การใช้หลักชีววิทยาเบื้องต้น ควบคุมการใช้อาหาร และสะสมอาหารสำรองในร่างกาย


การใช้หลักชีววิทยาเบื้องต้น ควบคุมการใช้อาหารสะสมในร่างกาย

โดยการทำงานของระบบปกติของร่างกายนั้น มีแนวโน้มที่จะพยายามสะสมอาหารสำรองไว้เพื่อความปลอดภัยของชีวิต
โดยไม่มีระบบรับรู้ว่าในสภาพแวดล้อมภายนอกรอบๆที่ร่างกายอยู่นั้น ว่าจำเป็นต้องสำรองอาหารหรือไม่
เท่าใด

ดังนั้น โดยหลักการทางชีววิทยา จึงเป็นหน้าที่ของสมอง
ที่จะประเมินและประมวลข้อมูล โดยใช้ ตา หู เป็นตัวเก็บข้อมูล

แต่คนจำนวนมาก มิได้ใช้หลักการนี้

กลับปล่อยให้ร่างกายที่ไม่มีระบบรับรู้ข้อมูลภายนอกตัดสินเอง
และใช้กระเพาะอาหารเป็นเครื่องมือต่อรองให้มีการบริโภคอาหารเข้าสู่ร่างกาย

 

บางคนหนักกว่านั้น

กลับไปฝึกกระเพาะให้ชินกับการต่อรองมากขึ้นไปอีก
เช่น ฝึกจนกระเพาะชินกับการรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย วันละ 3 เวลา เป็นต้น

และที่หนักสุดๆ ก็คือปล่อยให้กระเพาะต่อรองแบบไม่จำกัดเวลา
ไม่จำกัดปริมาณ และจำนวนครั้ง

โดยไม่เคยคิดทบทวนว่า ร่างกายเราต้องการอาหาร
ตามที่กระเพาะเรียกร้องมานั้น จริงหรือไม่ อาหารที่เคยกินไปนั้น
ใช้ไปมากเท่าไหร่แล้ว เอามาใช้บ้างหรือยัง

ทำอะไรก็ใช้กระเพาะนำทางในการตัดสินใจ

กระเพาะอาหารจึงทำงานแบบปราศจากความจำเป็นที่แท้จริงของร่างกาย
และทำงานแบบปราศจากการควบคุมของระบบข้อมูลที่ถูกต้อง

ร่างกายที่มีกระเพาะแบบนี้ ก็ต้องตอบสนองกระเพาะอาหาร
สั่งให้มีการหลั่งน้ำย่อย และ หาที่เก็บอาหารกันจ้าละหวั่น

ตรงไหนพอเก็บๆ แทรกๆไว้ได้ ก็วางไว้ก่อน

ถ้าระบบร่างกายยังทำงานดี ก็จะเก็บเป็นที่
และเก็บถูกที่ ก็จะไม่มีปัญหาอะไรมากนัก นอกจากน้ำหนักเพิ่ม

แทบไม่มีโอกาสที่จะนำอาหารสะสมสำรองไว้มาใช้เลย

พอน้ำตาลในเลือดต่ำนิดหน่อยก็งอแง
หลอกให้เรานำอาหารมาเพิ่มให้กับร่างกาย

แต่พอเก็บไปนานๆ มากๆ ก็อาจจะมีความผิดพลาดในการเก็บ
ได้บ้างไม่ได้บ้าง และมักเกิดปัญหาจากการมีอาหารเกิน ทั้งบางส่วนและทั้งระบบ
เกิดได้สารพัดโรคเลยละครับ ทั้งไขมัน ทั้งเบาหวาน และพรรคพวก แบบมาเป็น
"กระบวน"

นี่คือผลของการปล่อยให้กระเพาะนำทางในการดำรงชีวิต

แต่บางคนก็ปล่อยให้ร่างกายที่ทำงานผิดพลาด
ไม่เข้ใจความจริงของทรัพยากร และสภาพแวดล้อม มานำทางแทน

ที่อาจเป็นตัวหลอกให้กระเพาะแสดงอาการก่อกวน
ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ร่างกายยังไม่ขาดอาหาร

นี่ก็อีกปัญหาหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการสะสมอาหารเกินความจำเป็น

ดังนั้น เมื่อเรารู้ดังนี้แล้ว
เราก็ควรทำในสิ่งที่ถูกต้องกว่า

นั่นก็คือ

ใช้สมองเป็นตัวควบคุมการสะสมอาหาร ว่าควรจะบริโภคมากน้อย
เมื่อไหร่ เท่าไหร่ อะไรบ้าง ที่จำเป็นต่อร่างกายจริงๆ

ไม่ควรปล่อยให้กระเพาะ หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ที่ไม่มีระบบรับรู้ปัจจัยภายนอกเป็นตัวตัดสินแทนร่างกาย
และสมอง

นี่คือหลักชีววิทยาเบื้องต้น
เพื่อความเข้าใจในการทำงานของร่างกาย และการดำรงชีวิตที่ "ถูกต้อง" ครับ

ไม่ได้เกี่ยวข้องกับฌาน สมาธิ หรือการบรรลุใดๆ
ก็แค่หลักชีววิทยาเบื้องต้น เท่านั้นเอง

5555555555555555555555555

 

หมายเลขบันทึก: 509876เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2012 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2012 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

บางครั้งสมองมักรับรู้ว่ามีของอร่อยอยู่ตรงหน้า แล้วสั่งให้ร่างกายหยิบมันขึ้นมากิน อย่างอดไม่ได้น่ะค่ะอาจารย์

ไม่ใช่สมองครับ ตัวกิเกสต่างหาก อย่าปนกันจะสับสนครับ อิอิอิอิอิ

ใช่ ใช่ ใช่ อาจารย์ เป๊ะมาก ขอบตุณคร้าบ

The late venerable Buddhadaasa had said "learning to know clearly 'what is what' is in the nutshell what Buddhism is all about".

But I have wondered if our stomach (or hunger) is another (common) 'sense' for some years. And if so there is a case to heed our stomach (but not to make it grow and grow... ;-)

ผมคิดว่าสิ่งที่มีข้อมูลมากกว่าน่าจะเป็นตัวตัดสินใจครับ สิ่งที่ข้อมูลน้อยเป็นตัวแปรตามครับ อิอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท