เพื่อนสอนเพื่อนครูเติมเต็ม


          ด้วยจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนเคมีมีเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลข 55 คนต่อห้อง (บางห้องอาจมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ประมาณหนึ่งคนค่ะ) ทำให้การสอนปฏิบัติการทดลองต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ
          วันนี้เป็นการทดลอง "เตรียมสารละลายโดยวิธีการตรงและวิธีการอ้อม"
          เด็กๆ จำเป็นต้องฝึกทักษะการชั่งสาร และการวัดปริมาตรโดยใช้ปิเปปต์
          ดังนั้น

  1. ต้องทบทวน ฝึกฝนและเพิ่มเติมเรื่องการพับกระดาษชั่งสาร พร้อมสอนเทคนิคการถ่ายเทสารด้วยกระดาษชั่งสาร  (หากถามว่า ทำไมต้องสอนทักษะย่อย  ครูนกตอบว่า  ทักษะย่อยๆ จะทำให้ทักษะหลักสมบูรณ์ลดความผิดพลาดและความเสี่ยงในการทดลอง)
          วิธีการที่นำมาใช้เพื่อให้เหมาะกับจำนวนนักเรียนคือ
  • สอนตัวแทนกลุ่มด้วยตัวครูนกเอง จนเกิดความมั่นใจว่าทำได้
  • ตัวแทนกลุ่มไปถ่ายทอดวิธีการสู่เพื่อนๆ ภายในกลุ่ม
               
  • ผลลัพธ์ที่ได้
  • นักเรียนทุกคนได้รับการถ่ายทอดอย่างใกล้ชิดเหมือนได้เรียนรู้กับครู
ทำให้ได้กระดาษชั่งสารที่พับเรียบร้อยเพื่อให้พี่Labboy นำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้ (เด็กๆ เขาบอกว่าครูนกว่า พับไม่สวยเลยครู  ครูนกบอกว่าเป็นรูปทรงใส่สารได้ถ่ายเทออกก็ถือว่าดีแล้วค่ะ
           
      หมายเหตุ กระดาษชั่งสารโรงเรียนเราสีแบบนี้เพราะประยุกต์จากกระดาษว่าวมีสีนี้เพาะสีขาวขาดตลาดค่ะ
2.  ต้องฝึกฝนการใช้ปิเปปต์ซึ่งสอนทั้ง Transferring pipette และ Measuring pipette  เพื่อให้การทำปฏิบัติการการทดลองเคมีตลอดปีการศึกษา 2556 ราบรื่น สอนเหนื่อยครั้งแรกแต่สบายในการทดลองครั้งต่อๆ ไป

                             
     วิธีการ
     -  ให้นักเรียนที่มั่นใจว่าตนเองใช้ปิเปปต์ได้มาสาธิตให้เพื่อนๆ (เสียงเรียกร้องจากเพื่อนๆ และเจ้าตัวยินยอม) ทำให้งานนี้พระเอกของเรื่องค่ะ
    -   พระเอกของเรื่องสาธิต ครูก็ค่อยเติมเต็มส่วนที่ขาด คอยปรับส่วนที่เกิน
    -   หลังจากสาธิตแต่ละกลุ่มฝึกฝนให้สมาชิกในกลุ่มตนเองมีทักษะและความพร้อมในการใช้ปิเปปต์
     ผลลัพธ์ที่ปรากฏ
     -  นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้สัมผัสและปฏิบัติการใช้ปิเปปต์ทุกคน

สรุปวันนี้ครูนกสามารถนำนักเรียนจำนวน 55 คนให้เรียนรู้จากการลงมือทำได้ทุกคนในรูปแบบเพื่อนสอนเพื่อน ทำให้การสื่อสารชัดเจน และเข้าใจง่ายๆ สำหรับเด็กๆ  ทำให้ตัวเลขของจำนวนนักเรียนไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอนปฏิบัติเลยค่ะ


    



     




หมายเลขบันทึก: 543601เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณครับ เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ 

จะลองนำเทคนิคไปใช้เป็นวิจัยในชั้นเรียนบ้างค่ะ ขอบคุณที่นำมาแชร์นะคะ 

พี่นกเห็นขั้นตอนการสอนเลยครับ

ชื่นชมครูคนเก่งครับ

ชื่นชมความสามารถในการแก้ปัญหา ของคุณครูนกฯ ค่ะ

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากทุกๆท่าน มีความสุขในวันศุกร์นะค่ะ

คุณ Mr_Jod
อาจารย์ อ.นุ
พี่ โอ๋-อโณ
น้อง ขจิต ฝอยทอง
น้อง nobita
คุณ เขียวมรกต
คุณ บุญส่ง
อาจารย์ ชยพร แอคะรัจน์
คุณครู อิงจันทร์ ณ เรือนปั้นหยา
คุณ พ.แจ่มจำรัส
นมัสการค่ะ ท่าน อภัยได้ จงอภัย
คุณ tuknarak
อาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา
อาจารย์ ไอดิน-กลิ่นไม้
คุณครู ชยันต์ เพชรศรีจันทร์
คุณ "พี่หนาน"
คุณ ตุ๊กตา ครูปทุม
คุณ นิตยา

อ่านแล้วเป็นแรงบันดาลใจค่ะ ตอนนี้เอาเทคนิคนี้ไปใช้แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท