KM วันละคำ : ๖๒๖. ใช้ KM ทำงานราชการ


 

          วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗ ผมไปพบ KM ของแท้ที่ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง    คุณอรุณี นวลศรี เจ้าหน้าที่ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดระนอง เข้ามาทักทาย เพราะใช้หนังสือ KM โมเดลปลาทู  

          เธอเล่าว่าเธอมีหน้าที่ไปพบปะชาวบ้าน ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ เกษตรกร    แทนที่เธอจะไปให้คำแนะนำ ก็จะเอาเรื่องราวประสบการณ์ของกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งไปเล่าให้ ชาวบ้านฟัง    และอาจแนะนำให้กลุ่มเกษตรกรไปดูงานกันเอง    เสียดายที่มัวยุ่งๆ ไม่มีโอกาสถามว่าเธอแนะนำ ให้เกษตรกรใช้ peer assist ในการดูงานหรือไม่

          ข้าราชการในวงการเกษตร เป็นอีกวงการหนึ่งที่เอา KM ไปใช้เก่ง    น่าจะเป็นเพราะสมัยผมทำ สคส. กรมส่งเสริมการเกษตรเข้ามาร่วมกันพัฒนา KM กับทีมผมอย่างแข็งขัน   ที่จำได้มี คุณธุวนันท์ พานิชโยทัย   คุณวีรยุทธ สมป่าสัก    คุณศิริวรรณ หวังดี   คุณนันทา ติงสมบัติยุทธ เป็นต้น

          เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม    เกษตรกรชาวบ้านจึงสั่งสมความรู้ในการทำมาหากินไว้ มากมาย   ทั้งที่ยังใช้ได้ดี และที่ล้าสมัยไปแล้ว    หรือที่หากนำมาปรับปรุงนิดๆ หน่อยๆ ก็จะใช้การได้ดี    หากนักวิชาการ และนักส่งเสริมการเกษตร เข้าใจหลักการ KM    รู้จักเคารพและให้คุณค่าความรู้ในคน (Tacit Knowledge) อย่างถูกต้อง    การทำงานส่งเสริมการเกษตร ก็จะทำง่าย    และได้ไมตรีจากชาวบ้านอย่างมากมาย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ มี.ค. ๕๗

 

หมายเลขบันทึก: 564332เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2014 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2014 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท