็นกำลังใจให้เสมอ มาโดยตลอด 

มีโอกกาสคงได้พบกันนะคะ

ต้องฝึกการฟังวิเคราะห์ให้ได้ว่าผู้พูดพูดเรื่องอะไรแน่

บางครั้งพูดเรื่องหนึ่ง

แต่ตั้งใจสื่ออีกเรื่องหนึ่งครับ

อ่านทุกครั้ง  ยังคมชัดเรื่องประเด็นและเห็นกระบวนการในบันทึกอย่างชัดแจ้ง..

ชื่มชมครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท