ขอเชิญร่วมกิจกรรม " พ่อแม่อย่างเราต้องทำอย่างไรเพื่อลดการใช้ความรุนแรงในสังคม"


 

 

 

 

 

         ปัจจุบันข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่พบเห็นในสื่อต่างๆ นั้น นับวันจะมี

จำนวนมากขึ้น อีกทั้งยังมีรูปแบบที่ซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม

นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ตั้งแต่ในบ้าน ในโรงเรียน ในชุมชน และมีรูปแบบ    

แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การด่าทอ ทุบตี ไปจนถึงการทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บหรือ

ทำร้ายจิตใจให้สูญเสียสุขภาพจิต และจากเหตุการณ์ข่าวลูกฆ่าพ่อแม่และ  น้องชาย จึงเป็นการ

ตอกย้ำถึงความล้มเหลวของสถาบันครอบครัว

 

     

 

      สาเหตุการเกิดปัญหาความรุนแรงในสังคม  ทั้งจากค่านิยมและเจตคติที่ไม่เหมาะสม

เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันของหญิงชาย  ความเจริญด้านวัตถุ  แต่ขาดการพัฒนาด้านจิตใจ  

ความไม่พร้อมมีครอบครัว  การได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความรุนแรง เช่น พ่อแม่ครูทำโทษด้วย

ความรุนแรง  หรือพ่อทุบตีแม่  ปัญหาเศรษฐกิจหรือระบบการศึกษาที่สร้างความกดดันให้กับ      

ผู้เรียน  ทำให้เกิดความเครียดสูง  อิทธิพลของสื่อการนำเสนอภาพ  ข่าวความรุนแรง  หรือการ

ผลิตสื่อที่มีการใช้ความรุนแรง มีอิทธิพลต่อการใช้ความรุนแรง

 

      จะเห็นว่าสาเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่เราสามารถป้องกันหรือสร้างค่านิยมและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับ

การไม่ใช้ความรุนแรงได้โดยเริ่มที่ครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยในสังคมที่สำคัญ   แล้วคุณพ่อคุณแม่ล่ะ

คะคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้กับลูกๆเพื่อลดการใช้ความรุนแรง  

 

เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์และวันครอบครัวที่จะมาถึง

ชุมชนโรงเรียนพ่อแม่จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วม

"แสดงความคิดเห็นลงในบันทึกนี้"หรือ "เขียนบันทึกใหม่"

ในหัวข้อ

 

" พ่อแม่อย่างเราต้องทำอย่างไรเพื่อลดการใช้ความรุนแรงในสังคม"

กรุณาใส่คำสำคัญ " โรงเรียนพ่อแม่"

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมระหว่าง ๑ - ๓๐ เมษายนนี้

ชุมชนโรงเรียนพ่อแม่ขอมอบรางวัลหมอนรองคอ "น้องโอบอุ่น" สำหรับความคิดเห็น

 ในบันทึกนี้ ๕ รางวัล และสำหรับบันทึกใหม่ ๕ รางวัลค่ะ

 

มาร่วมกันสร้างสังคมที่น่าอยู่โดยเริ่มจากครอบครัวกันนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 564958เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2014 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2014 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ผู้เขียนคิดว่า ผู้ปกครองหรือพ่อแม่มีส่วนสำคัญมากในการไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวให้ลูกเห็น

พ่อแม่ต้องเข้าใจกัน

เอาใจเขามาใส่ใจเรา

ชีวิตคู่เหมือนลิ้นกับฟัน มีกระทบกันธรรมดา แต่ต้องไม่ใช้อารมณ์ของตัวเองเป็นใหญ่ครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีค่ะ ให้ลูกๆได้ซึบซับตัวอย่างที่ดีจากพ่อแม่ เริ่มที่จุดเล็กๆ ก็จะช่วยให้สังคมดีได้ค่ะ

ประชาสัมพันธ์ทางหน้าเว็บให้แล้วค่ะ รอผ่านทาง mailing list ด้วยค่ะ

พ่อแม่ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้ลูกดูข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ละครเกินวัย เกมส์สู้รบค่ะ

และที่สำคัญไม่ควรพาลูกไปประท้วงนะคะ เพราะการพูดจารุนแรงในสถานการณ์อย่างนี้มีผลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านจิตใจค่ะ

มาส่งเรื่องเล่าจากประสบการณ์ชีวิตในครอบครัว ที่พ่อ-แม่ ให้ความรักอบอุ่น แก่ลูกๆ..พูดคุยด้วยเหตุผล บ่มเพาะนิสัยอ่อนโยนรักเพื่อนมนุษย์ค่ะ..

http://www.gotoknow.org/posts/497066

พ่อแม่ต้องอย่าเป็นคนชอบตะโกนว่าลูกนะคะ พยายามคุยด้วยเหตุผล และดูจังหวะของลูกอย่าพยายามเอาชนะลูกค่ะ

ในครอบครัวต้องฝึกการใช้เหตุและปิยวาจากันมากขึ้นค่ะ...ที่สำคัญต้องเลี้ยงด้วยใจมิใช่เงินค่ะ

จากประสบการณ์ผมนั้น

พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับลูก ๆ

ปัญหา คือ ถ้าพ่อแม่เคยเป็นคนโมโหร้าย และมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงจะทำอย่างไร ?

จากประสบการณ์
ผมว่า "การปฏิบัติธรรม" (ทาน ศีล สมาธิ)
เปลี่ยนเราจากด้านในอย่างยั่งยืนได้แน่นอนครับ

เลี้ยงด้วยความรักและความเข้าใจ ไม่ใช้ความรุนแรง พูดคุยด้วยเหตุผลและไม่เอาชนะแต่ก็ไม่ตามใจนะครับ เน้นๆคำไหนคำนั้น..

เพิ่มเติม ต้องตั้งใจที่ลูกพูดด้วยนะครับ เขาถามอะไร ต้องตอบทุกคำถามครับ.

พ่อแม่ควรเลี้ยงและฝึกลูกให้เป็นคนมีคุณธรรมที่ดีต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ควรเป็นทั้งพ่อแม่ ครู และเพื่อนของลูก ที่ปรึกษาของลูก

การอยู่ด้วยกันต้องทำความเข้าใจกัน ให้อภัย อย่าคิดหรือคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า ไม่มีใครที่ทำให้ถูกใจเราทั้งหมดแม้แต่ตัวเอง

นอกจากตัวอย่างในครอบครัวแล้ว สื่ก็อเป็นสิ่งปลูกฝังชั้นดีเลยค่ะ จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยชอบชวนพี่ที่บ้านเล่นต่อสู้ เพื่อนผู้ชายที่โรงเรียนก็เลียนแบบละครแนวต่อสู้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การควบคุมสื่อทั้งหลาย ทั้งจากละคร เกมส์ หนังสือการ์ตูน หรือบางทีแม้แต่ข่าว อาชญากรรม ซึ่งในเรื่องของข่าวควรมีการสอนด้วยขณะดู เพื่อให้รู้เท่าทันภัยสังคมค่ะ และไม่เลียนแบบสิ่งผิดค่ะ

ครอบครัวคือพื้นฐานที่กล่อมกลาลูกได้ดีที่สุด เขาจะเชื่อเรา เลียนแบบเรา เป็นคนแรกๆ...

ความรัก ความสุข ความอบอุ่นของครอบครัวเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายที่สุดและสร้างได้ง่ายที่สุด ของคนในครอบครัว...

แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่ครอบครัวจะไม่มีปัญหา ไม่มีอารมณ์ ในการตัดสินใจในแต่บริบทนั้นๆ

อยู่ที่ว่าเราจะระงับ หยุดอารมณ์ อันจะสื่อไปในทางอันรุนแรงได้อย่างไร

ทุกคนมีความรักต่อครอบครัว แต่ทุกคนมีสติในการแสดงความรักได้มากน้อยแค่ไหน

.........

ขอให้ทุกคนมีความสุขความอบอุ่นในครอบครัวครับ

.........

ขอบคุณกิจกรรมดีๆครับ

พูด ว่ากล่าว หรือสอนด้วยคำนับพัน ไม่ได้ผลเท่ากับทำให้เห็นและเป็นให้ดูค่ะ

สวัสดีครับพี่ๆ ทุกคน ปัญหาครอบครัวหรือปัญหาสังคมนั้น ถ้าเรามองแบบง่ายๆ ก็คือ บริบทหรือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ถ้าเราสามารถหยุดสิ่งที่รอบตัวเราได้ ปัญหาก็ไม่เกิดนะครับ ถามว่าในความเป็นจริง มันเกิดขึ้นได้ไหม?? ต้องตอบว่าไม่ได้ มองเข้าไปที่ครอบครัว แต่ละคนในครอบครัวเราเช้าขึ้นมาก็เเยกย้ายกันไปทำตามหน้าที่ตลอดทั้งวัน // ตกเย็นก็กลับมาบ้าน อาจมีบางคนไปเจอสิ่งใหม่ๆก็นำเอาสิ่งนั้นมาคบคิดหรือนำมาปฏิบัติ บางสิ่งที่คนในครอบครัวชอบก็บอกว่าดี ถ้าไม่ชอบสิ่งที่คนในครอบครัวทำก็เกิดเป็นปัญหาตามมาได้.... ผมมองว่าควรเริ่มลดปัญหาจากตัวเราก่อนนะครับ เพราะว่าการที่เราทำดีบางอย่างไม่ใช่ว่า เราจะไม่เป็นปัญหานะครับ อาจเป็นปัญหากับอีกคนก็ได้?? เรื่องนี้จริงๆเป็นเรื่องใหญ่มากครับ เพราะบริบทของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สิ่งนี้อาจใช้ได้กับคนกลุ่มนี้ และอาจไม่ได้กับอีกกลุ่ม!!

ขอบคุณกับกิจกรรมดีๆๆนะครับ

Why don't babies come with a handbook (How To Look After Me) and a warranty ('Fit For A Purpose')?

What more is that babies are different and changing from moment to moment and not necessarily changing to be like or to act like their parents...

Good luck! (I had mine 'goodluck')

พ่อแม่ต้องเป็ิ่นทั้งตัวอย่าง ต้นแบบ ญาติพี่น้องคนรอบข้าง ที่สำคัญสื่อละคร ส่วนใหญ่เน้นความรุนแรง การแย่งสามี การใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม เด็ก เยาวชน บางทีก็ผู้ใหญ่ เลียนแบบเพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้และได้รับการยอมรับ แม้ครอบครัวจะป้องกันความรุนแรงดีขนาดไหน แต่สังคมมีแต่ความรุนแรงอย่างทุกวันนี้  คงเป็นได้แค่ความฝัน...

อยากให้ลูกเป็นอย่างไรต้องทำตัวอย่างให้เห็น ดังนั้น พ่อแม่ควร

๑. ทำตนเองให้เป็นแบบอย่าง การใช้อารมณ์แก้ปัญหาจะเป็นการบ่มเพาะความรุนแรงในตัวลูก แม้คุณจะไม่แสดงพฤติกรรมนั้นกับลูกของคุณก็ตาม เพราะสิ่งที่เขาเห็นย่อมอยู่ในความทรงจำมากกว่าสิ่งที่เขาได้ยิน (สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทำ)

๒. คัดเลือกสังคมที่ดีให้กับลูก ตรวจสอบสถานที่ที่อยู่อาศัย หากเลือกไม่ได้ต้องคอยสอดส่อง ระมัดระวังภัยที่จะเกิดกับลูก แต่ไม่ใช่ควบคุม จำกัดไม่ให้ลูกออกไปไหน คัดเลือกโรงเรียนที่ดี คือ ครูดูแลลูกใกล้ชิด ไม่ใช่เอาลูกไปทิ้งไว้ที่โรงเรียนปล่อยให้ครูดูแล เพราะครูไม่ได้ดูแลเท่าใดหรอก เพื่อนเขาต่างหาก

๓. คัดเลือกสื่อที่ดีให้กับลูก แต่ไม่ใช่สรรหาสื่อมาแล้วกองไว้กับลูก หากแต่นั่งพิจารณาสื่อนั้นกับลูก หากสื่อมีความล่อแหลมก็ชี้แจงให้ลูกเข้าใจ

ู๔. ทั้งหมทั้งมวลจะเกิดไม่ได้ ถ้าพ่อแม่ไม่หา เวลา  ให้กับลูก แต่เชื่อเถอะว่า เวลาที่เราเสียไป จะให้ผลที่ดีกลับมา คือ ลูกที่ดีของเรา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท