จัดการความเครียดทำอย่างไร?


ก่อนหน้านี้ดร.ป๊อปเคยบันทึกการจัดการความล้าด้วยกิจกรรมบำบัด 

วันนี้ผมจึงอยากบันทึกการจัดการความเครียดในกรณีที่ท่านใดจัดการความล้าแล้วไม่ดีขึ้น จากการสะสมภาวะความเหนื่อยล้าตั้งแต่ทางความคิด จิตใจ และร่างกาย ก็จะทำให้เกิดภาวะเครียดได้

จริงๆ เรื่องราวของการจัดการความเครียด หรือ Stress Management มีให้กัลยาณมิตรทุกท่านได้ศึกษามากมาย เช่น ขอบคุณ Acknowledged Mayoclinic.org

แต่บันทึกนี้ผมอยากรวบรวมดูว่า Neuro-Linguistic Programming หรือ NLP จะมาช่วยจัดการความเครียดได้อย่างไร?

Link ที่น่าสนใจอันแรก Acknowledged Goodman, J.C. 

Link ที่น่าสนใจอันที่สอง Acknowledged New Oceans

Link ที่น่าสนใจอันที่สาม Acknowledged Joseph Adams 

ในทางกิจกรรมบำบัดไม่ว่าจะมีประสบการณ์ทางคลินิกทั่วไปหรือเชี่ยวชาญเฉพาะทาง...นักกิจกรรมบำบัดจะเน้นองค์ประกอบของการแสดงความสามารถและความสุขในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเครียด คลิกอ่านที่นี่ Acknowledged Thompson, T. ได้แก่ 

1. Coping with Stress คือ การจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นทันที (ในวันนี้) กับที่เกิดขึ้นในอดีต (เมื่อวานถึงมากกว่า 6 เดือน) แต่ถ้าในอดีตมากๆกว่า 1 ปีขึ้นไปมักจะต้องใช้หลายๆเทคนิคและวิชาชีพอื่นๆร่วมกัน โดยเน้นการวัดตัวแปรทางสรีรวิทยาในท่านอนหงาย ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจ (ค่าปกติ 60-90 ครั้งต่อนาที) ความดันโลหิต (ค่าปกติ 120/80 มม.ปรอท) และอัตราการหายใจ (ค่าปกติ 20 ครั้งต่อนาที) บางครั้งดูค่าอุณหภูมิชั้นผิวหนังปลายนิ้วมือที่แปรตามการไหลเวียนอัตโนมัติของเลือดและเหงื่อด้วย หรือ Galvanic Skin Response Biofeedback ทั้งนี้ต้องวัดเชิงทดลองก่อนและหลังการใช้เทคนิคการจัดการความเครียดในข้อ 2 และ/หรือ 3 ข้างล่างนี้ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากค่าปกติหรือเปลี่ยนแปลงลดลง 10-20% จากค่าปกติก็แสดงว่า "สามารถจัดการความเครียดทางระบบสรีรวิทยาได้ด้วยเทคนิคนั้นๆ (หนึ่งคนควรเลือก 3 เทคนิคเพื่อเป็นทางเลือก)"

ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงสูงกว่าค่าปกติมากๆ แล้วคงที่ค่าปกติบ้างถ้าให้ทดลองก่อนหลังเทคนิคใดๆซ้ำไม่เกิน 3 รอบ แสดงว่า มี Mental Stress ซึ่งต้องจัดการด้วย Mental Activities ที่คนๆนั้นมีความสนใจทำกิจกรรมที่สร้างพลังจิต (ความคิดสร้างสรรค์) และพลังใจ (ความสุข) เช่น การทำงานศิลปะ การทำสมาธิกับสวดมนต์ การเต้นลีลาศ การทำอาหาร การปลูกผักกินได้ ฯลฯ  

ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงสูงกว่าค่าปกติมากๆ แล้วลดลงหรือคงที่ค่าปกติบ้างถ้าให้ทดลองก่อนหลังเทคนิคใดๆซ้ำไม่เกิน 3 รอบ แสดงว่า มี Physical Stress ซึ่งต้องจัดการด้วย Physical Activities ที่คนๆนั้นมีความสนใจทำกิจกรรมที่สร้างพลังกาย (ความคล่องแคล่วและความทนทานจากการเคลื่อนไหว) เช่น การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การเล่นกีฬาทุกประเภท ฯลฯ

ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงสูงกว่าค่าปกติมากๆ แล้วยังคงสูงกว่าค่าปกติตลอดการทดลองก่อนหลังเทคนิคใดๆซ้ำไม่เกิน 3 รอบ แสดงว่า มี Emotional Stress ซึ่งต้องจัดการด้วย Physical & Mental Activities ข้างต้น 

2. Positive Thinking to Relieve Stress คือ การวิเคราะห์ด้วยตนเองว่า "ความเครียดที่มีอยู่เป็นความเครียดเชิงบวกหรือเชิงลบ" หรือใช้ภาษาง่ายๆ คือ ความพยายามแก้ไขปัญหาชีวิตจนเครียด (ความคิดเชิงบวก) กับ ความทุกข์ที่คิดซ้ำไปซ้ำมาจนหาทางออกไม่ได้จนเครียด (ความคิดเชิงลบ) ซึ่งวิธีการง่ายๆ คือ อยู่กับตัวเองด้วยจำนวนนาทีเท่ากับอายุ เช่น ดร.ป๊อป อายุ 39 ปี ก็นั่งเงียบๆทบทวนตัวเองไม่เกิน 39 นาที จะนั่งหลับตาหรือลืมตาทำสมาธิก็ได้ หรือจะค่อยๆเขียนเรื่องราวที่เครียดทั้งเชิงบวกและ/หรือเชิงลบเป็นข้อๆ อย่างน้อย 5 ข้อต่อประเภทของความเครียดนั้นๆ แล้วมาวางเรียงเป็นคู่ๆ ระหว่างความเครียดเชิงบวกกับลบ ให้วิเคราะห์ว่า ความเครียดคู่ใดหักล้างกัน เช่น เบื่อทำงาน (ความเครียดเชิงลบ) หักล้างกับ ต้องทำงานจะได้มีรายได้ (ความเครียดเชิงบวก) เป็นต้น 

3. Stress Management Techniques คือ การทบทวนเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการความเครียดด้วยตนเอง เช่น การหายใจในหลายรูปแบบ (ง่ายสุด หายใจเข้า 16 ครั้ง หายใจออก 8 ครั้ง ต่อ 1 รอบ ทำ 10 รอบ) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับส่วน (ง่ายสุด เกร็งคายกล้ามเนื้อเป็นจังหวะตั้งแต่ใบหน้า แขน ขา และทั้งตัว) การจินตนาการด้วยภาพที่รู้สึกผ่อนคลาย การมองภาพที่สดชื่น (Link ที่น่าสนใจที่อยากให้ทุกท่านชื่นชมคือ Acknowledged Vorobyoff Production) การทำกิจกรรมที่มีความหมายและมีคุณค่าในชีวิต ฯลฯ  

หมายเลขบันทึก: 566422เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2014 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

-- ขอบคุณค่ะ .... เป็นประโยขน์มากๆๆ ค่ะ



ขอบคุณมากๆครับพี่ดร.เปิ้น ท่านวอญ่า และท่านผอ.ชยันต์

วันนี้ตัวผมเองก็รู้สึกเครียด และได้นั่งหลับตาทบทวนว่าเครียดเพราะอะไร ทำไมถึงเครียด หลายรอบอยุ่ รู้สึกดีขึ้นครับ

...คิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ คิดอย่างสร้างสรรค์ ทันคน ทันเหตุการณ์นะคะ

ขอบคุณมากๆครับและขอให้ผ่อนคลายมีความสุข...พี่ดร.พจนา คุณพ.แจ่มจำรัส คุณบุษยมาศ และพี่ณัฐพัชร์

* ดีจังค่ะ...คิดอย่างเป็นระบบเพื่การบำบัดที่ถูกต้อง...

* หลักพุทธให้ปล่อยวาง ไม่ฟุ้งซ่านยึดติด เพื่อสู่ความเบาสบายทั้งกายและใจ...ต้องฝึกไปเรื่อยๆกับโจทย์ชีวิตที่ผ่านเข้ามาสู่โสตสัมผัสทุกเวลานาที...เป็นกำลังใจให้ค่ะ


เห็นด้วยอย่างยิ่งกับหลักทางพุทธศาสนาและต้องฝึกฝนครับ ขอบคุณมากๆครับพี่ใหญ่

ความเครียดจะจัดการได้ง่าย ถ้ายอมรับว่าตนเองเกิดปัญหา หรือมีข้อกังวลใจอยู่ ที่ยังแก้ไขไม่ได้ และเมื่อเราคิดมาก ๆ มันจะกลายเป็นย้ำคิด เมื่อร่างกายเรากังวลมาก ๆ ร่างกายจะซึมซับความเครียดจากระดับความรู้สึกตัว ไปสู่ความเครียดในระดับจิตใต้สำนัก ซึ่งก่อให้เกิดการเจ็บป่วยทางกาย ต่าง ๆ ตามมาซึ่งจะแก้ปัญหาความเครียดได้ยากยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญกว่าก็คือ การที่เราไม่ยอมรับว่าตนเองมีปัญหา นี่และทั้งสร้างปัญหาให้แก่่ตนเอง และคนรอบข้าง ซึ่งคนในกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มาก  สิ่งที่พอจะช่วยได้คือขอให้มีเพียงกัลยาณมิตรอยู่ใกล้ตัว ซึ่งพอมีทางออกได้ ขอบคุณอาจารย์ Dr.Pop ครับสำหรับแนวทางการเช็คความเครียดในมุมของวิชาชีพกิจกรรมบำบัด 

-สวัสดีครับ

-ตามมาอ่านสาระประโยชน์ดี ๆ นี้ครับ

-ขอบคุณครับ

-กำลังหาทางกำจัดความเครียด ฮ่าๆ  ๆ

ขอบคุณมากๆครับคุณเอกราชและคุณเพชรน้ำหนึ่ง

บางทีก็สรุปไม่ได้เหมือนกัน และวิธีการจัดการกับความเครียนก็ยาก ในบางครั้ง

ไม่เคยคิดว่าตนเองจะเป็นคนเครียดเลยค่ะ จนกระทั่งเพิ่งเจอกับเหตุการณ์หนึ่งมาจนทำให้สมองรวมทั้งร่างกายเครียดจนเกร็งค่ะ จะลองตามตามวิธีการที่อาจารย์แนะนำนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท