การกู้เงินจำนวน 2 ล้าน ล้าน : กรณีรถไฟความเร็วสูง ตอนที่ 1


1. สัดส่วนในการลงทุนสำหรับงบ 2 ล้าน ล้าน

     ก่อนที่จะนำเสนอในเรื่องอื่นๆ จะนำเสนอในเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับงบนี้ก่อน

     1. พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน  เป็นการใช้เงินนอกงบประมาณ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 4.35 ล้านล้าน โดย 2 ล้านล้านนี้ถือเป็นเส้นเลือดหลัก ส่วนที่เหลือเป็นเส้นเลือดฝอยที่ยังไม่มีความชัดเจนด้านเงินลงทุน น่าจะอยู่ในระบบงบประมาณปกติ  

     2. ร่างพ.ร.บ.นี้ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินได้สูงสุด 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2563 (7 ปี)  โดยเงินกู้นั้นต้องนำมาใช้จ่ายในโครงการลงทุนพื้นฐานตาม “บัญชีแนบท้าย พ.ร.บ.” เท่านั้น 

     3. บัญชีแนบท้าย แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์ 8 แผนงาน ไม่สามารถโยกวงเงินระหว่างยุทธศาสตร์ได้ แต่โยกระหว่างแผนงานได้  อย่างไรก็ตาม รายละเอียดในบัญชีแนบท้ายเป็นเพียงภาพกว้างๆ แต่ยังมี “เอกสารประกอบการพิจารณา” ซึ่งมีความหนากว่า 200 หน้า ที่ลงรายละเอียดมากกว่า แต่ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อทราบลักษณะทั่วไปของโครงการแล้ว เรามาลองดูรายละเอียดกันนะครับ

จากภาพ Infographic โดยดูทางด้านขวา สามารถอธิบายได้ ดังนี้

     งบประมาณตามประเภทคมนาคมจะมีรายละเอียด ดังนี้ 1. 83.3 เป็นทางราง 2. 14.5 เป็นทางถนน 3. 1.5 เป็นทางน้ำ 4.  0.6 เป็นการพัฒนาของกรมศุลกากร หากเรามองตามแผนยุทธศาสตร์ จะมีรายละเอียด ดังนี้ 1. 52.1% พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน/สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่ง (รถไฟความเร็วสูง, มอเตอร์เวย์, ประตูการค้าหลักและชายแดน) 2. 29.6% พัฒนา/ปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว (รถไฟฟ้าในเมือง, พัฒนาโครงข่ายถนนและขยายช่องจราจร) 3. 17.7% เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า (รถไฟทาง, พัฒนาท่าเรือ, พัฒนาสถานีขนส่งต่อเนื่อง) 4. 0.4% งบประมาณสนับสนุนยุทธศาสตร์จำนวนโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 103 โครงการ 1,990,778 ล้านบาท

    อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของโครงการลงทุน แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. โครงการที่ไม่จำเป็นต้องศึกษาความเป็นได้ 85,755 ล้านบาท 2. โครงการที่ศึกษาความเป็นไปได้และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว  444,082 ล้านบาท 3. โครงการที่ศึกษาความเป็นไปได้แล้ว แต่ยังไม่ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม  529,055 ล้านบาท 4.โครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้  558,271 ล้านบาท 5. โครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ  373,615 ล้านบาท                                 

    สรุปความพร้อมลงมือเพียง 26.6 % หรือ 1 ใน 4 ของงบประมาณทั้งหมด แต่อีก 3 ใน 4 ของงบประมาณยังไม่มีความพร้อมในการดำเนินการ ขาดการศึกษาโครงการที่สมบูรณ์อาจทำให้การดำเนินการโครงการไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน (โปรดดูภาพ Infographic)

 

      เมื่อตัวโครงการทั้งหมด มีความพร้อมเพียงแค่ 26.6 % เท่านั้น จุดดีจุดด้อยและข้อเสนอแนะของทีดีอาร์ไอเป็นอย่างไร เดี๋ยวมาฟังกันต่อนะครับ

หมายเลขบันทึก: 566415เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2014 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท