กฐินโบราณ : ฮีตสิบสองคองกิจกรรม (หอมกลิ่นกฐินใจ)


สิ่งหนึ่งของกฐินโบราณที่ผมเคยวางระบบไว้และยังสานต่อมาอย่างน่าชื่นชมในทุกๆ ครั้งก็คือ “กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นพื้น” อันหมายถึงการรณรงค์ชักชวนให้ชาวบ้านจัดงานกฐินด้วยความเรียบง่าย สมถะ ไม่ฟุ่มเฟือย

 

 

กฐินโบราณ : ภาพสะท้อนการสอนงาน..สร้างทีม



การบุกเบิกริเริ่ม- อาจไม่ได้หมายถึงความเข้มแข็งและยั่งยืนเสมอไป  เพราะเป็นเพียงระยะต้น หรือปฐมบทเท่านั้น  ต่อเมื่อมีการลงมือปฏิบัติซ้ำเรื่อยๆ  จึงอาจพยากรณ์ได้บ้างกระมังว่า “นั่นคือแนวโน้มของความเข้มแข็ง...ยั่งยืนในสิ่งที่ได้บุกเบิก-ริเริ่ม”

เช่นเดียวกับการที่เราได้บุกเบิกริเริ่มสิ่งใดไว้แล้ว  เมื่อมีคนมาสานต่อ และสืบปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง  สิ่งเหล่านั้นถือได้ว่าเป็น “ความสำเร็จ”  ของการทำงานในวิถีของการ “สอนงาน สร้างทีม”  ตามครรลองของผม


ครับ, โครงการกฐินโบราณที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555  ณ บ้านหัวหนอง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม  ได้เกิดขึ้นและดำเนินไปในทำนองเดียวกับที่ผมกล่าวอ้าง  เพราะจากวันนั้นถึงวันนี้  กฐินโบราณที่ผมและน้องๆ  ในสังกัดกลุ่มงานกิจกรรมนิสิตได้บุกเบิกไว้ได้ก่อเกิดและดำเนินไปอย่างต่อเนื่องครบ 5  ปีพอดิบพอดี 

 


 

เดิมกิจกรรมดังกล่าวรับผิดชอบหลักโดยบุคลากรของกลุ่มงานกิจกรรมนิสิต  ซึ่งผมมอบหมายให้คุณสมปอง
มูลมณีและทีมงานเป็นผู้รับผิดชอบ
 ส่วนนิสิตอยู่ในฐานะของผู้ร่วมเรียนรู้- 
เรียนรู้ร่วมกันระหว่าง“นิสิตกับเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน”

 

หากแต่วันนี้คุณสมปอง มูลมณีได้ย้ายไปบรรจุเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  การงานดังกล่าวจึงเป็นเสมือนการชี้วัดว่ากระบวนการ“สอนงานสร้างทีม”  ที่ผมเพียรพยายามขับเคลื่อนและบ่มเพาะไว้ในองค์กรมาอย่างยาวนานนั้น  บัดนี้ได้ก่อเกิดมรรคผลแค่ไหน  (เพราะเมื่อไม่อยู่แล้ว...ใครทำแทนกันได้บ้าง)


ครับ, ประเด็นนี้ท้าทาย และชวนค่าต่อการพิสูจน์เป็นที่สุด ยิ่งเมื่อผมไม่ได้ข้องแวะกำกับดูแลเหมือนกาลก่อน  ยิ่งต้องมองว่าหัวหน้าคนใหม่  จะสามารถบริหารจัดการอย่างไร  จะปลุกเร้าการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้กี่มากน้อย
หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่เองก็เถอะ  จะประสานพลังเป็นหนึ่งเดียวกันได้ซักกี่ยก รวมถึงจะสามารถนำเอาชุดบทเรียนจากปีที่แล้วมาปรับแต่งใหม่ หรือแม้แต่การนำมาต่อยอดให้เกิดพลังมากกว่าครั้งที่แล้วได้ที่มากน้อยและอย่างไร 


งานนี้มันต้องใช้พลังอย่างมหาศาล ...พลังที่ผมเรียกมันว่า “ใจนำพา ศรัทธานำทาง” นั่นเอง

นั่นคือบทพิสูจน์ หรือภาพสะท้อนความเข้มแข็งและยั่งยืนในมิติการ “สอนงานสร้างทีม”  ในกลุ่มบุคลากร


ส่วนกรณีของนิสิตนั้น  เป็นที่น่าชื่นชมว่าสองปีให้หลัง องค์การนิสิตได้บรรจุกิจกรรมกฐินโบราณไว้ในแผนงานของนิสิตเอง  กรณีเช่นนี้ ผมถือว่าเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นใจ เนื่องเพราะเป็นการผ่องถ่ายความคิดสู่นิสิต  เสมือนเพาะ ”เมล็ดพันทางปัญญา” แล้วงอกงามขึ้น  โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องลงมือทำเองเหมือนในอดีต  แต่ได้ถอยออกมาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา หรือ “โค้ช” แทน  พร้อมๆ กับการปล่อยให้นิสิตได้เป็นพระเอกนางเอกร่วมกับชาวบ้านอย่างเต็มสูบ

 
การที่นิสิตรับช่วงกิจกรรมไปบรรจุในแผนตนเองนั้น  ผมถือเป็นอีกแนวโน้มหนึ่งของการสะท้อนถึงความเข้มแข็งและยั่งยืนที่กำลังก่อตัวขึ้น



 

กฐินโบราณ  :  มหกรรมทำมือของนิสิตกับชาวบ้าน


 


กฐินโบราณ  เรียกอย่างเป็นทางการว่า  “จุลกฐิน-กฐินแล่น”  แต่ผมชื่นชอบที่จะเรียกว่ากฐินโบราณ เพราะต้องการสร้างวาทกรรมให้ขรึมขลัง เร้าความสนใจ  เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง“ชาวบ้านกับนิสิต” หรือแม้แต่ประชากรอื่นๆ เช่น เจ้าหน้าที่และภาคีต่างๆ

การงานเช่นนี้โถมพลังสร้างสรรค์ให้แล้วเสร็จในวันเดียว  นับตั้งแต่เย็บผ้าดิบสีขาวด้วยเข็มเล็กๆ  เป็นจีวร  จากนั้นก็นำไปย้อมด้วยเปลือกไว้ เพื่อถอด/ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์  เครื่องกฐินทุกประเภทเป็นงานสร้างสรรค์ด้วยมือล้วนๆ ไม่มีการจัดซื้อสำเร็จจากร้านรวงที่ไหน  ทั้งนิสิตและชาวบ้านต้องลงแรงกายและลงแรงใจร่วมกัน 

 ซึ่งผมเคยเรียกการงานแห่งชีวิตเหล่านี้ว่า “มหกรรมทำมือ” หรือ “หอมกลิ่นกฐินใจ”

ส่วนการงานอื่นๆ นั้น  ล้วนรังสรรค์ขึ้นในทำนองเดียวกัน  เป็นการขับเคลื่อนเชิงสาธิตและเรียนรู้ร่วมกัน  โดยใช้ทุนทางสังคมของชุมชนเป็นที่ตั้ง เสมือนการชวนให้ชาวบ้านสำรวจตนเองว่ามีอะไรที่ยังทรงคุณค่าต่อการหวนรำลึกบ้าง 

ซึ่งหลักๆ แล้วก็มักอยู่ในวังวนของ พลุโบราณ  สอยดาว  รำวงชาวบ้าน  โคมลอย


ครับ, ผมเคยได้ย้ำกับเจ้าหน้าที่และนิสิตเสมอในทำนองว่า “....อย่าตัดทอนในสิ่งที่ชาวบ้านเสนอมา  เพราะนั่นคือการสื่อให้เห็นว่าชาวบ้าน  “มีดีอะไร...”  แต่ให้ใช้สิ่งนั้นแหละเป็น  “โจทย์” ของการ “เรียนรู้”  (ร่วมกัน)  ถึงแม้รู้อยู่แก่ใจว่าเป็นเพียงการสาธิตก็เถอะ  แต่ก็ขอให้ตระหนักและให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านั้น  ด้วยว่าสิ่งเหล่านั้นอาจเป็น “พลังเงียบ”  ที่รอเวลาคืนสภาพกลับมาขับเคลื่อนชุมชนนั้นอีกครั้งก็ว่าได้...”

 

 

มหกรรมทำมือเช่นนี้จะเชื่อมร้อยให้เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่ชาวบ้านทำหน้าที่  “สอนลูกสอนหลาน”  การสอนลูกสอนหลาน ชาวบ้านก็ย่อมทบทวนชุดความรู้อันเป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในตัวตนของตนเองมาก่อน  จากนั้นก็ถ่ายทอดต่อลูกหลาน (นิสิต)  ผ่านกลไกของการ “ทำไปเรียนรู้ไป”  

ผมเชื่อเหลือเกินว่า  วิธีการเช่นนี้  ไม่ใช่เกิดผลลัพธ์แค่งานเสร็จสิ้นเท่านั้น  หากแต่หมายถึงคุณค่าในจิตใจของทุกฝ่าย  ทะลุถึงหลักแห่งการทำงานร่วมกัน  ทะลุถึงหลักชัยแห่งการรักใคร่ปองดองและแบ่งปัน
เสมือน “ไม่ใช่ญาติ..ก็เหมือนญาติ...ขาดไม่ได้”

 

 


กฐินโบราณ : กระบวนการเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมแบบ“ใจนำพา..ศรัทธานำทาง” 

 


โดยส่วนตัวผมหลงรักโครงการกฐินโบราณมาก  ผมไม่ได้หลงรักโครงการนี้มากกว่าโครงการอื่นๆ  ที่ผมบุกเบิกไว้ 
ทุกโครงการเหมือนลูกของเราทุกคน ผมย่อมรักลูกทุกคนของผม หากแต่ลูกแต่ละคนย่อมมีเรื่องเล่าที่แตกต่างกันไปตามบริบทของเขาเอง

กฐินโบราณ  มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย นิสิตต้องทำการบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการวิเคราะห์ชุมชนที่มีความพร้อมในการใช้ “ใจนำพา..ศรัทธานำทาง”  มีการลงพื้นที่จัดประชุมหารือ  เพื่อคัดกรองพื้นที่ หารือกับชาวบ้านถึงความพร้อมที่จะทำ หารือเกี่ยวกับรูปแบบวิธีการ  หารือเกี่ยวกับวันเวลา หารือเกี่ยวกับภูมิปัญญา  หรือปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนนั้น  และอีกจิปาถะ ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนราวกับนักพัฒนาชุมชนหรือนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นก็ไม่ปานเลยทีเดียว มองในมุมของนิสิต  เพียงงานๆ เดียวนี้  ได้ก่อเกิดทักษะการเรียนรู้หลากมิติจริงๆ  เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กับการทำงานร่วมกันอย่างเป็นทีมภายใต้หลักคิด  “เรียนรู้คู่บริการ”


ในขณะที่ชาวบ้านก็เกิดกระบวนการเรียนรู้ตนเอง  ด้วยการหันกลับไปทบทวน “ทุนทางสังคม”  ของตนเอง  เห็นคุณค่าตนเอง เห็นสายธารวัฒนธรรมที่เลือนหายไป เห็นวัฒนธรรมบางอย่างที่คงอยู่ ทั้งด้วยพลัง  และที่กำลังเป็นลมหายใจอันแผ่วเบา

 

 

ครับ,  สิ่งหนึ่งของกฐินโบราณที่ผมเคยวางระบบไว้และยังสานต่อมาอย่างน่าชื่นชมในทุกๆ  ครั้งก็คือ “กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นพื้น”  อันหมายถึงการรณรงค์ชักชวนให้ชาวบ้านจัดงานกฐินด้วยความเรียบง่าย สมถะ  ไม่ฟุ่มเฟือย 
ไม่เน้นมหรสพใหญ่โตแบบยุคใหม่  ...ไม่ล้มสัตว์ใหญ่ ไม่มีเหล้ายาปลาปิ้ง  ใครมีผัก มีปลา มีข้าว มีพริก มีเกลือ ฯลฯ   ก็ให้นำมาเป็นเครื่องไม้เครื่องมือในงานบุญครั้งนี้ 

ส่วนนิสิตจะนำสิ่งใดไปเสริมเติมแต่งก็ไม่ว่ากัน  ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่พ้นสิ่งที่เขามีกันอยู่แล้ว  เช่น ดนตรีโปงลาง  หมอลำ 

สิ่งเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนต่างๆ ได้อย่างมากมายก่ายกอง  เหลือเงินเหลือทองเข้าวัดได้อย่างมโหฬาร   โดย
ปีนี้มียอดกฐินทั้งหมด คือ 230,013  บาท เชื่อว่าหักค่าใช้จ่ายแล้ว ก็ยังเหลือยอดไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทอย่างแน่นอน

และนั่นยังรวมถึงกระบวนการบอกเล่าเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ“กฐิน”  ด้วยการให้ชาวบ้านสืบค้นตำนานและมอบหมาย “ผู้รู้”  มาบอกเล่าเป็น “นิทาน”  ให้นิสิตหรือแม้แต่ชาวบ้านได้รับฟังร่วมกันว่า  “กฐินเป็นมาอย่างไร...กฐินโบราณเป็นมาอย่างไร” 

ซึ่งเราเรียกกิจกรรมนี้ว่า “สืบฮอยตา  หาฮอยปู่” 

 


ครับ,  กระบวนการเหล่านี้ ไม่ซับซ้อนอะไรเลย  เพียงแต่ชาวบ้านและนิสิตต้องใช้หัวจิตหัวใจ ใช้ศรัทธาในการขับเคลื่อนล้วนๆ  เพราะเวลาอันจำกัด ประกอบกับความลางเลือนของประเพณีในชุมชน  เป็นสิ่งที่ชวนหวั่นวิตกว่า "...จะ
ทำได้ทันหรือไม่...จะทำเสร็จหรือเปล่า...”
  เท่านั้นเอง 


แต่ที่แน่ๆ  ชุมชนใดที่เคยจัดกฐินโบราณร่วมกับผมมาแล้ว  ผมไม่ลืมที่จะหอบหิ้วไปเป็น “พี่เลี้ยง” ให้กับหมู่บ้านถัดไปเสมอ  (ชุมชนกับชุมชน)  นั่นคือกระบวนการ “สอนงาน”  ที่ผมออกแบบไว้เพื่อให้ชุมชนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน  ดูแลกันและกันโดยไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่ง -

 

 


กฐินโบราณ : ฮีตสิบสองคองกิจกรรม

 


เกือบสามปีแล้วที่ผมขายฝัน  “โมเดล”  การพัฒนานิสิตในวาทกรรม  “ฮีตสิบสองคองกิจกรรม”  ด้วยการมุ่งชักชวนให้องค์กรนิสิตได้หยิบจับเอากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งขึ้นมาขับเคลื่อนเป็น“วัฒนธรรม”  มิใช่ทำแบบวูบๆ วาบๆ  ทำแบบขาดๆ หายๆ ... พอถึงกาลเวลาแห่งเปลี่ยนผ่าน ทั้งเปลี่ยนคนทำงาน เปลี่ยนองค์กร เปลี่ยนผู้บริหาร  กิจกรรมเหล่านั้นก็แตกดับ จนหาแก่นสารอันเป็น “รากแก้ว” หรือ “สายธาร”  ของ “กิจกรรมนิสิต”  ไม่ได้


ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากให้มีกิจกรรมเชิงรุกที่ต่อเนื่อง  ความต่อเนื่องดังกล่าวย่อมทำให้กิจกรรมเป็นมากกว่าโครงการ  เพราะหากมีความต่อเนื่องย่อมง่ายต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น“วัฒนธรรม”  ในองค์กรนั้นๆ  พอถึงเทศกาลหรือห้วงเวลาที่ว่านั้น  ผู้ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งทางตรงและทางออ้ม ก็จะพาเพรดเอา “ใจนำพาศรัทธานำทาง”  มาช่วยกัน

 


ครับ,  ผมขายฝันชัดเจนว่าอยากให้องค์กรนิสิตเลือกกิจกรรมหลักมาหนึ่งกิจกรรม  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างทักษะการเรียนรู้  กิจกรรมที่ว่านั้นอาจเป็นกิจกรรมเชิงประเพณีวัฒนธรรมของชาวอีสานโดยตรง  หรือกิจกรรมที่แต่ละองค์กรได้รังสรรค์ขึ้นใหม่เอง  แต่ขอให้มีลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกความเป็น  “เอกลักษณ์และอัตลักษณ์” ของตนเองเป็นสำคัญ

และกิจกรรมที่เลือกมานั้น  ขอให้ยกฐานะเป็น “ฮีตคอง” ขององค์กรไปในตัว  โดยไม่ละเลยที่จะยึดโยงชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมาเป็นเจ้าของร่วมในฮีตคองดังกล่าว  บางกิจกรรมอาจจัดขึ้นในมหาวิทยาลัย  แต่ในบางกิจกรรมอาจจัดขึ้นที่ชุมชนโดยตรงก็ได้

ซึ่งจะว่าไปแล้ว  ผมมองว่าไม่ใช่เรื่องยากเข็ญอะไรนักกระมัง  เนื่องจากที่ผ่านมาผมได้ปูพรมทางความคิดและระบบการทำงานในแบบ “ลูกฮัก”  ไว้อย่างชัดเจนแล้ว  นั่นก็คือโครงการ “1 คณะ 1  หมู่บ้าน”  นั่นเอง

 


นี่เป็นอีกหนึ่ง “ความสุข”  ของการได้เห็นความต่อเนื่องของกิจกรรมที่พัฒนาสู่การเป็น “วัฒนธรรม”  ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ผมเคยร่วมชะตากรรมมาเมื่อหลายปีก่อน 

นี่เป็นอีกหนึ่งของความสำเร็จในการเพียรพยายาม  “สอนงาน..สร้างทีม”  ที่ผมได้บุกเบิกถางทางไว้เมื่อหลายปีก่อน

นี่เป็นอีกความสำเร็จหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของการ“เข้มแข็งและยั่งยืน” ในวิถีแห่งการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาองค์กรที่หมายถึงทั้งมหาวิทยาลัยและชุมชน

นี่คือรูปรอยความคิดของผมที่พร่ำพูดเรื่อยมาว่า  “ฮีตสิบสองคองกิจกรรม”

 

ยิ่งคิด  ยิ่งมอง...ยิ่งมีความสุข

 


หมายเหตุ :

1.กฐินโบราณจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555  ณ ชุมชนบ้านหัวหนอง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย  จ.มหาสารคาม  โดยองค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2555

2.ภาพโดยสุริยะ  สอนสุระ  กลุ่มงานกิจกรรมนิสิต กองกิจการนิสิต ม.มหาสารคาม

 

หมายเลขบันทึก: 509354เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2012 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (56)

ชอบบรรยากาศและการทำงานกับชุมชน ชอบคำนี้มากๆๆ

สืบฮอยตา หาฮอยปู่”

สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง

การบอกเล่าเรื่องราวเกี่่ยวกับตำนานกฐิน (สืบฮอยตา หาฮอยปู่)  ช่วยกระตุ้นให้ชาวบ้านทบทวนเรื่องราวในชุมชนตัวเอง  นับตั้งแต่ค้นหาปราชญ์ชาวบ้านที่รู้เรื่องเหล่านี้  พอได้ผู้รู้ก็มาช่วยกันเสริมเติมเรื่อง  จากนั้นก็นำมาสู่การบอกเล่ากับนิสิต  หรือแม้แต่ชาวบ้านด้วยกันเอง

วิธีการ/กระบวนการดังกล่าว...
ถือเป็นการทวบตัวเองไปในตัว
เป็นการยกย่อง เชิดชูคนในชุมชนไปในตัว
ซึ่งบางทีคนที่เป็นผู้เล่านั้น  บางทีอาจกำลังถูกหลงลืมไปทุกขณะแล้วด้วยก็เป็นได้

ขอบพระคุณ ครับ


 

 

รวมพลัง ความสามัคคี มีความสุขทั่วหน้า

สวัสดีครับ หมออนามัย

ผมชอบภาพการโสเหล่ของชาวบ้านมากครับ  เช่น  การถามว่าใครเคยเห็น เคยเข้าร่วมกฐินโบราณ (จุลกฐิน)  บ้าง  หรือแม้แต่ภาพที่ถกคิดกันจนเป็นที่สรุปว่า ชาวบ้านหัวหนองยังไม่เคยจัดกฐินโบราณเลยซักครั้ง  จึงเป็นแรงกระตุ้นในการที่จะจัดกิจกรรมนี้ขึ้น

โดยมีการมอบหมายว่าจะไปหาเปลือกไม้มาจากไหน
จะไปหาผ้าดิบมาจากไหน
ใครรู้ตำนานกฐินบ้าง
ใครถนัดเรื่องพลุโบราณบ้าง
ใครถนัดตีกลองบ้าง
ฯลฯ

 

สิ่งเหล่านี้ ช่วยกระตุ้นให้ชาวบ้าน-ชุมชนหวนกลับไปทบทวนเรื่องราวในอดีตอันเป็น "ทุนสังคม" ของตนเองได้อย่างน่าสนใจ  สิ่งเหล่านี้คือพลังที่ฝังแน่นในชุมชน  ซึ่งอาจจะอยู่ลึกไปตามกาลเวลา  แต่ครั้งนี้ก็ชวนให้ทุนทางสังคมได้พลิกกลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ขอบพระคุณครับ

 

  • กฐินโบราณ
  • ได้เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชน
  • ความผูกพันผ่่านกิจกรรมสร้างสรรค์
  • ชุมชนเข้มแข็งผ่านวัฒนธรรม ประเพณี

ชอบการทอ เย็บ ต่อ และ ย้อมผ้า 

ชอบการพาสานตอกบอกความหมาย

ชอบความรักความผูกพันล้นกระจาย

ร้อยดวงใจทุกๆดวงเป็นหนึ่งเดียว

 

สวัสดีค่ะ

  •  กฐินโบราณ หรือ จุลกฐิน ทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว เป็นการผนึกกำลัง ทำงานด้วยใจของทุกฝ่าย
  • เป็นตัวอย่างการทำงานกลุ่ม เพื่อสังคม เพื่อการเรียนรู้  "สอนงาน สร้างทีม"   
  • เรียกว่า " อ.แผ่นดินโมเดล" ได้นะคะ 
  • ชืนชมค่ะ
  •            

ขอให้บุญในครั้งนี้จงส่งผลให้นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามจงมีความสุขความเจริญด้วยเทอญสาธุ

เรียนกลุ่ม 2 นางสาวจันจิรา รวงผึ้ง  GM 55010915105 

 

ขอให้นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามจงมีแต่ความสุขความเจริญด้วยเทอญสาธุ เรียนกลุ่ม 2 GM 55010915105 นางสาว จันจิรา รวงผึ้ง

ดีจริงๆๆนะคะ .... วัฒนธรรมที่ดีงาม นะคะ

 คิดถึงถิ่นเก่าเน้อ  เพราะจบจากที่นี่

ได้รู้จักเพื่อนต่างสาขาและก็ได้รับบุญกุศลและก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดงานบุญกฐินโบราณได้ทั้งบุญอิ่มทั้งท้อง นางสาววันเพ็ญ ปัชชาแปลง รหัส 55010915428 สาขา GM กลุมเรียนที่ 2

กฐินโบราณ หรือ จุลกฐิน (18/11/2555)

-ได้ทำบุญ ได้รับบุญกุศล -ได้รู้จักวิธีการย้อมสีผ้า การทำจีวร การทำขนมจีน -ได้เห็นชาวบ้านที่ตั้งใจ เต็มที่และทุ่มเทกับงานกฐินครั้งนี้ -ได้เห็นวัฒนธรรมเก่าๆที่อาจจะกำลังหายไป

นางสาวพัณณิน โคตรชมภู รหัสนิสิต 55010117041 รหัสวิชาเอก Ti กลุ่มเรียนที่ 2

สวัสดีครับบอสส...

ก่อนอื่นผมขอกล่าวถึงความรู้สึกก่อนครับว่า ดีใจมากที่โครงการกฐินแล่นนี้ ยังคงอยู่เป็นฮีตคอง คนทำกิจกรรม

นี่คือบทพิสูจน์แล้วครับว่า การสอนงาน สร้างทีมนั้น ได้ผลจริง เพราะเดิมทีนั้นผมก็ทำงานร่วมกับกับพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องน้อง แต่วันนี้ แม้ผมเองจะมีภาระกิจทางการงานที่ห่างไกล แต่ภาระกิจทางใจ ผมยังได้ร่วมบุญกฐินแล่น กฐินโบราณ ที่แสนอบอุ่นอยู่

กฐินแล้่นนี้ เรา การันตีได้เลยครับว่า มมส เป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีกระบวนพัฒนานิสิตด้วยวาระของศิลปวัฒนธรรมอันสูงส่งเช่นนี้

และสุดท้ายขอให้โครงการนี้เป็นดั่ง หนึ่งการสืบฮอยตา วาฮอยปู่ มูลมังมรดก ของอีสานเราสืบไป...

.....ขอบคุณนักกิจกรรมชาว มมส ทุกท่าน ที่ช่วยหล่อหลอมสร้างคนตัวเล็กๆอย่างผม ให้มาก้าวเดินบนเส้นทางการศึกษาอย่างเข้มแข็ง....ขอบคุณบอสสมากครับ..

ส่งรูปกิจกรรมมาแลกเปลี่ยนครับ...

ได้รู้จักวิธีการย้อมสีผ้า การทำจีวร และอีกมากมาย ในบุญกฐินนี้ ได้เห็นวัฒนธรรมเก่าๆ ความสามัคคีในหมู่ชาว ความเป็นวิถีชาวบ้าว ที่เด็กวัยรุ่นอย่างเรา ไม่เคยได้สัมผัส ถ้าไม่ได้เรียนวิชาพัฒนานิสิตนี้ ดิฉันก็ไม่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยายกาศแบบนี้ได้ ประทับใจชาวบ้านและเพื่อนๆทุกคน ที่เสียสละเวลาไปกัน และยังประทับใจความอบอุ่น จากป้าๆ ลุงๆ ที่งานยังมีอาหารที่แสนอร่อย จากฝีมือ ชาวบ้าน อิ่มทั้งบุญ อิ่มทั้งท้อง

นางสาวสุภัสสร บัวระพันธ์ รหัสนิสิต 55010919762 วิชาเอก AC กลุ่มเรียนที่ 2

เรียนอาจารย์ แผ่นดิน งานบุญงานกฐิน ส่งเสริมปรับเปลี่ยนการกิน มาเป็น กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา เดินวันละ ห้าพันก้าว เล่าเรื่องอดีต คิดเรื่องอนาคตลูกหลาน แลเเปลี่ยนประสบการแบ่งปันสุข สาธารณะ

ได้รู้จักเพื่อนต่างสาขา ได้รับบุญกุศลและก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับการจัดงานบุญกฐินโบราณ นายชนินทร สุนทรกิจ รหัสนิสิต 55010919173 วิชาเอก AC กลุ่มเรียนที่ 2

สวัสดีค่ะ  พี่พนัส..

  • โอว้...แป๋มอ่านบันทึกนี้จบลงด้วยรอยยิ้มและความอิ่มเอมใจค่ะ
  • ปลื้มใจ และขอชื่นชมหัวใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานกฐินโบราณทุกคน
  • โดยเฉพาะ..คนปูทางที่ถากถางทางด้วยใจ.. พี่พนัสหรือพี่แผ่นดินที่รู้จักกันดี
  • เห็นภาพและการเล่าเรื่องราวแล้วอยากไปร่วมงานด้วยตนเองคักๆ
  • ชื่นใจที่.."กฐินโบราณ"...จะเชื่อมโยงบูรณาการหลายสิ่งหลายอย่างเรียงร้อยมาสู่กัน
  • ชุมชน คนเฒ่า คนแก่ มีความหวังพลังใจที่จะเห็นภาพบุญที่เป็นวิถีชีวิตมีการสืบสานต่อ
  • ได้ถ่ายทอดความหลังเรื่องราวให้นิสิตรุ่นลุกรุ่นหลาน คนรุ่นใหม่ รวมทั้งเด็กเล็กเด็กน้อยได้เรียนรู้คุณค่าความงดงามของวัฒนธรรมประเพณี
  • ก่อเกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะอนุรักษ์ไว้จากรุ่นสู่รุ่นจนเกิดความยั่งยืน
  • แต่ละชุมชนนั้นเล่าก็มีการติดต่อประสานสัมพันธ์กันและกัน เกิดความรักสามัคคีแบบชุมชนต่อชุมชน ยอมรับกันและกัน
  • ปลายทางดังกล่าวก็คือความงดงามที่เกิดจากกระบวนการทำงานที่ใช้ใจต่อใจแลกกันมา
  • และ...จะดีแค่ไหน หากทุกๆมหาวิทยาลัยได้นำแนวทาง.."กฐินโบราณ"..ไปปรับใช้กับมหาวิทยาลัยของตน
  • ในการพัฒนาเยาวชน นิสิต นักศึกษา ประชาชนพลเมืองโดยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง..(อยากให้เป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติด้วยค่ะ)
  • เป็นกำลังใจให้พี่พนัสและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านให้ร่วมใจกันอนุรักษ์สิ่งดีๆของเราให้เกิดความยั่งยืนเลยนะคะ

ด้วยความขอบคุณและระลึกถึงเสมอค่ะ.

 

ประทับใจการแห่ขบวนมากค่ะ เพราะไม่เคยทำมาก่อน ทำให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นั่งเรียนในห้องอย่างเดียวคงไม่เห็นแบบนี้แน่ รู้สึกดีที่ได้ไปร่วมงานค่ะ 55011510043 MD student development sec 2

-สวัสดีครับ.

-ตามมาดูกฐิน...

-น่าสนุกนะครับ..

-อิ่มอก..อิ่มใจ..คนทำบุญ...

-ขอบคุณครับ..

 

“ใจนำพา ศรัทธานำทาง” เห็นภาพต่างๆแล้วรู้สึกนึกถึงวิถีความเป็นอยู่ที่สงบ ไม่วุ่นวาย

สิ่งนี้ความสุขที่เกิดจากการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมจริงๆค่ะ และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่นๆด้วย นางสาวรัตนาวดี อาจชมภู 55011410206 PHE sec 2

เป็นครั้งแรกค่ะ ที่ได้ไปงานกฐิน ได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาท้องถิ่น เดินขบวน ดูการจุดระเบิด ปล่อยโคมลอยลอดห่วง รู้สึกดีใจที่ได้ไปร่วมงาน ได้ความรู้ และได้บุญกลับมา นางสาวปริยดา ปิยกุลมาลา 55011510021 MD student development sec 2

เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้ไปร่วมงานบุญกฐินโบราณ ประทับใจมาก ไม่เคยเห็นการทำบุญกฐินโบราณมาก่อนเลย ได้เห็นถึงความสามัคคีของคนในชุมชนและนิสิตที่มาช่วยชาวบ้าน น.ส. กนกเลขา โชคสวัสดิ์ 55010515040 EC วิชาการพัฒนานิสิต กลุ่มที่ 3

ในการที่ได้เราเป็นส่วนหนึ่งในการทำบุญกฐินโบราญได้รับรู้สิ่งที่แปลกใหม่มากมาย การรู้จักการทำบุญกฐินโบราณหรือจุลกฐิน ที่แตกต่างจากที่เคยรู้จัก ได้ช่วยชาวบ้านทอฝ้ายรู้จักวิธีการทอฝ้าย ได้ร่วมบริจากในการต่อยอดมหากฐิน และยังได้รู้วิธีการจักรสานตระกร้าของชาวบ้าน ได้รู้ว่าการทำบุญกฐินโบราณหรือจุลกฐินเป็นกฐินที่ทำภายในวันเดียวให้เสร็จ ตอนบ่ายก็ได้เข้าร่วมการแห่กฐินรอบหมู่บ้านเพื่อที่จะมาทอดถวายยังวัด และยังมีกิจกรรมให้ร่วมมากมาย นับเป็นการที่ดีมากเลยค่ะ

การที่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขอกการจัดงานบุญกฐินโบราณครั้งนี้ ได้รับความรู้ที่แปลกใหม่มากมาย ได้รู้จักการทำบุญกฐินโบราณหรือจุลกฐินที่แตกต่างจากที่เคยรู้จัก ได้ช่วยชาวบ้านทอฝ้ายได้รู้จักวิธีการทอฝ้ายและยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจักรสานตระกร้า และยังได้ร่วมต่อยอดกฐินในครั้งนี้ด้วย ได้รู้ว่าการทำบุญกฐินโบราณต้องทำภายในวันเดียวให้เสร็จสิ้น ตอนบ่ายก้ได้ร่วมแห่กฐินรอบหมู่บ้านเพื่อที่จะนำมาทอดถวายยังวัด และยังมีกิจกรรมให้เข้าร่วมอีกมากมาย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและยังได้ทำบุญอีกด้วยค่ะ

55011310293 นางสาวสมร กำลา สาขา PO (ปกติ) กลุ่มเรียนที่ 2

ดิฉันดีใจมากที่ได้เข้าร่วมบุญกฐินโบราณในครั้งนี้ทำให้ได้รู้จักวิถีชาวบ้านได้รูถึงความสามัคคีได้รู้จักการทอฝ้ายและการทำพุระเบิดและอื่นๆอีกมากมายที่เรายังไม่เคยรู้เคยสัมผัส และการทำบุญในครั้งนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกดี

55011311220 นาวสาวนาฏศิลป์ หงษ์วุธ สาขาPA(ปกติ) กลุ่มเรียนที่2

สุดยอด

ผู้นำสร้างผู้นำ มีความหวังแน่นอนค่ะ

เป็นครั้งแรกค่ะ ที่ได้ไปงานกฐิน เเบบโบราณ เป็นวิธีการทำเเบบง่ายๆ ทำเสร็จภายในวันเดียวสนุกมากเลยค่ะได้รู้จักวิธีการทำผ้ากฐินเเบบโบราณเเท้ ได้พูดคุยกับผู้เฒ่าผู้เเก่ ทำมาสอนวิธีเย็บผ้าสบง อาหารก็อร่อย พวกพ่อๆเเม่ๆที่มาช่วยงานก็มีการต้อนรับเป็นอย่างดีค่ะ ขอเน่นอีกทีนะค่ะ ขนมจีนอร่อยมากๆๆๆๆๆๆ เเละทำให้หนูรู้จักกับเพื่อนสาขาอื่นอีกด้วยค่ะ นส.กมลวรรณ เหล่าสิทธิ์ 54011313026 LW ระบบปกติ กลุ่ม2

การที่ได้ร่วมงานกฐินแบบโบราณ การปฏิบัติในทางนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมาก ถือว่าช่วยส่งเสริมและทำนุบำรุงพระศาสนาต่อไปมิให้สูญหาย และเป็นการร่วมรักษาสืบทอดประเพณีนี้ไว้ ให้คงอยู่สืบไป...

นางสาวสุทธิดา ทัศนิตย์ รหัสนิสิต 55010117188 กลุ่ม 2

การที่ได้ร่วมงานกฐินแบบโบราณ การปฏิบัติในทางนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมาก ถือว่าช่วยส่งเสริมและทำนุบำรุงพระศาสนาต่อไปมิให้สูญหาย และเป็นการร่วมรักษาสืบทอดประเพณีนี้ไว้ ให้คงอยู่สืบไป...

นางสาวสุทธิดา ทัศนิตย์ 55010117188 กลุ่ม 2

ค่ะสำหรับการไปทำบุญครั้งนี้รู้สึกว่ามีความสุขมาก ๆ ค่ะและได้ไปเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวบ้านที่มีการจัดบุญกฐินและสำหรับหนูแล้วยังดีใจมากที่มีส่วนร่วมในการทำบุญกฐินครั้งนี้และยังมีส่วนในการเย็บผ้าถวายวัดอีกด้วยคุณตาคุณยายที่วัดพาทำด้วยค่ะ
รหัสนิสิต 55010815014 ปกติ กลุุ่มเรียนที่ 2 นางสาวพรทิพย์ บุตรศิริ

ได้เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี การช่วยเหลือกันของคนในชุมชน มีอะไรก๊ช่วยเหลือกันเกิดความสามัคคีกันในชุมชน การมีน้ำใจ ร่วมกันทำบุญตามศรัทธา งานกฐิน เป็นงานที่ดีอย่างหนึ่งคือการทำบุญให้กับคนที่ล่วงลับไปแล้วเราก็จะได้บุญด้วย เป็นงานที่รวบรวมเงินเข้าวัด เพื่อที่จะให้พระบำรุงศาสนาต่อไป นางสาวสุทธาสินี จำเริญสาร AC 55010910078 กลุ่มเรียนที่2 ระบบปกติ

กิจกรรมนี้สนุกและได้ประสบการณ์กลับมามากเลยครับ ปกติแล้วผมก็ไม่เคยได้มาทำกิจกรรมแบบนี้ ยิ่งเข้าวัดนี่ยังนับครับได้เลยครับ การเข้าร่วมกิจกรรมนี้ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีมากที่จะได้เปิดหูเปิดตารับสิ่งใหม่ๆที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน ปล.อาหารที่วัดอร่อยมากครับ (โดยเฉพาะ ส้มตำ)

นายณัฐ ลีลาวิวัฒน์ 55011510013 MD student development sec 2

กิจกรรม กฐินโบราณเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากค่ะ ถือเป็นครั้งแรกและเป็นโอกาสที่ได้ร่วมทำบุญและได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น มหกรรมทำมือ ได้มีส่วนร่วมในการสาน ตะกร้าต่างๆ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ก็สนุกและถือเป็นกิจกรรมที่ร่วมอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนามากค่ะ

ศาตพร มโนคุ้น 55011510035 MD student development sec 2

เป็นครั้งแรกครับที่ได้มีโอกาสร่วมงานบุญกฐินแบบนี้ ได้รู้ถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน ได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาท้องถิ่น การเดินขบวนแห่ การปล่อยโคมลอย อาหารพื้นบ้านอีสาน และได้ทำฉัตรกฐิน รู้สึกประทับใจวัฒนธรรมการทอดกฐินมาก ดีใจที่ได้ไปร่วมงานครับ

 นายจิรเมธ นารคร 55011510049 MD student development sec 2

เป็นครั้งแรกครับที่ได้มีโอกาสร่วมงานบุญกฐินแบบนี้ ได้รู้ถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน ได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาท้องถิ่น การเดินขบวนแห่ การปล่อยโคมลอย และได้ทำฉัตรกฐิน รู้สึกประทับใจวัฒนธรรมการทอดกฐินมาก ดีใจที่ได้ไปร่วมงานครับ นายจิรเมธ นารคร 55011510049 MD student development sec2

กิจกรรม กฐินโบราณเป็นกิจกรรมที่ผมไม่เคยทำมาก่อน ทั้งได้เรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชาวบ้าน และบำรุงศาสนาไปในตัว ทำให้ได้ประสบการณ์มากมายเลยครับ โดยเฉพาะอาหารอร่อยมากๆเลย

เศรษฐพัฒน์ พรหมดี 55011510052 MD student development sec 2

กิจกรรมครั้งให้ความรู้ด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นนี้ไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลาหรือคนรุ่นหลัง ให้ความสามัคคีของนิสิตกับผู้คนในชุมชนในการประกอบกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงเป็นการร่วมทำบุญและบำรุงศาสนถาน กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นโอกาศแรกที่ได้ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างคณะ ต่างสาขา ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี เป็นกิจกรรมที่มีความสุขมากค่ะ

นางสาวธิดาภรณ์ ชัยทอง 54011227054 MC กลุ่มเรียน 2

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรม บ่งบอกความเป็นล้านนาได้ดีมากเลยครับ ไปร่วมงานรู้สึกถึ่งและน่าศรัทธามากครับ น่าสนับสนุนครับ

นายวิวัฒน์ วิเศษนคร 54010910514 GM sec 2

การที่ผมได้ไปกิจกรรมนี้นะครับ ก็ทำให้ผมได้ซาบซึ้งในวัฒนธรรมโบราณของเราที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งผมก็ได้ทั้งความรู้ ความสนุกสนานและความรู้มากมายไม่ว่าจะเป็นวิธีชีวิตของชุมชน การทำงานร่วมกับคนอื่น ซึ่งจะทำให้ผมสามารถนำความรู้ประสบการณ์นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้อย่างแน่นอนครับ
นายทีปพงศ์ จารุเมธีชน 55011510016 MD Sec2 ระบบปกติ

กิจกรรมกฐินโบราณเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผมได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีมาตั้งแต๋โบราณซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนบริเวณนั้น เป็นกิจกรรมที่ได้ทั้งบุญแะความสนุกสนานและนอกจากนี้ยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่มีมาตั้งแต่โบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสืบทอดต่อๆกันไปด้วย นายชัยวัฒน์ กัญญาคำ 55011510009 MD Student development Sec2 ระบบปกติ

กิจกรรมครั้งให้ความรู้ด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นนี้ไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลาหรือคนรุ่นหลัง ให้ความสามัคคีของนิสิตกับผู้คนในชุมชนในการประกอบกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงเป็นการร่วมทำบุญและบำรุงศาสนถาน กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นโอกาศแรกที่ได้ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างคณะ ต่างสาขา ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี เป็นกิจกรรมที่มีความสุขมากค่ะ

นางสาวนิภากร นิกาญจน์กูล 54010910357 สาขา GM กลุ่มเรียน 2

การที่ได้ไปทำกิจกรรม ทำบุญกฐินในครั้งนี้ .. . ได้รู้จักเพื่อนต่างคณะ ต่างสาขา ได้เห็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ได้เห็นกิจกรรมที่อยู่ในวัด เช่น รำวงย้อนยุค สอยดาว และปล่อยโคมลอดห่วง ซึ่งเป็นการแสดงถึงประเพณีของไทย และที่สำคุญได้เห็นถึงความสามัคคีของคนในชุมชนกับนิสิต ที่ร่วมมือร่วมใจในการทำบุญกฐินครั้งนี้

นางสาวสุดาพร พงษ์หรรษา รหัสนิสิต 55010910145 AC (ระบบปกติ) กลุ่มเรียนที่ 2

-ได้ช่วยทำฉัตรที่ไว้ใช้แห่ โดยมีชาวบ้านคอยสอน –ได้รู้จักการย้อมสี การเย็บจีวร สานตะกร้า –ได้รู้จักเพื่อนใหม่และวัฒนธรรมเก่าๆ –ได้แห่ขบวนกฐิน –ได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน รู้สึกดีใจที่ได้เรียนวิชานี้ ไม่งั้นคงไม่มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมแบบนี้ อิ่มทั้งบุญอิ่มทั้งใจค่ะ นางสาวธนภรณ์ วัชระสุขโพธิ์ 55011510017 MD Student Development sec 2

ผมรู้สึกภาคภูมิใจมากครับที่ได้ร่วมงานในครั้งนี้ ผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างจากชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิตของชาวบ้าน การทำประทัดยักษ์ การเเห่กฐิน เเละผมจะสืบทอดประเพณีนี้ไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไปครับ นายศิวกร ชำนาญภูมิ 55011510038 MD student development sec2

กิจกรรมนี้ได้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ได้พบเห็นลงมือทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ได้สัมผัสวิถีชีวิตการทำงานบุญร่วมกันของชาวบ้านด้วยตัวเอง ได้ประสบการณ์อันมีค่าจริงๆค่ะ นางสาวศรินรัตน์ ธนัชจิระพงศ์ 55011510033 MD student development sec 2

งานกฐินครั้งนี้ทำให้ ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจ กับประเพณีที่ดีงามของชาวบ้าน ในชุมชน ให้สร้างความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดอง ปละ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจกับน้ำใจที่ทุกคนมีจิตอาสา ช่วยกันรักษาประเพณีอันดีงามไว้ อารียา พาบุ 55011510048 MD sec2

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีค่ะ นอกจากจะได้บุญแล้วยังได้เห็นวัฒนธรรมของชาวบ้านในการเตรียมงานกฐิน ได้ช่วยกันทำงานร่วมกับเพื่อนๆต่างคณะ ต่างสาขา ได้รู้จักผู้คนมากขึ้น ได้ร่วมทำบุญ ดูการทำดินปืนและทดลองจุดพลุที่ชาวบ้านทำเอง ซึ่งน่าสนใจและน่าตื่นเต้นมาก ขอบคุณกิจกรรมดีๆแบบนี้ค่ะ จุฑามาศ กัลยาสนธิ 55011510004 MD -- student development sec2

นันทิยา ราชาไกร 5501510019 md

ได้รู้ถึงประเพณีการทอดกฐินแบบพื้นบ้าน ขั้นตอนกระบวนการต่างๆ เป็นสิ่งใหม่ๆที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และมีความสุขมากเลยค่ะจากการที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้

งานกฐินครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ถึงความเป็นมาและความศรัธทาที่มีต่อพระพุทธศาสนา ทำให้ชุมชนมีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างสิ่งที่ดีงามร่วมกัน
ณัฐดนัย ธนรัตนกูล 55011510014 MD sec2

เป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีของชุมชนและตัวนิสิต กิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้นิสิตได้ร่วมกันทำบุญร่วมกับชุมชน เห็นบรรกาศแล้วรู้สึกอิ่มเอมใจ ที่นิสิตและชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีของไทยให้คงอยู่ตลอดไป นางสาวสุพัตรา ศรีเสน 55010515033 1EC กลุ่มที่ 3

ได้เรียนรู้หลายๆสิ่งหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็น จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นมาก่อน ได้รู้จักเพื่อนๆพี่ๆต่างคณะ (ใจนำพา ศรัทธานำทาง) นิภาวัลย์ นันทา 55011711041 (1 ENV) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กลุ่มเรียนที่ 3

สิ่งที่ไดรับ 1.ได้เรียนรู้ขนบทำเนียม ประเพณี ที่สืบทอดกันมาหลานอายุคน 2.ได้ทำบุญร่วมกันกับชาวบ้านและชาวมหาลัยมหาสารคาม 3.ได้ความร่มเรื่อน สบายใจ ที่เรานั้นได้ร่วมทำบุญ กระผม นายอนุวัฒน์ อาจตา 54011270078 สาขา ICT กลุ่มเรียนที่ 2

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ได้เห็นถึงวิถึชีวิตชาวบ้านที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เป็นงานที่ดีครับ เห็นถึงการร่วมมือของทุกๆคนได้รู้จักเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ปล.อธิบายภาพ สองสาวเล่าเรื่อง นายธนบดี พรมเรศสุนทร 54011713166 (ENV) กลุ่มเรียนที่ 3

ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานก็นับเป็นบุญ ครั้งหนึ่งในชีวิต สิ่งที่ได้ก็คงไม่พ้นประสบการ์ณชีวิต

ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ถือเป็นบุญ ครั้งหนึ่งของชีวิต สิ่งที่ได้คงหนี้ไม่พ้นประสบการ์ณ นายบดีศร จันลุทิน 54011713024 (ENV) กลุ่มเรียนที่ 3

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท