แกงสะแล หอมปลาย่าง หวานอมเปรี้ยวน้ำมะเขือเทศ น้ำกลมกล่อมด้วยสมุนไพรเพื่อสุขภาพและอร่อย


แกงสะแล

สะแล เป็นอีกพืชสมุนไพรที่มารู้จักและได้ชิมที่เชียงใหม่ น่าจะเป็นต้นไม้ทางเมืองเหนือด้วย เพราะหาชื่อภาคกลางไม่พบรวมทั้งไม่ทราบสรรพคุณเฉพาะสะแล ในหนังสือเลย สะแลไม่ได้พบบ่อยนัก แต่ช่วงนี้กำลังมีขายในตลาดให้พอซื้อมาทำอาหารได้ ไม่มีทั้งปี ได้ลงมือแกงเมืองเองแบบไม่ยากดู ก็คือแกงสะแล ก็ทำได้อร่อยเหมือนกัน(ชมเองเลย) และน้องตูมกับน้องหมอป.ก็ได้ทันชิมนิดหน่อย

ก่อนที่จะเขียนบันทึกนี้ได้ค้นหาภาพต้นสะแล ดีใจที่ได้พบใน gotoknow

เขียนโดยคุณเจษฏา นำมาฝากด้วยนะคะ คือบันทึก " สะแลไม่แลไม่ได้แล้ว "


ขอบคุณภาพและข้อมูลสะแลจากบันทึกคุณเจษฏา

http://www.gotoknow.org/posts/476080


แกงสะแล



 เครื่องแกง 

พริกแห้ง 10 เม็ด,  กระเทียม  10  กลีบ , หอมแดง 10  หัว  ,ขมิ้น 2 แว่น  , กะปิ 1/2 ช้อนโต๊ะ

 ตำรวมกันให้ละเอียดหากไม่มีครก ใส่โถปั่นให้ละเอียดได้เช่นกัน



ถั่วเน่าแผ่น อบหรือปิ้งให้สุกหอม หากมีปลาร้าใส่น้ำปลาร้าได้ (หรือจะไม่ใส่ทั้ง 2 อย่างก็ได้)


ตำแผ่นถั่วเน่าที่สุกตำให้ละเอียดแล้วแบ่งพริกแกงที่ตำรวมไว้

ให้พอเหมาะกับสะแลและปลาที่จะแกง พริกแกงและถั่วเน่าตำรวมกัน ถ้าใช้น้ำปลาร้าใส่ตอนปรุงรส



ปลาย่างใช้ปลาย่างตามที่ชอบได้ทุกอย่าง หรือจะใช้เนื้อสัตว์อื่นๆก็ได้

ต้มในน้ำเืดือดพอปลานิ่มตักขึ้นมาพักพอเย็นแล้วแกะก้างออก



มะเขือเทศ ได้พันธุ์ที่มีรสเปรี้ยวยิ่งดี ล้างให้สะอาดผ่าครึ่งไว้




น้ำที่ต้มปลา เติมน้ำให้พอเหมาะกับสะแล พอเดือดแล้วนำพริกแกงใส่ ใส่เนื้อปลา ใส่มะเขือเทศ เคีี่่ยวไปสักพักเพื่อให้น้ำมะเขือเทศออกมารวมกับเครื่องปรุงและปลา ชิมดูก่อนว่าขาดรสอะไร ก่อนจะปรุงรสอื่นปรุงรส เช่น น้ำปลา เกลือ หรือเพิ่มมะเขือเทศให้เปรี้ยว




สะและตอนเราซื้อมานั้นยังมีขั้วที่แข็งที่เด็ดออกมาจากกิ่ง

เด็ดออกเลือกแต่อ่อนๆ เพื่อไม่สะดุดความแข็ง




เมื่อได้อ่อนๆแล้วล้างให้สะอาด นำใส่หม้อแกงที่ปรุงน้ำไว้พอสะแลสุกก็ใช้ได้




แกงสะแลปลาย่าง รสน้ำหอมหวานเปรี้ยวกลมกล่อม และได้รสมันจากสะแล

ข้าวนึ่งอุ่นๆ กับแกงสะแล หรือข้าวสวยก็ได้ อร่อยมากค่ะ


แกงเมืองของทางเหนือ เครืองปรุงน้ำพริกจะคล้ายๆกันเพียงแต่เปลี่ยนพืชผักสมุนไพร รวมทั้งการใส่ปลาร้าหรือถั่วเน่าแผ่น หรือไม่ใส่ และเนื้อสัตว์ หากไม่ใส่ปลาย่างก็จะใส่กระดูกหมู แทนกันได้ เป็นอาหารที่ทำไม่ยาก และใช้ผักธรรมชาติ ปลอดสารพิษ มาแกง เช่น แกงผักเสี้ยว แกงผักเชียงดา แกงขนุนอ่อน  แกงผักเฮือด แกงผักขี้หูด แกงชะอม  แกงปลี  แกงถั่วแบบ แกงยอดมะรุม ฯ ซึ่งไม่ต้องใส่น้ำตาล น้ำแกงได้ความหวานจากสมุนไพรต่างๆที่อยู่ในหม้อ อาหารแกงพื้นเมืองจึงดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเกิดขึ้นในร่างกายอาหารพื้นเมืองที่มีสมุนไพรหลายอย่างในหม้อเดียวจึงเป็น อาหารสมุนไพรเป็นยาอย่างดี  แกงเมืองที่ปรุงเครื่องแกงคล้ายๆกันนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีการใส่น้ำมันเลย (กรณีไขมันมาจากปลาหรือหมู ตอนเราต้มก่อนใส่เครื่องแกง ไขมันจะลอยอยู่บน ถ้ามากก็ควรจะค่อยๆช้อนตักทิ้งไป ) น้ำแกงจึงตักใส่ข้าวหรือซดอุ่นๆได้อย่างคล่องคอและสบายใจ

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 520240เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2013 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

พี่กานดาครับ นึกไม่ออกว่าภาคกลางเรียกว่าอะไร แต่น่ากินมากๆ

ตอนนี้เป็นหน้าดอกสะแลทางเชียงใหม่หรือคะ เพิ่งเคยได้ยิน

คุณดาแกงได้หน้าตาชวนคดข้าวหมดหม้อ พี่ทึ่งและชื่นชมคุณดาจริงๆที่มีความรู้เรื่องพืชผักไทย พืชผักพื้นบ้านแล้วสามารถนำมาทำอาหารได้น่ากิน ชวนให้ค้นคว้า เรียนรู้และหามาทำกินบ้าง

อีกหนึ่งเมนูดีๆ..มีความสุขด้วยนะคะ..

สะแล  แลๆดูทั้งนาน เหมือนจะรู้จัก แต่ไม่รู้จักสะแล

ไม่ได้ทานมานานมากเลยค่ะพี่ดา..

นั่นซิค่ะพี่ดา  อยากรู้เหมือนกันว่าภาษากลางเค้าเรียกอะไร  แกงสะแล ลำแต้ๆ ค่ะ

มีไม้แปลกๆทานได้มาทำให้ทานอย่างสม่ำเสมอเลยนะคะพี่ดา

น่ากินมากครับ...อาหารเหนือน่าสนใจมากครับ

ผมคนเหนือแท้ๆ ยังไม่เคยแกงกินเองเลย ได้แต่ซื้อเขากินบ่อยๆเมื่อถึงฤดู (คือช่วงนี้แหละครับ) เพราะคนที่แกงขายหลายเจ้ามีฝีมือดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท