ปลูกผักให้แมลง งง..(2)


ผู้เขียนคิดว่าเมืองไทยของเรามีความหลากหลายในด้านชีวะภาพ(Biodiversity) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

ผู้เขียนคิดว่าเมืองไทยของเรามีความหลากหลายในด้านชีวภาพ(Biodiversity) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ผู้เขียนเคยไปที่ New Zealand พบว่าในป่าของเขามีสัตว์เพียงไม่กี่ชนิด ผักและพืชก็มีเพียงชนิดทีซ้ำๆกัน แต่บ้านเรามีความหลากหลายมาก ผู้เขียนได้แนวคิดมาจากพี่เกษตรกรเรียนรู้บันทึกนี้ครับ ก่อนหน้านั้นก็ไม่เคยจะใช้ยาฆ่าแมลงอยู่แล้ว ใช้เพียงน้ำสะเดา ตอนนี้ได้ปลูกผักแบบปนๆกัน  ไม่ได้ใช้น้ำสะเดาแล้ว ให้แมลงกินบ้าง คนกินบ้างแบ่งปันกันไป แต่แมลงกินน้อย สงสัยแมลง งง งง...555

 

 

เข้าใจว่าแมลงมากินคง งง งง ว่าต้นอะไร ในภาพมีต้นใบยอ ต้นมะระขี้นก ต้นผักปรัง และตำลึง ปลูกปนๆกัน ผักงามดีมาก ไม่ต้องใส่สารพิษ นอกจากนี้ผักยังเกื้อกูลกันดี

 

 

ผู้เขียนเอาผักในป่ามาปลูกปนกับผักบ้าน เช่นเอาต้นบอนมาปลูกปนกับต้นโสมกินใบ หรือเอาต้นใบเปราะมาปลูกคลุมพื้นดินใต้ต้นพริก พบว่าผักชนิดต่างๆงอกงามได้ดี ไม่แพ้ผักที่ปลูกแยกๆกัน สมัยก่อนตอนเด็กๆ เคยเห็นพ่อปลูกผัก ปลูกมะม่วงกอกล้วยเก่า ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า กอกล้วยเจาะดินแข็งไปก่อน นอกจากนี้ยังมีน้ำให้แก่ต้นไม้ที่มาปลูกทีหลังด้วย

 

ผู้อ่านลองทำดูนะครับ ลองให้ผักชนิดที่กินได้ ไปพันผักชนิดอื่น ให้มันปนกันไป ไม่ต้องใช้สารพิษ ถ้ามีแมลงมากินผักก็มากินเป็นส่วนน้อย ถือว่า แบ่งกันกิน มีความเมตตาต่อแมลงนะครับ

 

ต้นยอถือว่าเป็นผักที่มีแคลเซียมค่อนข้างสูง กินป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ครับ ส่วนยอดตำลึงมีทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัสและธาตุเหล็ก ที่น่าสนใจคือมีงานวิจัยของสถาบันโภชนาการของมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าไว้ว่า หากกินตำลึงบ่อยๆเส้นใยในตำลึงช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร ส่วนมะระขี้นกนั้น หวานเป็นลม ขมเป็นยา เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ แก้กระหายน้ำได้ครับ ลองปลูกผักกินได้ ปนๆกันไป เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนนะครับ รับรองแมลง งง งงขอบคุณมากครับที่เข้ามาอ่าน…

ลองไปอ่านต่อบันทึกนี้ของพี่เกษตรกรเรียนรู้นะครับ…

สมาชิกท่านใด เคยปลูกผักแบบนี้บ้างครับ ใครลองเอาไปทำดู ได้ผลอย่างไร มาแจ้งบ้างนะครับ...

หมายเลขบันทึก: 551653เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2013 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (59)

สวัสดีค่ะอาจารย์..ขจืต..ตอนนี้..เข้ามากรุงเทพ แล้วค่ะ..ไม่ได้..เอาคอมมาด้วย..นี่..นั่งอยู่ร้านเนต..จะโทรตืดต่อ..ถามลายละเอียด..อีกที..ค่ะ...ยายธี....ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับคุณยายธี ได้เลยครับ

ให้ผมโทรไปหาดีไหมครับ...

อาจารย์ขจิต ค่ะ

คุณพ่อ ปลูกกฐิน ไว้ ริม ๆ รั้ว  แถวบ้านไว้มากพอควร...เผื่อแผ่ให้ ชาวบ้านในละแวก มาเก็บกันเป็นประจำ...

ขณะนี้  มีตัวเพี้ย (ตัวเล็ก ๆ กระจิดริด สีเหลืองๆ อ่อนๆ ) คุณพ่อบอกว่า ตัวเพี้ย...///ตอนนี้  ไม่กล้าเก็บ รับประทาน แล้วค่ะ... สูตร อะัไร ที่ทำให้ แมลง เพี้ย  งง งง งง   บ้างมั้ยคะ...555

-สวัสดีครับอาจารย์

-เย้ ๆ เห็น"ว่านตูบหมูบ"ใต้ต้นพริกด้วย...

-ขนาดคนอ่านยังงง..กว่าจะดูว่าต้นไหนเป็นต้นไหน..ใช้เวลาตั้งสติสักพัก ฮ่า ๆ 

-แมลงก็คงจะงงใหญ่...ฮ่า ๆ

-ขอบคุณครับ..

 เกษตรอินทรีย์ ..... ผักปลอดสารพิษ.....ดีจริงๆค่ะ   คิดถึงท่านขจิต นะคะ  ดูแลสุขภาพ นะคะ  อากาศเริ่มหนาวแล้วนะคะ  

 

มีผักอะไีรมั่งเนี่ยะ...?

เมื่อวาน ต้นพริกในกระถางเหลือแต่ตอกุดๆ เข้าใจว่าแม่บ้านเป็นคนตัด แต่ที่ไหนได้น่าจะเป็นแมลง

ก็ปล่อยไปถือวาเป็นวัฏจักรของชีวิตในสวนน้อยๆนี้ก็แล้วกัน

จะกลับไปทำที่บ้านครับ...ตำลึงนี่ของโปรดเลย

แบ่งๆ กันกินนะครับ ทั้งคนและแมลง

คงได้บุญไม่น้อยเลยละครับ  555

ความหลากหลายทางชีวภาพ....ส่งผลให้เกิดการอยู่ร่วมกันแบบ Win Win

ที่บ้านพี่มีทุกอย่างที่อ.บอก เลื้อยพันกันไปจนรกแล้วโดยเฉพาะตำลึง และมะระขึ้นก   เก็บกินไม่ทัน

เป็นผักที่น่ากิน กินอร่อยทั้งนั้น  แต่บ้านพี่ปลูกไม่ขึ้น แม้แต่กล้วยยังแคระแกร็น ไม่โต เพราะดินเค็ม

กล้วยเป็นแหล่งน้ำเวลาหลงป่าค่ะ  แต่ไม่เคยหลงเลยยังไม่ได้เจาะชิมน้ำจากกล้วยสักที

ตั้งชื่อบันทึกดีจัง  ปลูกผักให้แมลงงง  มันคงงงว่ามีผักมากจนกินไม่ถูกนะน้อง

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปัน ภาพที่รักษาใจได้ ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ตลอดไปค่ะ

สวนผักแบบนี้ เหมือนร้านสะดวกซื้อค่ะ เดินไปที่เดียว เก็บผักกินได้หลายอย่าง .... ดูเป็นธรรมชาติดี
ปลูกเหมือนไม่ได้ปลูก...ไม่ได้ปลูก ก็เหมือนปลูก ...... สวนที่บ้านเป็นแนวนี้เหมือนกัน ชื่อ สวนมั่วเมืองสิงห์ค่ะ

 

น่าลอง ตอนปลูกแยกไม่รก ปนกันจะรก?

ขอบคุณอาจารย์จอย

กระถินครับ ไม่ใช่ผ้ากฐิน 555 อันนี้ของพระ

เข้าใจว่าเพี้ยขาวเหลืองอ่อนๆแน่เลย จริงๆแล้วเอาไปล้างน้ำก็ได้

ลองหาดอกดาวเรืองหรือชะอมไปปลูกใกล้ๆนะครับ

ส่งเมล็ดผักให้แล้วนะครับ

ขอบคุณคุณเพชร ว่านตูบหมูบ คือใบเปราะหอมนี่เอง

ที่บ้านผมเอามายำกินกับปลาทูครับ

ปลูกปนกัน แมลง งง งง แต่ระวังคนงงด้วย

จะเอาผักปรัง แต่ไปหยิบมะระมา 555

ขอบคุณพี่เปิ้น คิดถึงพี่เปิ้นเช่นกัน

ปลูกผักแล้วเอาไว้กินเองครับ

พี่เปิ้นสบายดีนะครับ

ขอบคุณคุณมะเดื่อในภาพมีตำลึง มะระ ต้นยอและผักปรังครับ

ผสมผสานกันน่าดู

ผักงามดีมากครับ

ขอแสดงความยินดีกับรางวัลสุดคะนึงด้วยครับ

เย้ๆๆๆ

ขอบคุณคุณ พ แจ่มจำรัส

แมลงกินเป้นเรื่องปกติ

พยายามอย่าใส่ยาฆ่าแมลง คนและแมลงแบ่งกันกิน

ปลอดภัยดีครับ

สนใจเมล็ดผักไหมครับ

ขอบคุณคุณไชย ทำแล้วได้ผลอย่างไร

มาบอกบ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

ตำลึงต้มหมูกินอร่อยดี เอามาจิ้มน้ำพริกก็อร่อยครับ

ขอบคุณคุณอักขณิช แบ่งปันกัน ได้อิ่มทั้งคนและแมลง

สัตว์โลกร่วมโลกเดี่ยวกันต้องแบ่งปันกันครับ

ขอบคุณพี่นก

ใช่ครับบ้านเรามีความหลากหลายมากๆ

แบ่งๆกันกินครับ

ขอบคุณพี่ประกาย

ดีจังเลยครับ

ปนๆกันกินไม่ทันใช่ไหมครับ

พี่ประกายสบายดีนะครับ

ขอบคุณพี่ Nui ลองแกล้งดินให้หายเค็มดีไหม

หาขี้วัวมาใส่ดีไหมครับ

เผื่อจะช่วยได้ ชอบผักพื้นบ้านครับ

ขอบคุณคุณ HaPpy Girl ที่เข้ามาอ่าน

ขอให้มีความสุขกับการทำงานครับ

ทำอะไรก็ได้ที่มีความสุขครับ

ขอบคุณป้าวิ

มีบวบหอมด้วย

ที่บ้านก็แบบนี้ครับ ลูกใหญ่ดี ชอบมากเลยครับ

เอามาลวกจิ้มน้ำพริกกิน

http://www.gotoknow.org/posts/412157

ขอบคุณคุณหมอ

ปลูกปนกันไป แมลงไม่ค่อยกิน

ถึงกินก็น้อย แมลง มันคง งง งง ต้นอะไรเนี่ย

555

งงตรง เครือกล้วย กลับหัวนี่แหละค่ะ

 

กลับไปตรวจการบ้านให้ด้วยนะคะ

555

พอดีใส่โปรแกรมแล้วไม่ได้กลับภาพ

ไปดูการบ้านแล้วนะครับ

แนะนำว่าน่าจะทำอีกมีประโยชน์มากๆๆ

   ครับการปลูกผักแบ่งกันกินกับแมลงปลอดภัยดีครับ  ที่บ้านก็ทำอย่างนั้น  แต่บางครั้งก็เก็บกินไม่ได้  เพราะมีเพลี้ยมาเกาะ(เรียกว่าคร็อม)เต็มไปหมดยอดผักหงิกงอ(ผักบางชนิด)ดูสกปรกเช่นยอดหมุย ยอดกฐิน ยอดมันปู  ที่บ้านเนื้อที่น้อยปลูกเลอะๆ เขรอะๆปนเปกันทั้งไม้ดอกไม้ปรัดับทั้งที่กินได้ และกินไม่ได้  ไม่ค่อยเป็นระเบียบ  บางครั้งทิ้งบ้านไปเป็นเดือน กลับมาทีไรต้องใช้เวลาสะสางฟื้นฟู

   ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ฺ...

-ตามมาขอบคุณสำหรับคำแนำนำเรื่องการเขียนสรุปและถอดบทเรียนชุมชนแหล่งเรียนรู้ครับ..

-แต่ตัวอย่างลิ้งค์ที่อาจารย์ให้ผมไปโหลดไม่ได้ครับ...

-รบกวนอาจารย์ช่วยส่งให้ทาง Mail ได้ไหมครับ???

-ไม่ถนัดการเขียนและสรุปบทเรียนแบบนี้....แต่อยากจะลองดู/ขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยน่ะครับ

-ขอบคุณล่วงหน้าครับอาจารย์..

-วันนี้มีตอน 2 ต่อจากเมื่อวานด้วย...อย่าลืมตามไปให้คำแนะนำนะครับ..

-ขอบคุณคร้าบ!!!

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

บันทึกดีมากค่ะ จะนำไปทดลองปลูกตามวิธีการของอาจารย์ให้แมลง งง เล่นๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอรายงานตัวค่ะ  สบายดีนะคะ จะลองไปปลูกที่บ้านสวนบ้าง ให้แมลง งง งง เวียนหัวไปเลย ขอบคุณค่ะ

ชอบทั้งใบยอและตำลึงค่ะ มีแคลเซี่ยมสูงอีกด้วย ชุมชนคนรักษ์กระดูกชอบค่ะ

ไม่ใช่แค่แมลงงงคนก็งง  ต้นอะไรบ้างเนี๊ยะ  

ขอบคุณพ่อเขียน ไม่ได้เห้นยอดมันปูนานแล้ว

ปลูกปนกันมีความสุขดี

จะเก็บก็ง่าย

แมลงก็งง งง ด้วยครับ

ขอบคุณคุณเพชร ขอเมล์ด้วยครับ

ดีใจที่การถอดบทเรียนมีประโยชน์ครับ

ขอบคุณครูอร ได้ผลอย่างไร

มาแจ้งบ้างนะครับ

ขอบคุณครู mena

ในสวนครูก็น่างงอยู่หรอก

ฝากความระลึกถึงคนสวนเอ้ยปู่เบฯด้วยครับ

ขอบคุณคุณหมอ Sukkajan พยายามจะช่วย link บันทึกต่างๆ

ให้เกิดการเรียนรุ้บูรณาการกันครับ

ขอบคุณคุณชลัญธร

มีต้นยอ ต้อนมะระขี้นก ต้อนตำลึงและผักปรังครับ

ไจ่ไจ๋น่ารักมากๆๆ

  • ลูกขจิตคะ ก่อนนี้อาจารย์แม่น้อยใจนิดๆ นะที่เห็นลูกขจิตเชิญคนนั้นคนนี้เป็นสมาชิกชมรมคนปลูกผักกินได้ (ทาง Blog) แต่ไม่ชวนอาจารย์แม่ ทั้งที่อาจารย์แม่ปลูกผักหลายอย่าง แต่เมื่อวาน อาจารย์แม่เห็น e-mail เชิญชวนให้เข่าร่วม และมีที่ให้คลิก ตอบรับ แต่คลิกแล้วกลับไม่ปรากฏข้อความให้ตอบรับค่ะ คลิกกี่ครั้งก็เหมือนเดิม
  • อาจารย์แม่เข้าใจว่า คำว่า "ผัก" ก็สื่อว่า กินได้อยู่แล้ว เพราะเคยมีคนบอกว่า ถ้าพืชกินได้จะเรียก "ผัก" ถ้ากินไม่ได้ จะเรียก "หญ้า" เลยสงสัยนิดๆ ว่า ใช้คำว่า "ผัก" เฉยๆ ไม่ได้เหรอคะ
  • อ้อ! ขอให้บริการเพื่อนภาษาหน่อย คำว่า "ชีวภาพ" จะไม่มีสระ "ะ"  นะคะ ทำนองเดียวกับคำว่า "ชีววิทยา" ค่ะ
  • เห็นต้นยอนึกได้ว่า ต้นยอที่บ้านในเมืองล้มตอนที่มีพายุ และเขาก็แก่มากแล้ว ต้นที่สวนสมุนไพรในฟาร์มก็เกิดตาย วันที่ 1-10 พ.ย. จะมีงานเกษตรที่ ม.อุบลฯ จะต้องหาซื้อไปปลูกแล้ว อาจารย์แม่ชอบทานห่อหมกปลาที่รองพื้นด้วยใบยอ และนำลูกยอห่ามแช่น้ำตาลให้พ่อใหญ่สอกิน (อาจารย์แม่ใส่ลูกยอลงในโหลแก้ว แล้วเทน้ำตาลทรายลงไป น้ำตาลจะกลายเป็นน้ำ เหมือนทำแช่อิ่ม ทิ้งไว้จนลูกยอเป็นสีน้ำตาล อร่อยมากค่ะ)
  • อาจารย์แม่มีเมล็ดพันธุ์ฟักข้าว มีใครต้องการไหมคะ อาจารย์แม่จะได้ส่งมาให้
  • เทคนิคทำให้แมลงงง นี่ยังไม่มีใครคิด จึงน่าจะถือว่า เป็นนวัตกรรม จะขอจดสิทธิบัตรไหมคะ อิอิ... 

ได้รับเมล์คุณเพชรแล้ว

กำลังส่ง ไฟล์ใหญ่มาก

ขออนุญาตลบเมล์นะครับ

เพื่อป้องกัน spam robot

ขอบคุณอาจารย์แม่ 555 มีน้อยใจ

ตอนแรกไม่ชวนเพราะว่าระบบเพิ่งสร้างการพูดคุยใน CoP ครับ

ในระบบแจ้งว่ารออาจารย์แม่ ตอบรับคำเชิญครับ

http://www.gotoknow.org/community/vegetables#/members

สงสัยระบบมีปัญหาเล็กน้อย

ผมแก้คำว่า ชีวภาพแล้วนะครับ

คำว่าปลูกผัก เป็นคำหนึ่งในคำสำคัญครับ

ปลูกผักสั้นไปครับ  ปกติมีผักที่เป้นสมุนไพรด้วย

ห่อหมกใบยอที่บ้านผมใช้ปลาช่อนครับอร่อยมาก แต่ไม่ค่อยมีคนทำครับ

ผมว่าจะลองยอแช่น้ำตาลแบบอาจารย์แม่ทำ

ไม่รู้ผลจะเป็นอย่างไร

เมล็ดฟักข้าว น่าสนใจมาก รอถามสมาชิกก่อนนะครับ

ว่าจะจดลิขสิทธิ์เหมือนกันครับ 555

 

มาเยี่ยมรับความรู้เรื่องการปลูกผักจากประสบการณ์ตรงดีๆเช่นนี้ค่ะ…ช่วงนี้มัวแต่ยุ่งดูแลน้องสาวป่วย ต้องเว้นระยะก่อนค่ะ

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

ที่แจ้งให้ทราบ

ขอให้น้องสาวพี่ใหญ่หายป่วยไวๆๆ

พี่ใหญ่ดุแลสุขภาพบ้างนะครับ

อาจารย์ปลูกแล้วผักงามดีจังค่ะ ที่บ้านปลูกแล้วไม่ทราบทำไมมีเพลี้ย เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะสภาพดินไม่ค่อยจะสมบูรณ์และอาจจะมีต้นไม้ใหญ่บังแดด

ครูขจิต เก่งหลายอย่างนะคะ

*--*

ขอบคุณพี่บุญ ไม่เป็นไรครับ

มีเพี้ยก็แบ่งกันกินผัก

ลองปลูกหลาอยย่างปนกันดูนะครับ

ขอบคุณอาจารย์ pis.ratanaมากครับ

ยังต้องเรียนรู้มากเลยครับ

อาจารย์สบายดีนะครับ

   

ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆครับอาจารย์ขจิต

ขอบคุณลุงชาติมากๆครับ

ลุงใช้โปรแกรมอะไรแต่ง background สวยมากๆ

ถ้าแมลงพูดได้ล่ะก็…555

สวัสดีครับอาจารย์  ตำลึงเป็นพืชผักที่มีปัญหาเรื่องเพลี้ยมาก ทำให้ยอดหงิกสั้น เกิดราดำ ถ้าปลูกตำลึงตามรูปแบบของอาจารย์ จะดีมาก เพลี้ยจะงง สับสนในการเข้าทำลาย ผลผลิตปลอดภัยเพราะไม่ใช้สารเคมี

นำภาพที่สวนมาฝากครับ

เป็นพื้นที่ร่มรำไรรอบๆ  ต้นมะม่วงครับ  ในภาพมีกระชาย  มะเขือ  บุก  น้ำเต้า  ตำลึง  มะละกอ  บานไม่รู้โรย  ว่านนางคำ  เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของพืชผักพื้นบ้านผสมผสาน  ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี

เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ และทำได้จริง ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

ขอบคุณครู tuknarak แมลงพูดได้คงบ่นน่าดู

ขอบคุณพี่กอบเดช

มีเรื่องให้เรียนรู้ได้ไม่จบนะครับ

ขอบคุณมากๆ

ขอบคุณทีมอารักขา

ที่เข้ามาอ่าน

ทำได้ผลดีด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท