วิธีการเรียนรู้แบบ "สมอง" ที่กลับทางกับการเรียนรู้ของ "ใจ"


หลังจากอ่านบันทึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เรื่อง "วิธีเลี้ยงลูกให้มีนิสัยใจคอดี" ที่นี่   ทำให้เห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างการเรียนรู้ที่เอา "สมองเป็นฐาน" กับการเอา "ใจเป็นประธาน" ของชาวพุทธ .... เขาบอกว่า

  1. คุณสมบัติของสมองที่เกี่ยวข้องกับนิสัยใจคอคือ Effecive Function หรือ EF ซึ่งเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมตนเอง ความยืดหยุ่นซึ่งสำคัญต่อการเป็นนักเรียนรู้  การมีวินัยในตนเอง และความคิดสร้างสรรค์
  2. EF จะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองส่วน Amygdala (อมิกดาลา อ่านบทความภาษาไทยที่น่าสนใจเรื่องนี้ที่นี่ครับ)   และ Prefrontal Cortex (สมองส่วนหน้า) โดยบอกว่า...สมองอมิกดาลาที่ยัง "เถื่อน" อยู่ จะส่งสัญญาณดิบๆ ไปยังสมองส่วนหน้าทำให้เครียด ความเครียดนี้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ และเป็นตัวบ่อนทำลาย EF... 
  3. ท่านบอกว่า งานวิจัยชี้ว่า การทำสมาธิวิธีต่างๆ ทำให้อมิกดาลา "เชื่อง" ลงได้ และช่วยกำจัดมรุสุมความเครียด 

หากสังเกตและลองพิจารณา จะพบว่า

  • จะอธิบายเหตุที่ทำให้ "ใจ" เครียด หรือ มีความสุข เพราะสมองทำงานอย่างไร เช่น เมื่อสมองส่วนหน้าทำงาน จะทำให้มีความสุข เป็นต้น 
  • ในทางกลับกัน ทางพุทธ จะสอนว่า "ทุกอย่างมี "ใจ" เป็นใหญ่ เป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ"  นั่นคือ การอธิบายจะ "กลับทาง" กับการอธิบายข้างต้น เช่น เนื่องจากกิเลสครอบงำ ไม่ได้สิ่งที่อยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือเป็นในสิ่งที่ไม่อยากเป็น ทำให้ "ใจเครียด"  ทำให้สมองทำงานอย่างนั้นๆ เป็นต้น
  • หรือ เมื่อ "ใจเป็นสมาธิ" จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้า ทำให้รู้สึกว่ามีความสุข เป็นต้น ....

โดยสรุปว่า ตอนนี้มีความเห็นที่แตกต่างกัน 2 ทาง คือ

  1. เข้าใจว่าทุกอย่างเริ่มที่สมอง สมองเป็นใหญ่ กับ
  2. เข้าใจว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน

ท่านว่าไงครับ....

หมายเลขบันทึก: 551769เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • จริงๆ แล้วคงไม่ถือว่า เป็นคำอธิบายที่กลับทางกันหรอกนะคะ น่าจะเรียกว่า เป็นการใช้คำที่แตกต่างกันมากกว่า
  • เพราะคำว่า "ใจ" ในทางพระพุทธศาสนา นั้น จริงๆ แล้วในทางสรีรวิทยา (Physiology) ก็คือ การทำงานของสมอง ในส่วนที่เกี่ยวกับ "อารมณ์ความรู้สึก หรือที่เรียกว่า จิตใจ (Affection)" เช่น ความรู้สึก (Feeling), เจตคติ (Attitude) และ ค่านิยม (Value) เป็นต้น ส่วนที่บอกว่า "สมอง" ก็คือ การทำงานของสมอง ในส่วนที่เกี่ยวกับ "การรู้คิด (Cognition)" เช่น การรู้ (Knowing), การจำ (Remembering), การเข้าใจ (Understanding) และ "การคิด (Thinking) เป็นต้น
  • ในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า "สมาธิ" (ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่าใจ) ทำให้ เกิด "ปัญญา" (ส่วนที่เรียกว่าการรู้คิด หรือสติปัญญา หรือสมอง) ก็ตรงกับศาสตร์ตะวันตกที่เชื่อว่า การที่มี "จิตใจจดจ่อ" อยู่กับการเรียน (Attention-Affection) จะทำให้ "เรียนรู้" (Learning-Cognition) ได้ดี นั่นเอง ค่ะ  

ตอนนี้ผมมีความเห็น (เป็นความเชื่อเหนือจะถกเถียงให้สรุปได้) ว่า แม้ไม่มีสมอง ก็คิดได้…. ตอนนี้เราพบว่าหัวใจตอบสนองได้เร็วกว่าสมอง ….. สิ่งเหล่านี้ ล้วน “กลับทาง”

สมองเป็นนาย  กายเป็นบ่าว ชิมิ

ศ.karnt ท่านกล่าวว่าโลกเรานี้มีอยู่ 2 ใบ คือใบจริงและใบเงา ถ้าใบเงาหายไป หมายถึงดวงอาทิตย์ดับสิ้นแล้ว เป็นปัญหาของสองมหาวิทยาลัยเขา เราเฝ้าดูเมื่อไหร่โลกจะกลมจะแบนก็แล้วกันครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท