เวทีครูเพื่อศิษย์มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี : สื่อและเทคโนโลยีเพื่อลดข้อจำกัดและช่วยรักษาคุณภาพการเรียนรู้


  ผมกำลังไปช่วยสาขาการศึกษาปฐมวัย    คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี ลพบุรี จัดเวทีครูเพื่อศิษย์ เพื่อเสริมศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาที่จะออกไปฝึกสอนในภาคการศึกษาหน้าที่จะถึงนี้ ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาและออกไปเป็นครูของสังคมต่อไป กิจกรรมจะมีในวันพรุ่งนี้ทั้งวัน ซึ่งแต่เดิมนั้น ผมได้ออกแบบกระบวนการเวทีโดยถือหลักเวลาทำการโดยทั่วไปคือใช้เวลาประมาณ ๘ ชั่วโมงจากเช้าไปจนถึงเย็นประมาณ ๕ โมงเย็นหรือมากกว่าสักเล็กน้อย

แต่หลังจากไปถึง ดูสถานที่ และศึกษาข้อมูลของนักศึกษาแล้ว ก็พบว่านักศึกษาจำนวนหนึ่งเป็นเด็กจากอำเภอรอบนอก และจากจังหวัดใกล้เคียง ต้องเดินทางไกล หากกลับบ้านไม่ทันก่อนมืดค่ำก็จะลำบากในการหารถเดินทางเข้าบ้าน รวมทั้งพบว่า ในกลุ่มของนักศึกษาทั้งหมด ๗๐ กว่าคนนั้น เป็นนักศึกษาหญิงเกือบทั้งหมด มีนักศึกษาชายเพียง ๒ คนเท่านั้น การไม่ต้องผจญภัยและมีความเสี่ยงในการเดินทางกลับถึงบ้าน จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะต้องนำเอามาคิดและปรับกระบวนการเสียใหม่

ผมหารือกับทีมอาจารย์ที่เป็นเจ้าของโครงการเพื่อลดเวลาและปรับกระบวนการต่างๆทันที โดยจำกัดเวลาไม่ให้เกิน ๔ โมงเย็น ซึ่งทำให้ต้องลดเวลาลงไปชั่วโมงครึ่ง รวมทั้งต้องลดกิจกรรมบางส่วน แต่เนื้อหาต่างๆ และการจัดกระบวนการเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าถึงจุดหมายที่ต้องการจะต้องไม่ลดลงไป วิธีแก้ปัญหาของผมและทีมก็คือลดกิจกรรมตรงส่วนที่ต้องให้เนื้อหาด้วยการนำเสนอสื่อพาวเวอร์พ๊อยต์ออกไป โดยทำสื่อและจัดกระบวนการให้ข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมด้วยตนเองด้วย Educative and Informative Graphic Board

พวกเราช่วยกันจัดห้องประชุมเองเพื่อให้กระบวนการต่างๆไหลต่อเนื่อง ลดการใช้เวลาเพื่อการจัดสภาพแวดล้อมต่างๆลงไปให้มากที่สุด จากนั้น ก็ใช้โต๊ะตั้งเรียงกันทำบอร์ดเป็นชุดๆ รวม ๘ บอร์ด และทำบอร์ดขนาดใหญ่ที่ด้านหน้าเวทีอีก ๑ บอร์ด

แผ่นให้หลักคิดครูเพื่อศิษย์ : ครูเพื่อศิษย์ ครูเพื่อเด็ก-อนุชน ครูของชุมชน-ผองชน ครูของแผ่นดิน-สังคมไทย.................

  •  เป็นสถาบันคุณธรรมทางสติปัญญา ความดีงาม ของสังคม
  • ไม่ได้เป็นครูสอนหนังสือเพียงจำไจทำ
  • ไม่ใช้การศึกษาและโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กเพื่อจุดหมายอื่น เช่น เพื่อการเมือง เพื่อประโยชน์ส่วนตน
  • เป็นครูของสังคม ชุมชน ให้การศึกษาเรียนรู้ สร้างคน สร้างพลเมือง พัฒนาประชากร-สังคม เพื่อสุขภาวะสังคมในอนาคต ทั้งของสังคมไทย-สากล
  • เป็นมืออาชีพ มีหลักวิชา มีความรู้ มีศิลปศาสตร์ มีศาสตร์ของการสอน การจัดกระบวนการศึกษา การพัฒนาการเรียนรู้แก่ผู้คน
  • เป็นครูด้วยจิตวิญญาณ มุ่งให้เด็ก ลูกศิษย์ มีความเจริญงอกงาม บรรลุการพัฒนาตนเองในความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์พร้อม ทั้งสติปัญญา จิตใจ กาย การปฏิบัติ ทักษะชีวิต คุณธรรมต่อสังคม
 

หลังจากนั้น ก็ต้องมานั่งทบทวนเนื้อหาในสื่อ รวมทั้งนั่งทบทวนบันทึกของหลายท่านใน GotoKnow เรื่อยไปจนถึงบันทึกของศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช และบทความที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศทางสื่อออนไลน์ เพื่อย่อยสรุปให้กระชับสำหรับเป็นเนื้อหาทำสื่อชุดใหม่ไปติดบอร์ดให้พอเหมาะสำหรับเด็ก แทนการที่จะต้องบรรยายให้วิธีคิดซึ่งจะเวลาไม่พอ ก็เลยต้องใช้วาดรูปและทำสื่อกราฟิคชุดใหม่ขึ้นอีกชุดหนึ่งเพื่อไปติดบอร์ดและให้นักศึกษาเรียนรู้เอาเองตามอัธยาศัยระหว่างอยู่ในเวที ขณะเดียวกัน ก็จะถ่ายภาพและตบแต่งให้เป็นภาพสไลด์ เพื่อพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร ถ่ายเอกสารแจกจ่ายให้นักศึกษานำกลับไปศึกษาค้นคว้าต่อไปด้วยตนเอง ตอนนี้เลยต้องย่อยข้อมูล เขียนข้อความสื่อกราฟิคและวาดสื่อการ์ตูน  

ผมได้เรียนรู้ฝึกฝนตนเองไปในตัวในการใช้เวลาเร็วๆอย่างนี้มาคิดทำสื่อและพัฒนาวิธีสื่อสารเพื่อนำเสนอสถานการณ์ต่างๆเพื่อการเรียนรู้ (Communication for Learning Skills) เพื่อแก้ปัญหาและจัดกระบวนการเรียนการสอนต่างๆเสียใหม่ให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับเงื่อนไขการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปจากข้อมูลพื้นฐานที่มีแต่เดิม

ขณะเดียวกัน ก็ให้ตระหนักว่าเป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับนักศึกษาที่จะออกไปเป็นครู ผมจึงได้ทั้งการแก้ปัญหา และได้มีตัวอย่างของจริงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆสำหรับให้การแนะนำแก่นักศึกษาด้วย

ในการจัดกระบวนการบนเวทีที่เหลืออยู่ จึงลดบทบาทผมลงไปได้อีก เพื่อได้คอยสนับสนุนให้อาจารย์ณัฐพัชร์ ทองคำ และ อาจารย์ขจิตพรรณ ทองคำ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรีซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆอย่างอิสระ เราหารือกันคร่าวๆว่าจะจัดเงื่อนไขให้กลุ่มนักศึกษาได้ลุกขึ้นมาทำกระบวนการต่างๆเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงบนเวทีวิชาการอย่างนี้

ผมจะคอยเสริม กุมหลักคิดของเวที และคอยเป็นพี่เลี้ยง ให้ทุกคนได้สร้างบทเรียนทางการปฏิบัติร่วมกันอย่างเต็มที่ หลังเสร็จสิ้นเวทีแล้ว ก็จะพาทุกคนถอดบทเรียน พัฒนาเป็นองค์ความรู้และคู่มือสำหรับพัฒนาประสบการณ์การสอน เพื่อสร้างครูในโอกาสต่อไปให้เกิดผลดียิ่งๆขึ้น.

..................................................................................................................................................................................

 

ให้วิธีคิดและแสดงภาพความเชื่อมโยงของการศึกษากับสภาวการณ์สังคม : เชื่อมโยงจุดหมายของกระบวนการเวที ไปถึงศาสตร์ของการสอนและศาสตร์ของความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ การสนองตอบต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพพลเมืองและประชากรในศตวรรษที่ ๒๑ การสนองตอบต่อวาระสังคมไทยและสังคมโลกในศตวรรษที่ ๒๑ และแนวคิดครูเพื่อศิษย์

ทั้งหมด ประมวลเนื้อหาเขียนต่อเนื่องบนกระดาษ และจะติดบนบอร์ดที่ใช้โต๊ะตั้งเรียงกันให้เป็นบอร์ดยาว ใช้แทนการบรรยายให้แนวคิดและนำเสนอด้วยชุดสื่อพาวเวอร์พ๊อยต์แต่เนื้อหากับการนำเสนอจะกลายเป็นการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้อง ให้นักศึกษาเดินอ่านและนั่งอ่านได้ตามอัธยาศัยตลอดเวลา รวมทั้งถ่ายภาพและแยกเป็นภาพส่วนย่อยๆ เพื่อนำไปพิมพ์ออกเป็นต้นฉบับและถ่ายเอกสารแจกจ่ายให้แก่นักศึกษาอีกต่อไป จึงสามารถปรับแต่งกระบวนการและยังคงเนื้อหาหลักคิดสำคัญไว้และยังสามารถให้เวลากับการทำกิจกรรมของนักศึกษาได้อย่างเต็มที่ โดยลดเวลาลงไปได้ ๑ ชั่วโมงครึ่งเพื่อยืดหยุ่นให้กับเงื่อนไขการเดินทางของนักศึกษาในท้องถิ่นชนบท

เงื่อนไขดังกล่าวนี้ หากพิจารณาตามกรอบแนวคิดของการศึกษาและการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ แล้ว ก็คือการจัดการกับปัจจัยด้าน Learning Environment ดังกรอบนอกด้านหน้านั่นเอง

แผ่นให้แนวคิดและวิธีคิดครูเพื่อศิษย์ : ครูเพื่อศิษย์นี้ ในประเทศไทยนั้นเป็นแนวคิดที่นำเสนอขึ้นโดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรีได้ใช้ชื่อโครงการว่าโครงการพัฒนาครูเพื่อศิษย์อย่างนี้ด้วย ผมจึงต้องขออนุญาตนำมาใช้ พร้อมกับเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาปัจจัยตัวครูกับการมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อเด็ก มาเสริมแนวคิดให้ด้วย

นัยะครูเพื่อศิษย์กับการสนองตอบต่อสภาวการณ์สังคม : วาระสังคมโลกและวาระสังคมไทย ที่ก่อให้เกิดความจำเป็นในการจัดการศึกษาอบรม เพื่อพัฒนาคุณภาพพลเมืองและประชากร ในศตวรรษที่ ๒๑

วาระสำคัญเพื่อเปลี่ยนแปลงด้วยการศึกษาสร้างคนในศตวรรษที่ ๒๑ : สภาวการณ์สังคมโลกและสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในกรอบการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

กรอบปฏิบัติการด้วยกระบวนคิดเชื่อมโยงเป็นระบบ : กรอบการออกแบบ จัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาศาสตร์และศิลป์ในการสอน และผลลัพธ์ เพื่อพัฒนาพลเมืองและประชากร ศตวรรษที่ ๒๑ สนองตอบต่อสภาวการณ์สังคมไทยและสังคมโลก

ความเชื่อมโยงกับเวทีครูเพื่อศิษย์ : กระบวนการเวทีครูเพื่อศิษย์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี ลพบุรี เพื่อสร้างพลังเครือข่ายครูเพื่อศิษย์ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ ตามกรอบการศึกษาเพื่อการพัฒนาในศตวรรษที่ ๒๑

จัดสภาพแดล้อมเพื่อการเรียนรู้ : จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม และผู้เรียนต้องเคลื่อนไหวเพื่อเรียนรู้บนการปฏิบัติ (Active Learning) ดังที่เราต้องการให้ดีที่สุด นำไปติดตั้งบนบอด ทำบอร์ดโดยใช้โต๊ะตั้งเรียงกันเป็นแนวยาว

หมายเลขบันทึก: 504346เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2012 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ภาพสวยมากค่ะ อาจารย์ เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ อาจารย์ ที่นี่ค่ะ

ขอบคุณ อ.นุ และอาจารย์ศิลา
ที่เข้ามาเยือนครับ สวัสดียามเช้า 
และขอให้มีความสุขมากๆครับผม 

ขอบคุณครูอ้อย แซ่เฮด้วยเช่นกันครับ
ขอคารวะครับ 

ขอบคุณครูอ้อยครับ แวะไปดูแล้ว 
นอกจากบทกลอนที่ความหมายงดงามแล้ว
ก็ชอบรูปเกาะผักและผลไม้รูปสุดท้ายมากเลยครับ
เข้าท่ามากๆครับ 

เกาะผลไม้  เกาะในฝันของครูอ้อยเองค่ะ ชอบเหมือนกันเลย ขอบพระคุณมากค่ะที่ใส่ใจกับภาพที่นำเสนอ  แต่ลายมืออาจารย์ที่เขียนในครูเพื่อศิษย์นี้ยอดเยี่ยมกว่าค่ะ

งั้นขอให้ครูอ้อยตื่นนอนขึ้นมาทีไร ก็มีผลแก้วมังกร สัปปะรด 
และผักผลไม้ ติดไม้ติดมือให้ได้นำมากิน อยู่เสมอๆนะครับ 

เรียนอาจารย์ วิรัตน์ ภูเก็ต เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด ปัตตานี เหล่านี้คือจังหวัดจัดการตนเอง ภาคประชาชน

ที่ภูเก็ตมีการจัดการตนเอง หลายประเด็น

ที่พัทลุงก็มีการตั้งวงคุยกัน ถึงการศึกาา โดนเฉพาะประเด็น การทำ คศ 3 ของครู ตั้งโจทย์ในชี้วัดกันว่า นอกจากเอกสารแล้ว ต้องประเมินเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชนควบคู่กัน

มีค่ะ วันนี้มีองุ่นไร้เมล็ดที่ออกมาจากร้านที่ตั้งไว้  พอได้แจกเพื่อนๆบ้างค่ะ

ครูอ้อยนำ เกาะผลไม้ที่อาจารย์ชอบมาไว้นี่เลยนะคะ 

สวัสดีครับบังวอญ่าครับ
เมื่อคืนได้เห็นบันทึกของท่านอัยการชาวเกาะกับเครือข่ายคนภูเก็ต เรื่องการขับเคลื่อนยกร่าง พรบ.สภาการศึกษาจังหวัดแล้วก็น่าสนใจมากครับ เลยกำลังหารือกับภรรยาว่าจะหาเรื่องไปเที่ยวภูเก็ตและขอร่วมสังเกตการณ์สักหน่อยอยู่เลยละครับ ไม่เลวครับ สร้างสรรค์อย่างยิ่งครับ

 

เห็นด้วย กับท่านวอญ่า นะคะ  

 - เด็ก

 - ครู

 - ผู้ปกครอง & พ่อ แม่

 - ชุมชน ท้องถิ่น 

 - สื่อชุมชน ..... สื่อระดับประเทศ นะคะ

สวัสดีครับ Dr.Ple ครับ
ก่อเกิดและสร้างการศึกษาของสังคมเข้มแข็ง โดยพัฒนาขึ้นจากบทบาทของหน่วยทางสังคมที่เล็กและเป็นหน่วยพื้นฐานที่สุดของสังคมเลยนะครับ มีครอบครัว ชุมชน โรงเรียน เครือข่ายของผู้ปกครอง และการสื่อสารชุมชน เป็นรากฐาน เป็น Community-Based Approach เลยทีเดียวครับ

                       

                       

                       

                                                 เชิญรุ่นพี่และศิษย์เก่า มาถ่ายทอดประสบการณ์

                       

                       

                                           นักศึกษา นั่ง นอน รวมกลุ่มทำงาน เรียนรู้ประสบการณ์ตนเอง ถอดบทเรียนเวที และบันทึกถ่ายทอดบทเรียนของตนเอง

 

  • ผมมาช้า
  • ที่นี่มีบล็อกเกอร์ชื่อ Naree Suwan ด้วยครับ
  • ดูแล้วนักศึกษาตั้งใจมาก
  • แต่ขจิต กับ ขจิตพรรณ  ต้องเป็นญาติพี่เหมียวแน่เลย
  • 555

สวัสดีครับอาจารย์ดร.ขจิตครับ
รับมุขไม่ทันแล้วละสิครับ เป็นบล๊อกเกอร์ท่านใด
หรือว่าเห็นจากรูปแล้วจำกันได้จากในรูปใช่ไหมครับ 
นักศึกษาตั้งอกตั้งใจกันดีมากครับ
อาจจะเป็นเพราะเป็นเรื่องที่เขาจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ในวันข้างหน้าน่ะครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยือนครับ
อาจารย์ศิลา Sila Phu-Chaya Dr.Ple ...Dr. Ple อาจารย์ ดร.ขจิต ขจิต ฝอยทอง 
คุณTuknarak tuknarak บังวอญ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--  และ อ.นุ อ.นุ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์วิรัตน์
  • ขอเพิ่มดอกไม้ให้อาจารย์อีก ๑ ช่อใหญ่ค่ะ ^^
  • การตั้งวงคุยที่พัทลุงของท่านวอญ่า ช่างน่าสนใจจริงๆ
  • ท่านขจิตครับ น้ำกำลังจะมาแล้วนะครับ เตรียมพร้อมรับมือรึยังครับ น้ำแถวนครชัยศรีเริ่มหนุนสูงแล้ววว
  • ขอไปเที่ยวภูิเก็ต ไปร่วมฟัง ร่วมสังเกตการณ์ด้วยคนสิคะ ^^
  • ขอไปภูเก็ตด้วยคน
  • ใครไปครับพี่เหมียว
  • ตอนนี้น้ำหนุนแล้วครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ
อย่างนี้นี่เอง ผมเลยได้แวะเข้าไปอ่านอีก เคยได้อ่านอยู่เรื่อยๆครับ 

สวัสดีครับอาจารย์ณัฐพัชร์ครับ

ขอบคุณครับ เป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้ไปเหน็ดเหนื่อยด้วยกันนะครับ แต่ก็เป็นความเหนื่อยที่ให้ความรู้สึกดีมากอย่างยิ่งเลยนะครับ นักศึกษาแต่ละคน ดูจากประสบการณ์ของศิษย์เก่า กับศิษย์อาวุโสที่กำลังจะต้องออกไปฝึกสอนแล้วก็จบออกไปเป็นครูนั้น ในแต่ละปี ชีวิต สติปัญญา ความรู้ และแรงกายแรงใจของพวกเขา จะต้องอุทิศให้กับการเป็นครูให้กับเด็กๆ ๓๐-๔๐ คน ทุกๆปีที่เพิ่มขึ้น กระทั่งหมดภารกิจในอีก ๒๐-๓๐ ปีข้างหน้า พวกเขาแต่ละคนบนความเป็นครู ๑ คน จะเป็นโอกาสและสภาพแวดล้อมให้การเติบโตเจริญงอกงามแก่เด็กๆ คนละ ๖๐๐-๑,๒๐๐ คนเป็นอย่างน้อย

เพราะฉนั้น หากมีเพียงสักกึ่งหนึ่งเท่านั้นของนักศึกษา ๗๐ คนกลุ่มนี้ที่สามารถออกไปมีชีวิตเป็นครูตามแหล่งต่างๆของประเทศ ก็ต้องถือว่ากระบวนการเวทีที่จัดให้แก่พวกเขาในครั้งนี้ เป็นการสร้างคน ที่จะมีผลต่อการสร้างพลเมืองและผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสาขาต่างๆของสังคมโดยตรงอีกนับ ๔-๕ หมื่นคนเลยนะครับ ก็เลยเป็นกลุ่มที่เมื่อได้เหนื่อยไปด้วยกันแล้วก็มีคุณคาและความหมายดีมากเลยนะครับ

อาจารย์ทำสื่อได้ดีมากครับ

แต่น่าจะทำเป็นวงกลมนะครับ

จะได้มองครอบคลุมดีครับ

และรู้สึกเสียด้ายนะครับ ถ้าใช้ได้แค่เพียงครั้งหรือสองครั้ง สำหรับสื่อคุณภาพนะครับ

เข้ามีแบบเหมือนป้ายหาเสียงนะครับอาจารย์ อันไหนทนกว่ากันหรอครับ

เป็นสื่อที่ไม่ได้คิดว่าจะต้องมีและจะต้องใช้มาก่อนน่ะสิครับ เป็นการทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาบนสถานการณ์การปฏิบัติ เพื่อให้กระบวนการต่างๆยังคงสามารถดำเนินการให้บรรลุจุดหมายที่ต้องการได้ดีที่สุดน่ะครับ สภาพของเด็กๆและเงื่อนไขเวลา ทำให้ไม่สามารถใช้สื่อและดำเนินการสิ่งต่างๆที่เตรียมไปแต่เดิมได้ทั้งหมด พอปรับแต่งใหม่ ก็เลยทำสื่อชุดนี้ขึ้นมาใช้ 

กระนั้นก็ตาม ถึงแม้จะทำสื่อแบบกลางๆเพื่อใช้วัสดุทนๆและใช้ได้หลายๆงานได้ ผมเองนั้น ก็มักจะเลี่ยงที่จะทำอย่างที่ว่านี้น่ะครับ เป็นความตั้งใจอย่างหนึ่งที่จะไม่ใช้วิธีนั้นครับ ด้วยเหตุผลและจุดยืนเฉพาะตนหลายอย่างเหมือนกันครับ

  • ประการแรก ผมจะเน้นทำสื่อและจัดกระบวนการต่างๆให้มีความจำเพาะกลุ่ม จะไม่เน้นความสะดวกของตนเองหรือฝ่ายของผู้บรรยาย ผู้สอน และวิทยากร แต่จะเน้นความสะท้อนเชื่อมโยงกับบริบทจำเพาะของกลุ่มต่างๆ หากเป็นช่างตัดเสื้อผ้า ก็จัดเป็นช่างที่มุ่งตัดเสื้อผ้าขนาดเฉพาะตัวคนเป็นรายบุคคล ตามความเหมาะสมของเขา มากกว่าทำแบบมวลชนโดยมีเบอร์กลางๆ ๓-๔ เบอร์เหมือนกันหมด เนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เมื่อต่างกลุ่ม ผมก็จะยืดหยุ่นให้กับข้อมูลและบริบทจำเพาะของกลุ่ม จึงไม่เคยที่จะเหมือนกันไปทั้งหมดทีเดียวเลยละครับ
  • ประการที่สอง เป็นความจงใจที่จะทำและแสดงให้เป็นตัวอย่างไปในตัว ในการพึ่งการลงมือและรักษาการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันของมนุษย์ ให้มีสัดส่วนที่พอประมาณ โดดเด่นมากกว่าการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ที่เน้นปฏิบัติการผ่านสื่อ วัตถุสิ่งของ เครื่องมือและเทคโนโลยี เราสามารถทำในพาวเวอร์พ๊อยต์ก็ได้ครับ แต่การฉายขึ้นจอและมีเครื่องมือกั้นกลางมาก มันจะลดผลต่อกระบวนการเรียนรู้และความมีพลังการกล่อมเกลาความละเอียดประณีตของมนุษย์ลงไป การเน้นความสำคัญตรงนี้ ความที่ต้องเป็นครูให้กับเขา มันก็ต้องทำให้ดูและใช้ชีวิตการงานในหนทางอย่างนี้ไปด้วยเสียเลย
  • ประการที่สาม ผมจะเน้นการทำสื่อและสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียน รวมทั้งในเวทีมากๆอยู่เสมอครับ นอกจากต้องการใช้ทำงานแล้ว ก็เป็นการสร้างโอกาสสำหรับบ่มเพาะวัฒนธรรมการใช้สื่อและสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ให้กับสังคมอยู่เสมอๆ แต่การที่จะทำสื่อ ให้ได้อย่างที่ต้องการอย่างที่กล่าวมาข้างต้น และดัดแปลงให้เป็นชิ้นใหญ่ๆ ใช้ได้คงทนมากขึ้น ก็จะทำให้ต้องหอบหิ้ว หรือไม่ก็ต้องใช้รถขน ซึ่งผมไม่ได้ใช้รถ และมักต้องเดินทางทั่วประเทศ จะทำไม่ได้ เลยต้องเก็บสื่อไว้ในตัว เมื่อจะใช้ก็ทำขึ้นใช้เลยครับ
  • ประการที่สี่ ผมจะเน้นกระบวนการเรียนรู้และการยกระดับการปฏิบัติเพื่อสร้างบทเรียนต่อเนื่องไปบนการทำงานสาขาต่างๆด้วย ดังนั้น สื่อและกระบวนการต่างๆที่่ออกแบบให้เฉพาะเจาะจง นอกจากจะใช้ทำงานให้สอดคล้องกับเฉพาะกลุ่ม ของกลุ่มเป้าหมายต่างๆแล้ว ก็จะเป็นวิธีบันทึกและเก็บข้อมูลรายทางทั้งของผมและเจ้าของงานด้วยครับ การทำเพื่อใช้สื่อชุดเดิมๆได้หลายครั้ง จะไม่สนองจุดหมายวิธีทำงานที่มีกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตัวปัญญาปฏิบัติกับด้านอื่นๆไปด้วยนี้น่ะครับ 

แต่ก็มีเหมือนกันครับ บางครั้งผมก็จะทำสื่อเพื่อหอบหิ้วและใช้ได้หลายๆครั้ง โดยเฉพาะสำหรับเนื้อหาพื้นฐานบางเรื่องที่ไม่ต้องแก้ไขและปรับแต่งให้มีพลวัตรยืดหยุ่นไปกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ รวมทั้ง ใช้ออนไลน์ โดยแนะนำเพียงแหล่งและวิธีค้นคว้าเอง ไม่ต้องนำเสนอหรือนำมาแจกจ่ายทุกคนให้เหมือนกัน แต่ใครต้องการอย่างไรก็เลือกสรรเอาเองได้ ซึ่งก็จะทำให้ทำงานที่เน้นคนและกลุ่มผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่ายึดความนิ่งตายตัวของสื่อกับเนื้อหาเป็นหลัก ได้ดีมากทีเดียวครับ 

นักศึกษาจะทราบถึงความลำบากของอาจารยืไหมหนอ

เมื่ออาจารย์เต็มทีอย่านี้

ขอบคุณกับคำอธิบายครับอาจารย์

จริงๆแล้วเบื้องหลังเวทียิ่งกว่านี้อีกครับอาจารย์ ผมกับอาจารย์ณัฐพัชร์และอาจารย์ขจิตพรรณ ไปเตรียมห้องประชุมก่อน ๑ วัน มีพนักงานของเอกชนที่มหาวิทยาลัยเขาจ้างให้มาคอยดูแลสถานที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่คอยช่วยด้วย เพื่อให้ห้องเหมาะสมสำหรับทำกิจกรรมให้กับนักศึกษา เราก็เลยต้องการเอาโต๊ะเก้าอี้ออกให้หมดแล้วก็ถูพื้นให้สะอาดจนสามารถนั่งนอนลงไปได้

ขณะเดียวกัน ก็ต้องการให้มีบอร์ดสำหรับทำกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละชุด รวมจำนวน ๗-๘ กลุ่ม แล้วก็มีบอร์ดสำหรับตั้งให้รอบห้องเพื่อติดสื่อและจัดแสดงผลงานต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากกลุ่มนักศึกษาบนเวที ทางเจ้าหน้าที่ที่คอยประสานงานบอกว่าบอร์ดอยู่ชั้นล่างของตึก ต้องขนขึ้นไปห้องประชุมอีก ๒-๓ ชั้น แต่พนักงานและเจ้าหน้าที่มีแต่ผู้หญิงทั้งนั้นเลย ผมก็เลยดัดแปลงอุปกรณ์ไปตามสภาพ โดยช่วยกันยกโต๊ะแล้วก็ตั้งเรียงกันเป็นบอร์ดที่ต้องการ แต่ละบอร์ดใช้โต๊ะ ๔ ตัว ก็เลยต้องขนโต๊ะกัน ๔๐-๕๐ ตัว 

พอกลับไปวิเคราะห์เนื้อหาและทำสื่อชุดใหม่ขึ้นใช้อย่างที่อาจารย์เห็นในนี้ ก็ทำไปจนถึงตี ๕ ครึ่งครับอาจารย์ ได้นอนหงายหลังเพื่อคลายปวดเมื่อยนิดหน่อย แต่ไม่กล้าหลับ พอถึงเวลาก็ไปจัดกระบวนการเวทีต่อเนื่องไปเลย 

เป็นกำลังใจให้ครับ จากศิษย์เก่าราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี ครับ...

ดีใจที่ได้ร่วมเป็นสื่อกลาง เผยแพร่สิ่งดี และทำให้เครือข่ายศิษย์เก่าของสถาบันการศึกษาเดียวกัน ได้มีโอกาสเห็นความเคลื่อนไหวและได้สื่อสารให้กำลังใจกัน  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท