ความรู้แห่งชีวิต


นักจัดการความรู้แห่งชีวิต ต้องทำใจตัวเองให้เปิดกว้างและลึกเหมือนมหาสมุทร กว้าง ลึกและทำตัวให้ต่ำ มหาสมุทรจึงเป็นราชาแห่งห้วงน้ำทั้งปวง

การจัดการความรู้คือการเฝ้าดูตนเองตลอดเวลา เพราะการเข้าใจการเรียนรู้ต้องเริ่มต้นจากตัวเอง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวนั้น การจัดการจัดการความรู้ในตัวทำให้เกิดการรู้เรื่องตัวเองมากขึ้น


ชีวิตกับความรู้เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก “ความรู้เพื่อชีวิต”

รู้เรื่องชีวิต รู้และเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ รู้ที่จะเข้าใจชีวิตของตนเอง เรียนรู้ตามบริบทของตนเอง เมื่อรู้แล้วจะทำให้ชีวิตรื่นรมย์ เป็นภาวะจิตที่มีความสุข ความรื่นรมย์จะทำให้เกิดการเรียนรู้ภายในสภาวะจิตใจที่ใสสะอาด

เรียนรู้ทั้งในส่วนของหัว (สมอง) สัมผัส และใจสัมผัส ซึ่งเป็นใจที่ใสสะอาด เรียนรู้พร้อมรอยยิ้ม “ยิ้มที่ใจ” จะทำให้ใจยิ้มอยู่เสมอ ยิ้มโดยตลอด ยิ้มได้ทั้งตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนเย็น ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ วันทำงาน วันงานมากหรืองานน้อย ใจก็จะยิ้มอยู่ตลอดเวลา ปากนั้นจะแย้มบ้างก็ได้แล้วแต่กาลเทศะ  เมื่อใจยิ้มใจจะใส เมื่อใจใสก็จะออกมาที่ใบหน้า กลายเป็นคนหน้ายิ้ม


เพราะฉะนั้นการจัดการความรู้ก็เริ่มต้นจัดการความรู้จากชีวิตเรา ตัวของเรา ต้องทำการจัดการความรู้ตนเองและทำตนเองให้อยู่ดีมีสุข เมื่อเราสุข ความสุขจากใจและใบหน้าก็จะผ่องถ่ายไปสู่คนรอบข้างและคนที่จะไปร่วมงานจัดการความรู้ทุก ๆ เวลา


คนที่เรียนรู้และจักชีวิต คน ๆ นั้นก็จะเข้าใจการเกิด การอยู่และการตาย 


จะรู้และเข้าใจว่า ชีวิตกับความตายมันอยู่ติดกัน “แยกกันไม่ออก”
เราจะเรียนรู้ว่าจังหวะชีวิตของเราที่แท้จริงแล้วมีอยู่แค่ “สองจังหวะ” คือจังหวะของการเข้าใจเล้าและจังหวะของการหายใจออก 
คนเราจะตายตอนหายใจเข้าหรือหายใจออก?


คนที่ตายจะตายเมื่อหายใจออกแล้วไม่สามารถสูบลมเข้าได้อีก แสดงว่าเมื่อหายใจออก หมดแรงที่จะหายใจเข้า เราก็จะตาย เมื่อเรารู้เช่นนี้เราก็จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับชีวิต การจัดการความรู้แบบง่าย ๆ พื้น ๆ รู้เรื่องชีวิตกับการเรียนรู้เรื่องลมหายใจ


ถ้าเราหายใจเข้าแล้วสดชื่น หายใจออกก็สดชื่น


หายใจเข้าแล้วยิ้มกับตัวเอง หายใจออกก็สดชื่นด้วยเช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้น


นักจัดการความรู้แห่งชีวิต ต้องทำใจตัวเองให้เปิดกว้างและลึกเหมือนมหาสมุทร กว้าง ลึกและทำตัวให้ต่ำ "มหาสมุทรจึงเป็นราชาแห่งห้วงน้ำทั้งปวง"


เพราะฉะนั้น การจัดการความรู้เพื่อการเรียนรู้ชีวิต คือ การสามารเรียนรู้ได้จากทุกคน ทุกอย่าง ทุกสรรพสิ่ง เรียนรู้ได้จากสิ่งทั้งปวง


การเรียนรู้ชีวิต เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ สมาธิจะเป็นตัวพลังในการที่จะเรียนรู้ เป็นพลังในการจัดการความรู้ เพราะหลักของการเรยีนรู้จะต้องมีศีลเป็นพื้นฐาน ศีล คือความเป็นปกติ ร่างกายไม่เจ็บไม่ป่วย จากนั้นจึงเกิดสติและตามมาด้วยปัญญา ทั้งสามสิ่งนี้ต้องทำงานร่วมกัน


เพราะฉะนั้นความรู้ที่จำเป็นต้องรู้คือเรื่องชีวิต


ความรู้เรื่องชีวิต ถ้าคนรู้เรื่องชีวิต ปัญหาชีวิตก็ไม่มี


ดังเช่นที่ท่านพุทธาสได้กล่าวไว้ไว่ คนที่มีชีวิตแต่กลับไม่รู้ชีวิต ชีวิตจะกัดกินเจ้าของหรือ “ทำร้ายตนเอง”


ดังนั้น คนที่มีชีวิต แต่รู้ชีวิต ชีวิตจะส่งเสริมทำนุบำรุงเจ้าของคือการ “รักษ์ตนเอง”


จัดการให้รู้ เรียนให้รู้ เรียนให้เข้าใจ และปฏิบัติให้ได้ เพื่อที่จะหยุดทำร้ายตนเองและเปลี่ยนเป็นการทำนุบำรุงและพัฒนาตนเอง


ชีวิตที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ชีวิตขณะนี้เราเป็นอย่างไรบ้าง และชีวิตในอนาคตเป็นอย่างไร เป็นคำถามที่หลายๆ  คนเฝ้าถามตนเองอยู่ตลอดเวลา


ผู้ที่อาลัยกับอดีต พะวงกับเรื่องในอนาคต ชีวิตในปัจจุบันต้องรันทด

ชีวิตของคนเราจริง ๆ คือชีวิตที่อยู่ในปัจจุบัน


เราจะยิ้ม จะหัวเราะ จะร้องไห จะเป็นอย่างไร รื่นรมย์หรือไม่นั้น เหมือนกับควันไฟ ถ้ามันเกิดขึ้นมาแล้ว มันลอยจากเราไป เราจับไว้ไม่ได้ แต่เราสามารถจัดการกับมันได้
ดังนั้น ถ้าเราเศร้าหมองผ่านไปครั้งหนึ่งแล้ว เราจะย้อนกลับไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้


หลาย ๆ คนจะมีปัญหาเรื่องในอดีตและมีปัญหากับเรื่องในอนาคต แต่ต้องระวังไม่เผลอทำให้ปัจจุบันนั้นเสียหาย


เราสามารถคิดถึงอดีตได้แต่อย่าอาลัยอาวร นำอดีตเหล่านั้นจัดการความรู้มาให้เป็นบทเรียน


เราจะอยู่กับปัจจุบันและทำให้มีความสุขได้อย่างไร


ชีวิตที่เหลืออยู่ทำอย่างไรให้มีความสุขและมีคุณค่า


เพราะฉะนั้นชีวิตที่เหลืออยู่กับความถูกต้อง แม้สิ่งนั้นจะไม่ถูกใจเรา สิ่งที่ถูกใจมันมักจะไม่ถูกต้อง


ชีวิตเราควรจะต้องอยู่กับความถูกต้องซึ่งความถูกต้องจะไม่กัดกินและทำร้ายตัวเราเอง  เพราะถ้าเราไม่กัดตนเองเราก็จะไม่กัดคนรอบข้างด้วย


ดังโวหารที่กล่าวไว้ว่า “คนที่กำลังทำร้ายผู้อื่นอยู่คือผู้ที่ทำร้ายตนเองเสร็จแล้ว”


ดังนั้น คนที่ไม่ทำร้ายผู้อื่นก็คือคนที่จะไม่ทำร้ายตนเอง


ดังเช่นสนิมที่เกิดขึ้นในเสื้อเหล็กนั้นก็จะทำลายตัวเหล็กนั้นเอง


ความรู้ร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใด ก็จะทำให้จิตใจผู้นั้นเศร้าหมองเอง


ความรู้ดี ๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใด ก็จะทำให้จิตใจของผู้นั้นผ่องใสเองด้วยเช่นกัน


ถ้ากายป่วย ใจป่วย มักผกผันทั้งคู่ไปมา


ถ้ากายแข็งแรง ใจก็แข็งแรง สัมพันธ์กันทั้งคู่ตลอดไป


การจัดการความรู้เพื่อเรียนรู้ชีวิตของตนเองต้องอาศัยการฝึกการควบคุมใจ ถ้าคุมใจได้ คุมใจเราได้ ใจเราจับสิ่งต่าง ๆ ที่จะมาทำร้ายเราได้ ดูใจเราดูที่ตัวความคิดกับความรู้สึก


ตัวความคิด ถ้าเรารู้ตอนนี้คิดอะไรและสามารถควบคุมความคิดได้ เรารู้ว่าเรากำลังจะคิดเรื่องนี้และเรื่องนี้เราบอกว่าเราไม่คิด


บางครั้งเราต้องคิดเรื่องที่ไม่สบายใจ และไม่อยากคิดแต่มันหยุดคิดไม่ได้ เราก็เลยต้องทำร้ายตัวเองอย่างไม่หยุดหย่อน


ถ้าเราคุมใจได้ คุมความคิดได้ เมื่อคุมความคิดได้ก็คุมพฤติกรรมได้ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมมาจากความคิด ความคิดนำไปก่อนแล้วพฤติกรรมจะออก ถ้าคุมพฤติกรรมได้ แม้กายป่วยใจก็ไม่ป่วย.....

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 56209เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2006 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะคุณปภังกร 

  • การจัดการความรู้กับลมหายใจ  ครูอ้อยถอนหายใจวันละหลายๆเฮ้อ
  • ทำแล้วสบายตัว  สบายใจดีค่ะ 
  • ระยะนี้ครูอ้อยติดกับการหายใจลึกๆ  อาจจะเป็นเพราะการนอนน้อยไปหน่อย 
  • แต่อย่างไรบันทึกนี้ก็ทำให้ครูอ้อยต้องจัดการกับตัวเอง  ก่อนจัดการคนอื่นค่ะ 
  • ขอบคุณค่ะที่เป็นเกียรติเยี่ยมบันทึกครูอ้อย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท