ปัญหาการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น


 วัยรุ่นเป็นวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ การเปลี่ยนแปลงระหว่างวัยถือเป็นช่วงสำคัญที่สุดเนื่องจากอนาคตของวัยรุ่นจะเป็นอย่างไร จะเริ่มจากสิ่งที่เขาได้รับในวัยนี้ สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวมีอิทธิพลมาก เพราะจะทำให้พวกเขาซึมซับในสิ่งที่สังคมนั้นๆ กระทำ หากสังคมที่เขาอยู่เป็นสังคมที่ดีถือเป็นโชคดีของพวกเขา แต่ถ้าอยู่ในสังคมที่ไม่ดีเขาก็จะได้รับและซึมซับพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นไปด้วย

ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวันซึ่งบ้างก็มีทั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่เป็นข่าว ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เพื่อลดและป้องกันทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีการเขียนคำท้าทาย หรือประกาศว่าจะยึดสัญลักษณ์ เช่น หัวเข็มขัด ของสถาบันฝ่ายตรงข้ามให้ได้ รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ “เด็ดหัว” นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งในช่วงที่ใกล้วันสถาปนาของแต่ละสถาบันการทำสงครามทางอินเตอร์เน็ตยิ่งรุนแรง และน่าเป็นห่วง ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้นยังเข้าไปถึงการทะเลาะวิวาทกันข้ามสถาบันอีกด้วย การทะเลาะวิวาท ปะทะ ต่อสู้ เพื่อ "ศักดิ์ศรีสถาบัน" ของ "นักศึกษาอาชีวะ" ได้กลายเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ยากจะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องแก้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่สังคม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียและทำลายความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็น "เสาหลัก" ของการผลิตทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน เมื่อถามถึงต้นแบบของความรุนแรง ที่วัยรุ่นมักนิยมทำตามนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะพอชี้ให้เห็นได้ว่ามาจากที่ใด เรื่องราวที่กล่าวมาในบางเป็นเรื่องก็เป็นเรื่องที่ วัยรุ่นมักนำมาเป็นข้ออ้างในการแสดงพฤติกรรมในทางลบ เพื่อให้ตนได้ทำในสิ่งที่เห็นมาจากต้นแบบ ซึ่งล้วนเป็นต้นแบบชั้นเลว ที่สามารถพบเห็นได้อย่างแพร่หลาย เช่น การทำลายข้าวของตามภาพยนตร์ที่ตนเคยดูมา การใช้ยาเสพติดตามอย่างพระเอกในโทรทัศน์บางเรื่องที่พ่อแม่แยกทางกัน หรือการทำร้ายตัวเองเหมือนมิวสิควีดีโอ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นดูจะเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะสื่อในปัจจุบันมีความแพร่หลายเป็นอย่างมากทำให้การรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ทำได้ไม่ยาก การที่วัยรุ่นไม่สามารถแยกแยะความเป็นจริงกับจินตนาการได้นั้นอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตัววัยรุ่นเองและอาจลุกลามเป็นปัญหาของสังคมได้ เพราะหากวัยรุ่นนำจินตนาการเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตจริงคงจะไม่ต้องพูดก็ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น การตั้งกลุ่มก่อกวนสังคมเพื่อให้ทุกคนรู้จักเหมือนในละครโทรทัศน์ เสพยาเสพติดเพื่อให้ครอบครัวที่แตกแยกกลับมาคืนดีเหมือนเดิม ดูจะเป็นเรื่องที่เสี่ยงจนเกินไปกับการเดินตามจินตนาการเหล่านั้น เพราะฉากจบในชีวิตจริงอาจไม่สดใสเหมือนละคร ปัญหาเรื่องความเครียดในวัยรุ่นจะหมดไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับตัวของเขาเหล่านั้นเอง หาใช่จะรอให้คนอื่นเข้ามาช่วยแก้ไขหรือมัวแต่ทำร้ายตัวเองเพื่อให้คนรอบข้างสนใจ จึงอยากให้วัยรุ่นทั้งหลายลองมองที่ตนเองดูก่อนว่าความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นแท้จริงเป็นเพราะใคร ใช่ตนหรือเปล่าที่เป็นคนสร้างปัญหาต่างๆขึ้นมารุมเร้าตัวเอง อย่ามัวแต่คิดที่จะเฝ้าโทษแต่คนอื่นหรือสิ่งรอบตัวโดยที่ตนไม่คิดจะแก้ไขด้วยตนเองคงจะน่าเศร้าใจไม่น้อย หากวัยรุ่นในปัจจุบันขาดสติและปัญญาในการแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต แต่คิดที่ใช้กำลังหรือมัวเมากับสิ่งเลวทรามต่างๆที่มีอยู่เพียงเพื่อให้ลืมเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น หากจะพิจารณาในเรื่องที่วัยรุ่นแสดงออกเมื่อเกิดความเครียดน่าจะเป็นอีกเรื่องที่ควรจะกล่าวถึง เพราะ วัยรุ่นในปัจจุบันมักแสดงออกในเรื่องของความรุนแรงหรือ มักแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรงและยาเสพติดมากกว่าใช้สติ จะเห็นได้จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไปที่มักลงข่าววัยรุ่นใช้กำลังในการตัดสินปัญหาต่างๆหรือการเสพยาเสพติดและผลที่ตามมาคือ วัยรุ่นเหล่านั้นมักจะก่อความวุ่นวายหรือปัญหาต่างๆมากมายให้กับสังคมและผู้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรมที่นับวันจะมีสาเหตุมาจากวัยรุ่นเป็นผู้ก่อเรื่องมากขึ้นทุกวัน การแพร่กระจายของยาเสพติดที่ระบาดหนักในวัยรุ่นจนกลายเป็นปัญหาระดับชาติในปัจจุบัน สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเสมือนกระจกสะท้อนภาพความตกต่ำทางความคิดของวัยรุ่นในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

การใช้ความรุนแรงจึงกลายเป็นทางออกที่ได้รับความนิยมสำหรับวัยรุ่น เพราะทำให้สะใจและเห็นผลได้เร็ว โดยทั่วไปแล้วการใช้ความรุนแรงเป็นทางออกของคนป่าเถื่อน ด้อยการศึกษาซึ่งทุกคนก็เห็นด้วยและมักจะพูดกันบ่อยๆ ว่า คนที่มีการศึกษาจะใช้ความคิดมากกว่ากำลัง ตัวอย่างที่ยกมาก็เป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ ทำให้กลุ่มวัยรุ่นที่เป็นคนในวัยดังกล่าวกลับไปสู่การกระทำของคนที่ไร้ความอดทนและการยับยั้งชั่งใจ ปัญหานี้จึงไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของกลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น แต่เพราะการขาดความรักความเอาใจใส่จากครอบครัว เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเวลาอบรม สั่งสอนลูกๆเพราะต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อหาเงินมาให้เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน วัยรุ่นจึงหันไปพึ่งยาเสพติด เพราะหลงเชื่อว่าเป็นทางออกที่ดีที่ทำให้ลืมความทุกข์ซึ่งตนและครอบครัวประสบอยู่และส่งผลทำให้ไม่สามารถควบคุมสติจนบางครั้งเกิดการทะเลาะวิวาท

นอกจากจะเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัย และนักศึกษาอาชีวะในการเสนอความคิดเห็น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของ "ต้นตอสำคัญของปัญหา" ซึ่งได้แก่ ความคิดที่ว่าการทะเลาะวิวาทเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีระหว่างสถาบันเป็นการแสดงออกถึงความเป็นที่ 1 และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมา ซึ่งความคิดดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง ทั้ง "ปัจจัยภายใน" และ "ปัจจัยภายนอก" [1] อันเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว
"ปัจจัยภายใน" หรือด้านจิตวิทยาของวัยรุ่นนั้น เป็นการสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแรงขับเคลื่อนภายใน หรือความต้องการของวัยรุ่นซึ่งแตกต่างจากวัยอื่นๆ เช่น ความต้องการอิสระ ความเป็นตัวของตนเอง การเป็นที่ยอมรับ มีความสนใจกิจกรรมที่ทำเป็นกลุ่ม การมีประสบการณ์แปลกใหม่ และท้าทาย ฯลฯ ซึ่งความต้องการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของวัยรุ่น ส่วน "ปัจจัยภายนอก" หรือด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัว เพื่อน ชั้นสังคม และวัฒนธรรมกลุ่มย่อย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดคงหนีไม่พ้น เพื่อน เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่านิยมในการแสดงออก (Expressive values) ทัศนคติ (Attitudes) และพฤติกรรมที่ของกลุ่มวัยรุ่นอย่างมาก เนื่องจากวัยรุ่นต้องการความเป็นที่ยอมรับ เป็นผู้นำ และเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อน

สาเหตุการทะเลาะวิวาทวัยรุ่น

เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน การเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น มีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นอาทิ เช่น

ทิวา วงศ์ธนาภา (2539) ได้กล่าวถึงเงื่อนไขของการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายดังนี้คือ

1) เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน

2) เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ

3) เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น

4) เกิดจากเทศกาล

5) เกิดจากประเพณีและพิธีกรรม เช่น เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น

6) เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี

ทั้ง 6 ประเด็นเมื่อเกิดขึ้นแล้วส่วนใหญ่ก็จะจางไป แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น

สุภาพันธ์ รื่นสำราญ (2525) ได้ศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทและแสวงหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ตลอดจนแนวทางพัฒนาจิตใจ พบว่า สาเหตุจากความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ ในด้านการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทนั้น ต้องสร้างความรักความเข้าใจในครอบครัว ส่งเสริมให้เกิดการขัดเกลาทางสังคมที่ดี บิดา-มารดาต้องปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นตัวแบบให้กับวัยรุ่นเกี่ยวกับ การทำงานและการเข้าสังคม เป็นต้น

เตือนใจ ชาลี (2539) ให้คำอธิบายปรากฏการณ์ของการทะเลาะวิวาทโดยพิจารณากระบวนการทางสังคมที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดขึ้น และดำรงอยู่ของปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท กระบวนการในการสร้างโลกทัศน์ การให้เหตุผลและความหมายของการกระทำของนักเรียนอาชีวะ เป็นการศึกษาในแนวสังคมวิทยา ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจในบริบททางสังคม วัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดรูปการจิตสำนึกแบบนักเรียนอาชีวะ คำอธิบายดังกล่าว เห็นว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทไม่ใช่ในปัญหาในระดับปัจเจกเท่านั้น แต่เป็นความรู้สึกนึกคิดในเชิงสถาบัน ซึ่งมีกระบวนการสร้างหรือหล่อหลอมจนถึงขั้นครอบงำ เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการปติสังสรรค์ในสังคมอาชีวะ ที่ได้สร้างอัตตะหรืออัตตลักษณ์ของตนเอง มีกลุ่มอ้างอิงที่เป็นตัวกำหนดมาตรฐาน ของความถูกต้อง ความใช้ได้ คือ ระบบรุ่นพี่รุ่นน้องที่มีพัฒนาการมายาวนาน ในโลกของอาชีวะ

นอกจากนี้มีการศึกษาสาเหตุและเบื้องหลังของสาเหตุในการทำให้เกิดปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนอาชีวะแล้ว ยังมีงานที่ได้ศึกษาถึงมาตรการต่างๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู และสะท้อนความคิดในการวิเคราะห์เหตุปัจจัย ของการทะเลาะวิวาทด้วย การศึกษาที่มีอยู่ เป็นการดูว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ที่ปฏิบัติงาน นักศึกษา มีทัศนะต่อการวิเคราะห์สาเหตุ และต่อมาตรการอย่างไร เหมือน หรือ ต่างกันหรือไม่ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบว่า ครู อาจารย์ สารวัตรนักเรียน นักศึกษา และตำรวจ มีความเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีความสำคัญตามลำดับคือ

1) การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร

2) การประสานงานและความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3) ความพร้อมในการปฏิบัติงานของหน่วยงานสถานศึกษาในด้านบุคคลากรและอุปกรณ์ประกอบการทำงาน

4) บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ และ

5) มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

วัชรพันธ์ ประดิษฐ์พงษ์ (2544) ศึกษาการก่อเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายของนักเรียนในเขตพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 พบว่า นักเรียนที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายส่วนใหญ่อายุ 15 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด บิดามาดามีอาชีพค้าขายทำให้เด็กมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 2,000 – 4,000 บาท/เดือน ในระบบครอบครัวพบว่า บิดา-มาดารักลูกไม่เท่ากัน กลุ่มเพื่อนสนิทที่ร่วมกระทำการจะมีฐานะทางครอบครัวที่ใกล้เคียงกัน มีเพื่อนเป็นที่ปรึกษาหลักเมื่อมีปัญหา สาเหตุการก่อเหตุทะเลาะวิวาทส่วนใหญ่เนื่องจากความขัดแย้งต่อเนื่องของคู่อริ การใช้เวลาว่างไม่ถูกวิธี และการคบหาเพื่อนที่เคยก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาก่อน

นอกจากนี้มีการศึกษาสาเหตุและเบื้องหลังของสาเหตุในการทำให้เกิดปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนอาชีวะแล้ว ยังมีงานที่ได้ศึกษาถึงมาตรการต่างๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู และสะท้อนความคิดในการวิเคราะห์เหตุปัจจัย ของการทะเลาะวิวาทด้วย การศึกษาที่มีอยู่ เป็นการดูว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ที่ปฏิบัติงาน นักศึกษา มีทัศนะต่อการวิเคราะห์สาเหตุ และต่อมาตรการอย่างไร เหมือน หรือ ต่างกันหรือไม่ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบว่า ครู อาจารย์ สารวัตรนักเรียน นักศึกษา และตำรวจ มีความเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีความสำคัญตามลำดับคือ

1. เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท

2. เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน

3. เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ

4. เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น กิจกรรมการรับน้อง ค่านิยม ประเพณี พิธีกรรม ระบบสัญลักษณ์ รวมทั้งกระบวนการสังสรรค์ของบุคคลในสังคม ทำให้เกิดแบบแผนพฤติกรรมความรุนแรง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท คือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน การให้ความหมายและการตีความ และความรู้สึกแห่งศักดิ์ศรีโดยวัฒนธรรมความรุนแรงของสังคมเหล่านี้ ทำให้บุคคลเกิดโลกทัศน์และกระบวนการให้เหตุผลต่อพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ในลักษณะที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมนักเรียนอาชีวะ และมีความสมเหตุสมผลตามกลุ่มอ้างอิง จึงมีพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาโดยต่อเนื่อง

5. เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ

6. เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ใจร้อน และขาดสติ เป็นความแค้นส่วนตัว ไม่ชอบหน้ากัน และไม่ถูกกัน เกิดจากการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จากเรื่องชู้สาว และมาพัวพันกับเพื่อนผู้หญิงในสถาบัน เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น

7. ปัญหาที่มาจากครอบครัวซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้วัยรุ่นเครียด ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนก็จริง แต่การจะเฝ้าโทษคนในครอบครัวว่าสร้างปัญหามาให้ตนแบกรับแล้วตนก็ทำตัวให้เป็นปัญหาตามไปด้วย เช่นปัญหาในครอบครัวที่พ่อแม่แยกทางกันที่มักจะพบเห็นได้ง่าย วัยรุ่นที่ครอบครัวแตกแยกมักทำตนให้เป็นที่สนใจซึ่งส่วนใหญ่จะหนีไม่พ้นเรื่องของยาเสพติดหรือการเป็นอันธพาล ทั้งที่ในความเป็นจริงการกระทำเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ครอบครัวกลับมาสมบูรณ์ได้และก็ไม่เห็นว่าจะใช่ทางออกที่ควรเท่าไร การทำตนให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่ควรทำไม่สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นคงจะเป็นเรื่องที่ควรทำมากกว่าในการช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้น

8. สาเหตุอีกเรื่องที่มักสร้างความเครียดให้วัยรุ่นเป็นอย่างมากคงหนีไม่พ้นเรื่องเพื่อน ซึ่งไม่สามรถปฏิเสธได้ว่าในวัยดังกล่าวเพื่อนมีอิทธิพลมากกับชีวิตวัยรุ่นไม่ว่าจะในยุคสมัยใด การทุ่มเทให้ความสำคัญกับเพื่อนมากเกินไปจนบางครั้งตนขาดความเป็นตัวของตัวเองไปจนมีความคิดที่ว่าหากไม่มีเพื่อนตนก็ไม่สามารถทำอะไรต่างๆด้วยตัวเองได้ อย่างในกรณีที่วัยรุ่นทะเลาะกับเพื่อนจนเกิดความน้อยใจและตัดสินปัญหาโดยการทำร้ายตัวเองเพื่อให้เพื่อนกลับมาสนใจตน ความรักและบูชาเพื่อนอย่างขาดสติของวัยรุ่นในบางครั้งก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมได้เช่นกันที่เห็นกันมากก็คงจะไม่พ้นเรื่องการยกพวกทะเลาะวิวาทกัน ซึ่งในบางกรณีก็อาจเกิดจากการต้องการให้เพื่อนยอมรับในตนเอง จึงต้องแสดงออกในเรื่องของการใช้กำลังเพราะคิดว่าเป็นวิธีที่เพื่อนจะยอมรับตนได้ง่ายที่สุด

แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น

ผลกระทบต่อสังคม

การทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่สะท้อนสภาพการณ์ให้เห็นว่าสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ความคิด ความเชื่อและค่านิยมของเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพสังคม แบบไทยๆที่มีต้นแบบของผู้ใหญ่ ซึ่งมีลักษณะของการเอื้ออาทร มีความเมตตากรุณาต่อกันแต่มาถึงปัจจุบัน ต้นแบบของสังคมที่ดี โดยผู้ใหญ่บางคนประพฤติ ปฎิบัติตนไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการแสดงออกซึ่งความรุนแรงหรือตัวอย่างที่เยวาวชนได้รับจากสื่อต่างๆ เช่นโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต เกมส์ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เยาวชนบางกลุ่ม เอาอย่างจนส่งผลต่อการใช้ความรุนแรงในสังคมและการทะเลาะวิวาทมาอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นเมื่อผู้ใหญ่มองว่า วัยรุ่นไทยกำลังหาทางออกต่อปัญหาโดยใช้ความรุนแรงแล้ว ลองมองย้อนกลับไปหาบรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายว่า แท้จริงแล้วตัวเองนั้นเป็นตัวอย่างให้กับกลุ่มวัยรุ่นที่เลือกใช้ความรุนแรงมากกว่าใช้สันติวิธีหรือไม่ การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในหมู่วัยรุ่นนั้นคงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เพราะการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุนั้นเป็นเรื่องยากที่ปัญหาจะจบสิ้น ทุกคนต้องมีความนึกคิดที่จะไม่ใช้ความรุนแรงทั้งการกระทำและคำพูดการแก้ไขปัญหาทุกอย่างควรเริ่มจากการสนทนา พูดคุยกัน เพราะหากมัวนิ่งเฉยคงไม่มีทางแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงที่รุมเร้าประเทศไทยในปัจจุบันได้ [2] สังคมจึงต้องอบรมวัฒนธรรมหรือแนะนำสมาชิกใหม่ให้รู้จักกฎเกณฑ์กำหนดพฤติกรรมทางสังคม เพื่อให้สมาชิกได้รู้บทบาทและหน้าที่ของตนในสังคมและอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข แต่ในปัจจุบันที่เราเห็นมีแบบอย่างที่ไม่ดีให้วัยรุ่นเห็นโดยเฉพาะเรื่องการใช้ความรุนแรง นำไปสู่การยกพวกทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมคือ

1. เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง เพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยคือ คนที่โดนลูกหลงนั่นเอง ซึ่งเราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่เสมอว่า คนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมักจะได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนอนให้น้ำเกลือเป็นเดือนๆ บางรายถึงกับต้องเสียชีวิตไปเปล่าๆจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้แล

2. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นกลุ่มที่มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่านักเรียนอาชีวะทั่วไป คือ มองภาพพจน์ตัวเองต่ำ รู้สึกมีปมด้อย ขาดการยอมรับจากสังคม และมีความวิตกกังวล และกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3. ก่อให้เกิดอาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่อง เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้ “โชว์พาว” ข่มขู่เด็กอื่นๆ

4. เป็นเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและใหญ่โตระดับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแต่เพียงตัวปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น เหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ปัญหาด้านชีววิทยา / จิตวิทยาวัยรุ่น ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระบบการศึกษา อิทธิพลจากสื่อและโฆษณา ปัญหาบริโภคนิยม

5. เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น

หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษา หรือ มีการก่อเหตุทำร้ายกันของนักเรียนอาชีวศึกษาเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ สังคมหรือผู้รับผิดชอบก็มักจะมาออกมาแสดงความคิดเห็น หรือกระตือรือร้นกันพักหนึ่ง มีมาตรการในการป้องกันการแก้ไข และการฟื้นฟู มากมาย แต่ขาดการปฏิบัติ ติดตาม ประเมินผล อย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาอย่างได้ผล และอาจจะมีมายาคติ(myth.)
เช่น การทะเลาะวิวาทเพราะมีหัวโจก นักเรียนมีนิสัยเกเร นักเรียนขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว เพราะนักเรียนรักเพื่อน นักเรียนอ้างศักดิ์ศรี นักเรียนขาดระเบียบวินัย เด็กมีเวลาว่างมาก ปัญหาการทะเลาะวิวาทเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ และมักจะเห็นคำตอบของวิธีการแก้ไขสำเร็จรูป เช่น ต้องลงโทษให้เข็ดหลาบ ให้ใส่เครื่องแบบเหมือนกัน ให้ไปฝึกวินัยในค่ายทหาร ให้เรียนวิชาทหารมากขึ้น เอาหัวโจกไปเข้าค่ายร่วมกัน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรตระหนักถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ชอบใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา เพราะได้รับตัวอย่างที่ไม่ดีจากครอบครัวและคนรอบข้าง บางคนเห็นพ่อแม่ทะเลาะกันอย่างรุนแรง ทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำจนกลายเป็นความเก็บกดและแสดงออกมาเหมือนกับที่เห็นตัวอย่าง วัยรุ่นบางคนใช้ความรุนแรงเพราะความเคยชินจากการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ออนไลน์ ซึ่งอยากลองกระทำเหมือนกับในเกมส์นั้นว่าจะมีความรู้สึกเช่นไร ปัญหาการใช้ความรุนแรงใช่ว่าจะมีเพียงกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำ เด็กๆ หลายคนนิยมใช้ความรุนแรงมากกว่าใช้ความคิดเช่นเดียวกัน

โดยหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่

1. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

2. กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดมาตรการป้องกันที่เป็นรูปธรรม และมีผลปฎิบัติอย่างขัดเจนและต่อเนื่องจริงจัง ไม่แก้ปัญหาแบบวัวหายล้อมคอก สถาบันการศึกษาหรือกลุ่มวิชาต้องส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างจิตสำนึกการรู้รักสามัคคี สร้างภูมิคุ้มกันตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลงโทษนักศึกษาและสถาบันการศึกษาอย่างเด็ดขาด นำนักศึกษากลุ่มเสี่ยงเข้ารับการบำบัดสร้างเสริมกิจกรรมโดยใช้หลักธรรม คำสอนของศาสนา และผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ เป็นต้น

3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

4. สถาบันการศึกษา สถานศึกษาต้องให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท

5. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ

มาตรการสำคัญ คือการจะร่วมกับทางสถาบัน นำนักศึกษาที่เป็นหัวโจกมาละลายพฤติกรรม พร้อมระบุสาเหตุหลักที่เด็กทะเลาะวิวาทกันรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิต เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสถานศึกษา และตำรวจในพื้นที่รับผิดชอบของตน คอยสอดส่องดูแลกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา เพื่อหาทางแก้ไขและลดปัญหาการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ทั้งการขอความร่วมมือจากทางผุ้ปกครองคอดสอดส่งอดูแลบุตรหลานของตนไม่ให้เข้าไปอยุ่กับกลุ่มเสี่ยงที่จะก่อเหตุทะเลาะวิวาททางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำหนดแผนป้องกัน และระงับเหตุนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานศึกษาที่มีนักเรียนก่อเหตุบ่อยครั้ง หรือกลุ่มนักเรียนที่มีแนวโน้มจะกระทำผิด สถานที่ที่จะกระทำผิด โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ระหว่างสถานศึกษากับตำรวจ เฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมนักเรียนใน และนอกสถานศึกษา กวดขันสถานบันเทิงซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุม จู่โจมตรวจค้นสถานศึกษาหรือสถานที่ข้างเคียงซึ่งใช้ซุกซ่อนอาวุธ จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมในค่ายทหาร

6.สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ

 http://www.l3nr.org/posts/336350

คำสำคัญ (Tags): #งาน
หมายเลขบันทึก: 564325เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2014 01:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2014 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท