แสดงความคิดเห็นในบทความของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช" มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๙. ระบบนิเวศเพื่อพัฒนาระบบอุดมศึกษา"


" ผมเกิดความคิดว่า ที่ไปเห็นนั้น เป็น change management หรือ change governance เชิงระบบ ของประเทศ เพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาหลากหลายด้าน ที่เป็น complex management มองมุมหนึ่ง เป็น advocacy หรือการสร้างกระแส โดยภาครัฐและภาคการกุศลสนับสนุนให้เกิดองค์กรสร้างกระแส ในทิศทางที่ต้องการ ผมรู้สึกว่าประเทศไทยเราไม่มีวิธีคิดแบบนี้ ภาครัฐของเราคิดทำเอง คิดกำหนดรายละเอียดแล้วออกกฎหมาย หรือข้อบังคับให้ถือปฏิบัติ แล้วก็บ่นว่ามีคนเบี้ยวไม่ทำตาม โดยไม่คิดว่า กฎหมายหรือข้อบังคับที่ออกไป มันไม่ซับซ้อนพอ ยิ่งเขียนข้อบังคับละเอียด ก็ยิ่งมีช่องโหว่ ดังที่เห็นๆ กันอยู่ "

ผมได้อ่านบทความของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช หัวข้อ "

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๙. ระบบนิเวศเพื่อพัฒนาระบบอุดมศึกษา 

(อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ข้างล่าง)

เรียนอาจารย์วิจารณ์ พานิช ที่เคารพ

ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสผมได้พบเพื่อเรียนเสนอเรื่องมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์   เมื่ออ่านบทความฉบับนี้ของอาจารย์ ทำให้ผมชัดเจนยิ่งขึ้นว่า มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ มีจุดประสงค์ในการดำเนินการเช่นเดียวกับ "UnLTD" และ "NACUE" 

" อีกหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของสังคม รวมทั้งของระบบอุดมศึกษา คือ UnLtd    ทำหน้าที่สร้างระบบนิเวศของการทำธุรกิจ หรือเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ให้แก่ประเทศ    ไม่ใช่จำกัดเฉพาะ ในอุดมศึกษา    เป็นการทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระแส “เพื่อสังคม” ต่อสู้กับกระแส “เพื่อกู” ในสังคมทุนนิยม บริโภคนิยม  

          และอีกหน่วยงานหนึ่ง คือ NACUE ทำหน้าที่พัฒนาระบบนิเวศของการเป็นผู้ประกอบการ ในหมู่นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ "

" ผมเกิดความคิดว่า ที่ไปเห็นนั้น เป็น change management หรือ change governance  เชิงระบบ ของประเทศ    เพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาหลากหลายด้าน    ที่เป็น complex management    มองมุมหนึ่ง เป็น advocacy หรือการสร้างกระแส    โดยภาครัฐและภาคการกุศลสนับสนุนให้เกิดองค์กรสร้างกระแส ในทิศทางที่ต้องการ    ผมรู้สึกว่าประเทศไทยเราไม่มีวิธีคิดแบบนี้    ภาครัฐของเราคิดทำเอง คิดกำหนดรายละเอียดแล้วออกกฎหมาย หรือข้อบังคับให้ถือปฏิบัติ    แล้วก็บ่นว่ามีคนเบี้ยวไม่ทำตาม    โดยไม่คิดว่า กฎหมายหรือข้อบังคับที่ออกไป มันไม่ซับซ้อนพอ    ยิ่งเขียนข้อบังคับละเอียด ก็ยิ่งมีช่องโหว่    ดังที่เห็นๆ กันอยู่ "

ที่อาจารย์กล่าวว่า "ผมรู้สึกว่าประเทศไทยเราไม่มีวิธีคิดแบบนี้" ผมเห็นด้วยแต่ไม่ทั้งหมดอย่างน้อยๆก็มีผมคนหนึ่งที่คิด และเพื่อนๆอีกหลายคน เราจึงร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระแส "เพื่อสังคม" ต่อสู้กับกระแส "เพื่อกู" ในสังคมทุนนิยม บริโภคนิยม โดยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการ พัฒนาคนที่มีคุณค่า พัฒนาระบบนิเวศของการเป็นผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ ผมเชื่อว่ามีคนไทยเป็นจำนวนมากที่คิดเพียงแต่ขาดโอกาสในการทำ ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในการบริหารบ้านเมือง ประเทศชาติ  หรือสถาบันการศึกษาอาจไม่ได้คิดหรือไม่สนใจดำเนินการ แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์วิจารณ์ คิดและอยากให้ประเทศไทยมีหน่วยงานเช่น UnLtd หรือ NACUE ก็ไม่ทราบว่าอาจารย์มีการดำเนินการอะไรไปบ้างแล้ว หรือมีผู้บริหารท่านใดได้ดำเนินการทำแล้วแต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผย อย่างน้อยๆวันนี้ผมขอนำเสนอ "มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องการดำเนินการตาม UnLtd และ NACUE ถึงแม้นผมและเพื่อนๆจะเป็นแค่หนูตัวเล็กๆแต่บังอาจไปคิดการใหญ่แทนราชสีห์ ทั้งๆที่รู้ว่าเป็นงานใหญ่และยาก แต่ก็มีความตั้งใจที่จะทำเพื่อประเทศชาติ เพื่อคนไทยในอนาคต ส่วนจะทำได้แค่ไหน ก็อยู่ที่จิตสำนึกของคนไทยทั้งประเทศ 

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมจึงเรียนเชิญท่านอาจารย์ให้การสนับสนุนมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ทั้งๆที่ทราบว่าท่านมีสุขภาพไม่ค่อยดี และรับงานไว้มากหลายแห่ง และได้ปฎิเสธงานอีกหลายๆแห่ง จึงไม่สามารถรับคำเชิญของผมได้ เพราะเกรงว่าหน่วยงานอื่นที่อาจารย์เคยปฎิเสธจะว่าได้ จึงขอความกรุณาอาจารย์ วิจารณ์ พานิช โปรดพิจารณาคำเชิญของผมอีกสักครั้ง อย่างน้อยๆก็เป็นกำลังใจและให้การสนับสนุนหนูตัวเล็กๆได้ทำงานใหญ่เพื่อประเทศชาติ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 ตุลาคม 2556

บทความของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

ระหว่างนั่งฟังการนำเสนอเรื่อง UKPSF and the Continuing Professional Development Programme in the UK โดย Dr. Jeanne Keay, Assistant Director and Head of International Strategy, HEA เมื่อวันที่ ๙ ก.ย. ๕๖   ผมเกิดความคิดขึ้นว่า    วิธีการที่ HEA ดำเนินการอยู่ เป็นวิธีจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ของระบบอุดมศึกษาของอังกฤษ    เพื่อให้ระบบอุดมศึกษามีคุณค่าต่อบ้านเมืองมากขึ้น

          ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา มีการบ่นกันทั่วโลก ว่าวงการอุดมศึกษาเน้นส่งเสริมการวิจัย และทอดทิ้ง การเรียนการสอน  หรือทอดทิ้งนักศึกษา    เราไปพบว่า ที่อังกฤษเขาไม่บ่นกันเฉยๆ แต่คิดหากลไกสร้างการ เปลี่ยนแปลงด้วย   และกลไกระดับสถาบันก็คือ Higher Education Academy (HEA)

          ผมตีความว่า HEA ทำหน้าที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ โดยการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ ของอุดมศึกษา    ทำให้สภาพแวดล้อมเอื้อให้อาจารย์เอาใจใส่การเรียนการสอนมากขึ้น  

          วิธีเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของอุดมศึกษาประเทศอังกฤษโดย HEA ทำโดยการสร้างความรู้   นี่คือการตีความของผม    สร้างความรู้เกี่ยวกับทักษะและความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้    และแยกแยะจัดระดับ ออกเป็น ๔ ระดับ   ที่เรียกว่า Higher EducationFellowship   โดย ๔ ระดับคือ Associate Fellow, Fellow, Senior Fellow, และ Principal Fellow   เป็นการสร้างและเผยแพร่เรื่องราวของทักษะการเป็นอาจารย์ในศตวรรษที่ ๒๑ นั่นเอง 

          อีกหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของสังคม รวมทั้งของระบบอุดมศึกษา คือ UnLtd    ทำหน้าที่สร้างระบบนิเวศของการทำธุรกิจ หรือเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ให้แก่ประเทศ    ไม่ใช่จำกัดเฉพาะ ในอุดมศึกษา    เป็นการทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระแส “เพื่อสังคม” ต่อสู้กับกระแส “เพื่อกู” ในสังคมทุนนิยม บริโภคนิยม  

          และอีกหน่วยงานหนึ่ง คือ NACUE ทำหน้าที่พัฒนาระบบนิเวศของการเป็นผู้ประกอบการ ในหมู่นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ 

          เราไปเห็นระบบนิเวศเพื่อการแข่งขัน (Ranking) ต่างลู่ต่างจุดเด่น    โดยสังเกตทางอ้อม    เช่น มหาวิทยาลัย แอสตัน (ที่เบอร์มิงแฮม) บอกว่า เขาเด่นกว่ามหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด ในด้านการมีงานทำ (employability) ของบัณฑิต    โดยอ้างคำของ SundayTimes University Guide 2013 ว่า “Aston turns out some of the most sought after graduates in Britain – putting the likes of Oxford in the shade”

          มหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน บอกว่าเขาต้องการเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ ๑ ในสหราชอาณาจักร ด้าน social enterprise ภายในปี ค.ศ. 2015   โดยอธิการบดีประกาศให้ทั้งมหาวิทยาลัยเป็น social enterprise   แล้วใช้จุดเด่นด้าน social enterprise สร้างความคึกคักด้านอื่นๆ    เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน

          ผมเกิดความคิดว่า ที่ไปเห็นนั้น เป็น change management หรือ change governance  เชิงระบบ ของประเทศ    เพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาหลากหลายด้าน    ที่เป็น complex management    มองมุมหนึ่ง เป็น advocacy หรือการสร้างกระแส    โดยภาครัฐและภาคการกุศลสนับสนุนให้เกิดองค์กรสร้างกระแส ในทิศทางที่ต้องการ    ผมรู้สึกว่าประเทศไทยเราไม่มีวิธีคิดแบบนี้    ภาครัฐของเราคิดทำเอง คิดกำหนดรายละเอียดแล้วออกกฎหมาย หรือข้อบังคับให้ถือปฏิบัติ    แล้วก็บ่นว่ามีคนเบี้ยวไม่ทำตาม    โดยไม่คิดว่า กฎหมายหรือข้อบังคับที่ออกไป มันไม่ซับซ้อนพอ    ยิ่งเขียนข้อบังคับละเอียด ก็ยิ่งมีช่องโหว่    ดังที่เห็นๆ กันอยู่ 

          ผมคิดว่าระบบอุดมศึกษาไทยติดกับดักความเป็นสังคมแนวดิ่ง    เน้นการใช้อำนาจควบคุมสั่งการ (command and control) ซึ่งหมดยุคที่จะใช้ได้ผลแล้ว    เนื่องจากสังคมมันซับซ้อนเกินกว่าจะควบคุมสั่งการได้    วิธีที่ไปเห็นที่อังกฤษน่าจะได้ผลมากกว่า ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต้องการ  

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

หมายเลขบันทึก: 551773เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Social enterprise ... น่าสนใจมาก ๆๆๆ  เลยนะคะ   ขอบคุณค่ะ

 

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

ขอบคุณครับอาจารย์เปิล สนใจมีส่วนร่วม มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เรากำลังหาผู้ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนมูลนิธิครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท