จะเครียดไปใย O-net ไม่ใช่เครื่องมือวัดความสุข


 

จะเครียดไปใย O-net ไม่ใช่เครื่องมือวัดความสุข

       ช่วงนี้มีเพื่อนครูหลายคน มาบ่นให้ฟังถึงผลสอบ o-net ที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ของนักเรียน ให้ฟัง ให้นึกสงสัย ก็เลยสนใจดูบ้าง อืมมม์ จากตารางดูแล้วให้น่าคิด คะแนนสูงสุดเป็นร้อย ต่ำสุดได้ศูนย์ มีหมวดเดียวที่ไม่ถึงร้อย คือสังคมศาสนา วัฒนธรรม แถมฐานนิยม ก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดินจริง อุยยยยย์ เกิดไรขึ้น
       เอ้าอย่างชลัญนั้นอย่ากรู้ มีหรือจะอยู่เฉย จบพยาบาลมาด้วยเกียรตินิยมอันดับสอง (โม้นิดสสส์) ลองซิประสาข้อสอบ ป. 6 จิ๊บๆ download ข้อสอบปี 53 มานั่งทำเล่นๆ จ๊ากเป็นจริงดังนั้นแล คะแนนก็อยู่แถวๆ ฐานนิยมนั่นแหล่ะ ตายล่ะหว่าจะเอาปัญญาที่ไหนสอนหมวยน้อยว่ะนี่ สงสัยต้องลงทะเบียนเรียน กศน. ให้จบ ป. 6 ใหม่ เดียวไม่ทันการ หมวยน้อยกำลังจะเข้า ป. 1 บัดเดี๋ยวเสียชื่อเกียรตินิยมแม่หมด 5555 คิดเล่นๆ
       จริงแล้วทำให้คิดได้ว่า ก็ที่บอกว่า การเรียนการสอนนั้นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศน่ะไม่จริง เด็กในเมือง ชั้นเดียวกันกับเด็กบ้านนอกเรียนเอาเป็นเอาตาย มีเรียนพิเศษทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ เสาร์อาทิตย์ก็ไม่เว้น เติมเต็มด้วยดนตรี บัลเลย์ เทควันโด้ ฯลฯ ก็ว่ากันไป เด็กบ้านนอกหรือตกเย็นวิ่งเล่นสนุกสนาน หากถามว่า เล่นตี๋จับยังไงจะชนะ บ๊ะเด็กบานนอกบอกถูกชัวร์ อิ อิ อิ แต่หากจะมาถามว่าเส้นทางไปเซนทรัลเวิลด์ ทางไหนใกล้สุด นี่ไปไจากแผนที่ ที่ให้มา เชื่อแน่ว่า เด็กบ้านนอก 10 คนตอบถูกไม่เกิน 2 เป็นแน่ ส่วนเด็กในเมือง น่าจะผิดสัก สองคือเด็ก Mental retradation (ปัญญาอ่อน) กับเด็กสมาธิสั้น เท่านั้นมั๊ง
แล้วคิดดูทั่วประเทศ นั้นมันจะมีเด็กในเมือง มากกว่าเด็กบ้านนอกไปได้อย่างไร คะแนนที่ออกมามันก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน โดยไม่ต้องสงสัย ในเมื่อเรายังไม่สามารถทำให้คุณภาพการศึกษามันเท่าเทียมกันได้จริงๆ ทั้งประเทศ ก็จงอย่าไปเครียด กับ ผลสอบประเมินในภาพรวมเลย


     

 หันมามองดูเด็กของเราที่เราดูแลดีมั๊ย หมวยน้อย เรียนอนุบาลเอกชน 3 ปี 2ชั้น อนุบาลรัฐอีก 1 ปี ไม่เคยมีผลสอบได้ที่ เพิ่งมีปีที่มาเรียนของรัฐนี่แหล่ะ เพราะที่ผ่านมาเขาไม่รู้จะจัดที่เท่าไหร่ให้ เขาก็เลยจัดแค่ 1-3 แต่หมวยน้อยไม่อยู่ในเกณฑ์นี้ ครูคงกลัวพ่อแม่เศร้าใจ แต่ไม่ใช่ชลัญธรแน่ มาเรียนอนุบาล รพ.รัฐปีสุดท้าย ครูจัดอันดับมา ที่ 9 ได้ 89 % ลำดับที่แม่ไม่สนใจ แต่ % น้องใช้ได้ ไม่เห็นต้องไปแข่งกับใคร วัดที่ตัวของน้องเองดีกว่า ฉันเชื่อว่า หมวยน้อย นั้น เก่ง ดี และมีความสุข แน่นนอน เก่งในความหมายของฉันคือ เก่งที่จะอยู่ ปรับตัว เรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้องใช้ ป๊า กับแม่นำทาง ดี หมายถึง เป็นคนดี ทำหน้าที่ที่เหมาะสมกับวัยของตัวเองได้อย่างดี ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ สุดท้ายความสุขจะไปไหนเสีย นี่แหล่ะ ที่ฉันต้องการ

ชลัญ

หมายเลขบันทึก: 564327เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2014 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2014 05:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หมวยน้อย น่ารักนะครับ แค่วิ่งผลัดรับไม้ยกมือไหว้ ก็น่าจะรับประกันความสุขให้แม่ ชลัญ ได้แล้ว จริงมัีย 555

น่ารักจังนางฟ้าตัวน้อย...ฝากหอมด้วยครับ

มุมมองของน้องโจ้มาถูกทางแล้วค่ะ พี่โอ๋ช่วยยืนยัน สามหนุ่มของพี่โอ๋ก็ไม่เคยสนใจเรื่องพวกนี้ ขอให้เขาเรียนรู้อย่างมีความสุข ชีวิตเขาเป็นไปได้ดีแน่นอนค่ะ ไม่ต้องเอามาตรฐานสังคมที่เราไม่เห็นด้วยมากดดันลูกโดยไม่จำเป็น

การศึกษามัวเอาแต่แข่งขันกันจนเด็กๆ ไม่รู้จักชีวิตแล้วกระมังค่ะ เรียนกันอย่างเดียวตั้งแต่เช้าจนดึกตั้งแต่ประถม

ปล. หน้าแรก GotoKnow ปรับใหม่แล้วนะคะ ใหม่! ส่วนตั๊ว ส่วนตัว กับหน้าแรกของ GotoKnow

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท