บันทึก: ย่ำแดนกิโมโน โดราเอมอน (ตอน 2 ในเมือง)


ตอนสอง ในเมือง

สำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อมาถึงโตเกียว น่าจะใช้ subway หรือรถใต้ดิน สะดวกที่จะไปได้ทุกๆที่ และไม่ต้องเผชิญกับจราจรของเมืองหลวงประเทศญี่ปุ่น ใครที่คิดจะขับรถเช่า ก็ต้องเตรียมตัวจ่ายค่าจอดรถไว้ด้วย เพราะราคาแพงทีเดียวเจียว ส่วน taxi นั้นก็ราคาแพงระยับจับใจ ไม่เคยใช้ แต่หนังสือคู่มือเล่มไหนๆก็เตือนเอาไว้ ประการสำคัญคือ ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ taxi จริงๆ

  1. เดินทางในเมือง ถ้ามี suica card หรือ PASMO card ก็จะสะดวก คนญี่ปุ่นเดินทางกันจริงๆจังๆ เดินจ้ำพรวดๆเร็วมาก เพราะเขารู้ว่าจะไปไหน นักท่องเที่ยวอาจจะถูก intimidate จากคลื่นกระแสคนเดินทุกทิศทุกทาง แต่ถ้าเราศึกษาวางแผนหน่อย คือ จะไปสายไหน สถานีไหน ทิศไหนไว้ล่วงหน้า ขึ้นรถแค่รอบสองรอบ เราก็แปลงกายเป็น commutor ชาวโตเกียวไปได้เนียนๆ
  2. แผนที่รถไฟใต้ดินมีประโยชน์มาก ขอเอาตามโรงแรมที่เราไปพักนี่แหละ เป็นแผนเดียวจะสะดวกกว่าเป็นเล่มๆ เพราะเราไม่ได้อ่านตลอดเวลา เหน็บเอาไว้ใช้งานเร็วๆในกระเป๋าที่เราสะดวกที่สุดที่จะล้วงออกมาดู สายรถไฟแบ่งเป็นสีๆ มีชื่อสถานีบอก เมื่อเราทราบสาย และสถานี อันดับต่อไปคือจะไป "ทิศไหน" ที่ป้ายตรงชานชาลา ชื่อใหญ่ๆตรงกลางป้ายจะเป็นชื่อสถานีที่เราอยู่ และจะมีหัวลูกศรบอกว่าชานนี้จะไปสถานีต่อไปอะไร ขึ้นให้ถูกทิศ มิฉะนั้น เราอาจจะย้อนเส้นทางได้ บางทีคนละทิศก็ไม่ได้อยู่ฝั่งตรงกันข้ามง่ายๆ แต่ต้องออกไปอีกไกลเลยก็มี ฉะนั้นแหงนหน้าดูป้ายบอกทิศทางเป็นระยะๆว่าเรากำลังไปชานชาลาที่ถูกต้อง ถูกทิศด้วย
  3. ใน Apple Store จะมี application นึงชื่อ Subway Guide มีประโยชน์มาก แม้ว่าจะไม่ practical เท่าแผนที่ subway กระดาษง่ายๆ แต่จะบอกว่าสถานีไหน มีทางออก (exit) กี่ทาง ออกไปไหนบ้าง และเหนืออื่นใดคือบอกว่า exit ไหนมีบันไดเลื่อน หรือมี lift เพราะบาง exit จะมีแต่บันไดธรรมดาๆ ในยามปกติอาจจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่วันที่เราต้องขนกระเป๋าไปรถไฟ ถ้าไม่มี lift หรือบันไดเลื่อน เราอาจจะหมดปัญญาเอาง่ายๆ ทั้งขนขึ้น ขนลง บางทีมันจะสูงชันมากทีเดียวเจียว exit เหล่านี้อยู่ห่างไกลกันได้เป็น block เลย ฉะนั้น ควรจะวางแผนไว้ก่อนว่าเราจำเป็นต้องใช้บันไดเลื่อนหรือ lift ไหม และควรจะไปขึ้นไปลงที่ exit ไหน โปรแกรมพวกนี้มีให้เลือกเยอะ ทั้งแบบฟรีและแบบจ่ายตังค์ มีไว้ประดับ ipad ไม่เสียหาย
  4. สถานีรถใต้ดินจะอยู่ใต้ดิน (แหงสิ) พอเราเดินออกมา เราจะหลงเอาง่ายๆ ตอนเราออกมาจากชานชาลา ให้มองหาแผนดีถนน มักจะอยู่แถวๆนั้นแหละ บอกว่า exit ไหนออกไปแล้วจะเจอถนนอะไร บางทีจะบอกสถานที่ท่องเที่ยวไว้ให้ด้วย ศึกษาก่อนออกจากสถานี เพราะถ้าออกผิด exit มีโอกาสหลงไปไกลทีเดียว พอขึ้นมาถึงถนน ก็หาทาง orientate ทิศให้ดี ถ้ามีแผนที่ ก็ลอง match กับจุดที่เรายืนเพื่อกำหนดทิศทาง พอถึงถนนแล้วอย่าไปหวังกับป้ายมากเกินไป เพราะมักจะเป็นภาษาญี่ปุ่น
  5. Suica card และ PASMO ใช้ในโตเกียว แต่พอออกไปเกียวโต จะมี card ใหม่อีก คือ subway/bus card ของเกียวโตเอง หรือว่า Kansai Passcard ของทั้ง region ด้วย เป็นคนละบริษัทกัน ของ Kansai จะ cover local operators มากกว่า เนื่องจากเกียวโตมีรถไฟบริษัทเล็กๆเยอะแยะตาแป๊ะไก๋ คนจะน้อยกว่าของ JR แต่อาจจะหวานเย็นกว่า สถานีมักจะอยู่ใกล้ในเมืองมากกว่า เพราะสร้างมาแต่ไหนแต่ไหนก่อน JR ซึ่งเป็น national railway จะเข้ามาทำหมดทั้งประเทศ สายพวกนี้มักจะมีแต่คนญี่ปุ่นนั่ง ก็จะได้อีกบรรยากาศนึง Kansai passcard ก็มีทั้งแบบ one-day two-day three-day เหมือนกัน ซื้อได้ที่ bus-station หน้าสถานีรถไฟเกียวโต (บอกไว้ก่อน Kansai passcard รับแต่เงินสดนะจ๊ะ เตรียมไว้ด้วย แต่ของ JR ซื้อจากตู้ได้เลย)
  6. บาง exit ของสถานีรถใต้ดิน จะมีเวลาเปิด-ปิดด้วย คือ เช้าไป หรือค่ำไป ก็อาจจะปิดแล้ว ต้องไปใช้ทางออกอื่นๆ
  7. Vendor machine หรือตู้เอนกประสงค์ของญี่ปุ่น มีเกลื่อนเมือง มีแม้แต่ขายบะหมี่ ราเมง!! concept เดียวกันคือหยอดตังค์ก่อนให้พอ ปุ่มต่างๆที่มีสินค้าจะเริ่มสว่างขึ้นถ้าเงินที่เราหยอดไปเพียงพอ ถ้ายังไม่สว่างแปลว่าเงินที่หยอดไปยังไม่ถึง หรือของอาจจะหมด หยอดไปเท่าที่จะซื้อ เกินได้ เพราะเดี๋ยวมันจะทอนออกมาเอง ไม่ต้องกลัวมันโกง ตู้พวกนี้ตอนซื้อโค้ก ซื้อไอติม ไม่เท่าไหร่ แต่ตอนซื้อราเมง โซบะ มันจะงงๆนิดๆ เพราะมันมีแต่ชื่อภาษาญี่ปุ่น สุดท้ายใช้วิธีเรียกเจ้าของร้านมากดให้ เราชี้รูปที่ประดับฝาร้านว่าจะเอาอะไร ขั้นตอนเหมือนเดิม คือหยอดตังค์ (หรือเสียบแบ๊งค์) ให้พอ แล้วก็กดๆๆๆ มันจะไม่ออกมาเป็นโซบะนะ ออกมาเป็น slip เราค่อยดึง slip นี้เอาไปให้คนครัวอีกทีนึง พอเสร็จมันจะตะโกนว่าเสร็จแล้ว (เดาเอา... น่าจะทำนองนั้น) เราไปยกมาเสริฟตัวเองจากเคาเตอร์ ร้านเล็กๆพวกนี้มักจะมีนำ้และแก้วน้ำให้เสริฟตัวเองฟรี
  8. คนญี่ปุ่นคลั่งไคล้คิวมาก เข้าได้ยาวๆ และเข้าได้ทุกที่ เคยเห็นคิวซื้อขนมที่ดิสนีย์แลนด์ยาวยังกะรอคิวเล่นเครื่องเล่น!!
  9. เท่าที่สังเกต คนญี่ปุ่นจะไม่ค่อยพูดคุยกันในลิฟท์ ในรถเมล์ ในรถไฟ มักจะง่วนก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์ หรืออ่านหนังสือ อ่านเจอในหนังสือคู่มืออะไรไม่รู้ บอกเป็นมารยาทอย่างนึงที่เค้าจะไปตะโกนคุยกันในที่สาธารณะ (แบบที่คนไทยเวลาไปเมืองนอกมักจะทำกัน ตอนอยู่ลอนดอนถ้าได้ยินเสียงคุยกันดังลั่นในรถบัสแว่วๆ ฟังให้ดีจะเป็นภาษาไทย!!! ไม่รู้ทำไม เราคุยเสียงดัง และชอบหัวเราะเผื่อคนที่อยู่ใน vicinity นั้นๆเสมอ สงสัยติดมาจากงานวัด ที่ชอบเปิดโทรโข่ง มัคทายกเรียกญาติโยมมาทำบุญตั้งแต่ตีสี่ ตีห้า ทุกอย่างต้องพูดออกไมโครโฟน)
  10. ญี่ปุ่นเป็นประเทศเมืองหนาว ชุดที่ใส่มักจะมีหลายตัว ซ้อนๆกัน ในอาคารก็จะอุ่นสบาย ซึ่งเราก็จะต้องถอดเสื้อตัวนอกออก การเตรียมชุดพวกนี้เราจะไม่คุ้น ถอดเข้า ถอดออก แขวนๆ ใส่ๆ ตลอดเวลา กับอุปกรณ์ประเภทผ้าพันคอ หมวก ก็มีประโยชน์มาก เพราะเราสูญเสีย heat ทางศีรษะมากที่สุด ห่อเอาไว้ด้วยหมวกจะอุ่นสบาย กับบริเวณคอ ก็อาศัยผ้าพันคอจะสบายมาก ตอนไปครั้งนี้ยังไม่ถึงขนาดต้องใส่ถุงมือ
คำสำคัญ (Tags): #ญี่ปุ่น#ในเมือง
หมายเลขบันทึก: 566418เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2014 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท