ปัญหาการศึกษาชาติ..เกิดจากคิดใหม่ทำใหม่


สองสามวันมานี้ มีเพื่อนสมาชิกโกทูโนว์ ได้พูดถึงการศึกษา ปัญหาและแนวทางแก้ไข หลายท่าน และมักจะลงท้ายที่ตุัว "ครู" ซึ่งผมก็เห็นด้วย และรวมถึง "ผู้บริหารสถานศึกษา" ที่เป็นตัวปัญหาอยู่เหมือนกัน ซึ่งผมในฐานะผู้ปฏิบัติการในระดับรากหญ้า ไม่อาจปฏิเสธในบางสิ่งบางอย่าง คงได้กลับมาคุยกัน ตอนนี้ขอมองภาพใหญ่ ที่ใช้ "เงินและคน"เยอะมาก และน่าจะเป็นต้นเหตุของปัญหาใหญ่

ปัญหาคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยตกต่ำ จริงๆก็ส่อเค้าให้เห็นมาหลายปีแล้ว แต่นักวิชาการและผู้บริหารระดับสูง ที่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองและไม่สามารถเป็นตัวของตัวเอง ก็จะคิดวิธีการใหญ่ๆ คิดเทคนิคกระบวนการที่ต้องพึ่งพาและผูกโยงกับเทคโนโลยี มีการตั้งคณะกรรมการ อนุมัติงบประมาณมหาศาล พร้อมจัดประชุมครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่ กระทรวง สพฐ. เขตพื้นที่...โรงเรียน

ผมตั้งข้อสังเกตว่า การประชุม อบรมสัมมนาในโครงการต่างๆ ของสพฐ.เขาทำเพื่อแก้ไขอะไรกันแน่ โครงการมากขึ้นทุกปี คิดใหม่ไปเรื่อย และของเก่าสำเร็จหรือยัง แล้วทำไมเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้...จึงมีเต็มบ้านเต็มเมือง  เอาอย่างนี้ดีไหมครับ

๑. ศธ.,สพฐ. ต้องลดการดำเนินงานโครงการลงครึ่งหนึ่ง แล้วจะเกิดอะไรขึ้น

        - งบประมาณใช้น้อยลง/มีคนทำงานโครงการมากขึ้น(ช่วยกันทำ)

        - บุคลากรบางส่วน ไปนิเทศติดตามงานโครงการเก่า แก้ไขและปรับปรุง

        - เมื่อโครงการน้อยลง ศึกษานิเทศก์และข้าราชการของเขต ก็ไม่ต้องทิ้งงานมีเวลาพัฒนางานในเขตพื้นที่การศึกษามากขึ้น

๒.สพฐ. ต้องคิดโครงการที่ตรงประเด็น สอดคล้องกับสาระวิชาทั้ง ๘ สาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เท่าที่ผ่านมา ทำโครงการใหม่ที่ห่างไกล"คุณภาพ"การเรียนการสอน มักจะเป็นเพียงงานสนับสนุนเท่านั้น

๓. ศึกษานิเทศก์ ซึ่งปัจจุบันแบ่งงานตามกลุ่มสาระวิชาอยู่แล้ว ถ้าสพฐ. กับรัฐบาล(สำนักงบประมาณ) คุยกันให้ดี จัดประชุมอบรมสัมมนาครั้งใหญ่ มอบนโยบาย ครบถ้วนกระบวนความและมอบเครื่องมือนิเทศงาน(ตามข้อ๒)โดยดำเนินการให้เสร็จสิ้นในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของทุกปี

๔. เขตพื้นที่การศึกษา ไม่ต้องทำโครงการใหม่ เพราะสพฐ.คิดแทนให้แล้ว ถ้ายังดื้อคิดทำเพื่อใช้งบให้หมดไป ก็ต้องเดือนร้อนครู ทิ้งห้องเรียนไปอบรม แต่เขตจะทำโครงการได้เฉพาะ งานที่สำคัญที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนจริงๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละเขต

๕. เขตพื้นที่ต้องบูรณาการหลอมรวมงาน/โครงการให้เป็นเนื้อเดียวกัน อย่าคิดใหม่ทำใหม่แต่ก็วนแต่กิจกรรมเดิม วิทยากร(เจ้าหน้าที่)ก็คนเดิม ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ฝ่ายบุคลากรและฝ่ายนโยบายและแผน คุยกันซะ โครงการจะได้น้อยลง บางเรื่องแจ้งเป็นเอกสารและนำเข้าที่ประชุมผู้บริหารประจำเดือนก็ได้

๖. ท้ายสุดเงินงบประมาณที่เหลือไปไหน ก็นำไปใช้ด้านพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ในการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลการทำงานของโรงเรียน เพื่อเร่งรัดพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจัง โดยกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน

ผมนำเสนอเช่นนี้ เนื่องจากส่วนราชการที่ผมเอ่ยถึง ล้วนมี"ปริมาณ" งานโครงการมากมายเหลือเกิน แทบมองไม่เห็นว่าจะเกิด "คุณภาพ"ได้เลย หลายโครงการในแต่ละปี ไม่น่าสนใจ ไม่เร้าใจ บางเรื่องวิทยากรกับครูรู้เท่ากัน สิ่งที่น่าเป็นห่วง ถ้าไม่รีบแก้ ก็จะกลายเป็นวงจรน้ำเน่า

เพราะ มหาวิทยาลัยราชภัฎ...จังหวัด...โรงพยาบาล....เทศบาล...อบต. ก็มีโครงการประชุมอบรมครูเหมือนกัน..คิดดูเถิด จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อครูทิ้งเด็กซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ปีการศึกษา ๒๕๕๖..เดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา บางโรงเรียนเปิดสอนจริง ๔ วัน ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 547643เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2013 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เดี๋ยวนี้การนิเทศติดตามงาน เขาใช้ระบบให้รายงานผ้่าน e-office มันรวดเร็วทันสมัยดี ไม่เปลืองน้ำมัน  หรือจะให้ยากลำบากหน่อย ก็เอาแบบฟอร์มมาทิ้งไว้ให้โรงเรียน แล้วมาเก็บคืนวันหลัง... จะให้ผลงานสวยหรูแค่ไหน  ก็เนรมิตเอา  แล้ว ใครหน้าไหนจะรายงานให้ตัวเองติดลบล่ะจ๊ะ

ผมเแ็นผู้ถูกกระทบจากผลการศึกษาเพราะหลานและลูกมีแัญหาในทำนองเดียวกันคือปัญหาความสามารถของผู้สอนโดยเฉพาะสายวิชาการหลัก เช่น เคมี ชีว physic คณิตศาสตร์ อาจารย์ในโรงเรียนในพื้นที่ต่างจังหวัดความรู้ไม่แน่นพอทีจะสอนให้เด็กเข้าใจได้เด็กบ่นกันมากพอถามก็จะถูกครูผู้สอนกล่าวหาว่าลองภูมิ กระทรวงศึกษาควรให้บุคคลที่จบสายตรงมาเป็นอาจารย์เหมือนในอดีตก่อนปี 2527 จะดีใหม่ เพราะในปัจจุบันอาจารย์ที่มีความรู้ทางสายวิชาการอย่างแท้จริงที่เป็นหลักให้โรงเรียนต่างๆเกษียณราชการเกือบหมดแล้ว ทำให้การประเมินผลทางสายวิชาการได้ผลอยู่ในเกณต่ำมาตลอด เด็กไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ได้

เป็นหนึ่งกำลังใจค่ะ...มีความสุขสนุกกับการทำงานนะคะ

...คิดดูเถิด จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อครูทิ้งเด็กซ้ำแล้วซ้ำเล่า...

Yes, reform after reform just like packaging materials getting used and thrown away, not ever have a chance to recycle, reuse and rectify. If Thailand's education system is to evolve for the better, MOE must withdraw from broadbrushing policies and 'allow local evolution to occur' then 'select and support' evolutions that prove 'good for students' and communities sso that such evolutions become 'asperations' or models for further evolution.   

ครูนกเห็นด้วยทุกประการ...ค่ะ
ไม่มีครูคนใดอยากทิ้งห้องสอนหรอกค่ะ

เยี่ยมค่ะ ส่งข้อเสนอไปยัง อยากให้ความคิดเห็นของท่านถึงคุณจาตุรนต์ค่ะ

อยากเห็นโครงการต่างๆเกิดที่โรงเรียน เป็นโครงการที่เริ่มที่โรงเรียนแก้ปัญหานักเรียน

จะได้ไม่ต้องทิ้งชัดเรียน นอกจากนี้การรายงานแก่เขต สพฐ บางอย่างก็ซ้ำซ้อน รายงานแล้วรายงานอีก

ครูไม่ต้องทำอะไรกันเลย

ขอบคุณผอ.มากครับ

ส่งกำลังใจ ไปช่วยการแก้ไขปัญหา นะคะ “เด็กเป็นศูนย์” การเรียน การสอน นะคะ

ลืมไปว่าจะเอาน้องตุ๊กตามาล่อ แถมคนสอนสวยๆชาวเกาหลีด้วยไหม

555

คุณแสงแห่งความดีส่งมาให้ครับ ผอ.ว่างเมื่อไรมารับไปนะครับ

กิจกรรมดีๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งปัจจุันและอนาคต ชอบกิจกรรมที่ใช้สอนเด็กแบบนี้นะคะ

งานของคุณครูซ้ำซ้อนจนน่าเบื่อไม่เป็นอันสอนหนังสือ พอๆกับงานที่มาจากสพป.ที่ส่งมาแบบไม่กลั่นกรอง

ก่อให้เกิดปัญหาการทิ้งเด็กเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้แล้ว ขอบคุณค่ะ

 

"คิดใหม่ ทำใหม่"  เน้นการสร้างภาพ.. เน้นการสร้างคุณค่าเทียม..เพื่อบดบังคุณค่าแท้
เน้นการสร้างมูลค่า เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจและการเมือง ของผู้ใหญ่ที่ขาดหิริโอตตัปปะ...

 

เป็นกำลังใจให้คุณครูเพื่อศิษย์ ที่ยังเหลืออยู่นะครับ...

 

ขอบคุณอาจารย์ที่กล้าให้ความจริง เพราะได้ยินสื่อพูดยังไม่อยากจะเชื่อ ตอนนีัเข้าใจแล้วครับว่าปัญหาส่วนใหญ่ มาจากนักการเมืองไม่ใช่ครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท