เทคนิคพี่เลี้ยง : ติ เพื่อ ต่อ(ยอด)


พี่เลี้ยงเปรียบเทียบโค้ช ที่ช่วยชี้แนะ จูงไปสู่เป้าหมาย

สวัสดีครับ
วันนี้ขอเล่าประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้พบกับพี่เลี้ยง 2 ท่าน คือ 1. คุณบุญทิพย์ นิ่มสอาด (คนนั่งซ้ายมือของผมในภาพ) และ 2. คุณบุญรักษา เกษเจริญคุณ (คนนั่งขวามือของผมในภาพ) ทั้งสองท่าน ได้รับมอบหมายให้เป็นจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 




ทั้ง 2 ท่าน ที่เป็นพี่เลี้ยงที่น่ารัก มีความเอื้ออาทรต่อสมาชิกของเครือข่ายวิชาชีพรังสีการแพทย์ จังหวัดขอนแก่น ในการออกเยี่ยมโรงพยาบาลในเครือข่ายฯ เพื่อพัฒนาทักษะของบุคลากรในเครือข่าย เพื่อเรียนรู้เทคนิคการเป็นพี่เลี้ยง

ติ เพื่อต่อ(ยอด)
หลายคนมักกล่าวว่า ผู้ประเมิน หรือ พี่เลี้ยง เป็นพวกชอบจับผิด ชอบหาเรื่องติไปเรื่อยๆ อย่างโน้นก็ไม่ดี อย่างนี้ก็ไม่ใช่  ชอบการเปลี่ยนแปลง



พี่เลี้ยง ก็เหมือนโค้ช มักจะนำประสบการณ์ของตนมาใช้ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง



พี่เลี้ยง ก็ เป็นคน 


พี่เลี้ยง ก็ ทำผิดพลาดได้ 


พี่เลี้ยง แต่ละคน มีประสบการณ์ มีทักษะที่แตกต่างกัน
พี่เลี้ยง ที่ดี ช่วยสร้างทางสุข ทางไปสู่ความสำเร็จได้ ง่ายขึ้น


ถ้าหากใครเป็นแฟนกีฬา จะเห็นว่า บางสโมสรกีฬา เปลี่ยนโค้ช บ่อยๆ เพราะโค้ช ที่ทำงานแล้ว ผลงานไม่เข้าตาเจ้าของสโมสร ไม่ประสบความสำเร็จ มักต้องออกจากงาน เปลี่ยนงาน จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง

 
แต่หากท่าน สามารถเข้าถึงใจของพี่เลี้ยง 
ท่านจะพบว่า...
การเป็นพี่เลี้ยง การเป็นโค้ช ไม่ใช่เรื่องง่าย 
เพราะ บุคลากรเหล่านี้ ต้องฝึกฝน ต้องศึกษาเรียนรู้เทคนิคในด้านต่างๆ ต้องพยายามทำความเข้าใจมนุษย์ ต้องมีความอดทน ต้อง.... ฯลฯ


 
เพราะฉะนั้น อย่าแปลกใจ กับ... คำติ หรือ คำชม ของพี่เลี้ยง


คำติ ที่ดี สามารถนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง 
ติ เพื่อ ต่อยอด

 
ติ เพื่อ ก่อ...การดี มากกว่า ก่อ...การร้าย


คำติ (ที่ดูไม่ เหมาะสม) ก็ ทำเป็นเชยๆ ไปก็แล้วกัน

เพราะบางครั้งพี่เลี้ยงบางคนนำมาตรฐานสากล มาจับกับมาตรฐานภูธร ครับ


คำชม เป็นพลัง ให้สู้ต่อไป



ไม่มีอะไรดีที่สุด 
เพราะ ถ้าดีที่สุดแล้ว ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง  

เทคนิคพี่เลี้ยง ที่ผมได้เรียนรู้ คือ การติ


ติ เมื่อ เห็นว่า สิ่งนั้น ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ 


ติ เมื่อ เห็นว่า สิ่งนั้น อาจนำมาสู่ ความเสี่ยง 


การลงพื้นที่ การมอง สังเกต คิด วิเคราะห์ ในมุมต่างๆ + ประสบการณ์


การร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างทีมพี่เลี้ยง เป็นเรื่องสำคัญ 


การพูด การฟัง เป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการเป็นพี่เลี้ยงที่ดี

พี่เลี้ยง ช่วยมองต่างมุม มองมุมต่างๆ 


แล้ว... พี่เลี้ยงของเครือข่ายรังสีการแพทย์ จะออกมาอย่างไร? 



บุคลากรหลายคน.... คงต้องฝึกฝน ต้องเรียนรู้ ต้องสร้างสรรค์ผลงานกันต่อ ไป 


โปรดติดตามต่อไปนะครับ


หมายเลขบันทึก: 509882เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2012 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท