ยื่นมือออกไป...เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับ e-Trust


ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและความอดทน...เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เราทุกคนจึงต้องช่วยกันทั้งรัฐและประชาชน

..

ขณะที่คิดว่าจะเขียนบันทึกเกี่ยวกับ e-trust อย่างไรดี ก็ได้ลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านนี้ในสิงคโปร์ ก็ได้มาเจอบทความนี้ 

Citizen Trust Development for E-Government Adoption and Usage: Insights from Young Adults in Singapore

โดย Shirish C. Srivastava และ Thompson S.H. Teo จากเวปไซด์ http://aisel.aisnet.org/cgi/viewcontent.cgi?article=3477&context=cais 

จึงขอนำมาแบ่งปันเผื่ออาจเป็นประโยชน์และแนวทางในการศึกษาค้นคว้าต่อไปค่ะ

งานวิจัยนี้ได้ใช้ตารางความเชื่อมั่นเป็นวิธีการวัดความเชื่อมั่นของคนรุ่นหนุ่มสาวในสิงคโปร์ ตารางนี้มีสองแกน แกนในแนวตั้งคือความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐ และแกนในแนวนอนคือความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเทคโนโลยี จากการศึกษาพบว่าความเชื่อมั่นของผู้คนในสิงคโปร์ที่มีต่อรัฐและเทคโนโลยีได้พัฒนาจากระดับ  cooperative คือมีความเชื่อมั่นในรัฐสูงแต่ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นในด้านเทคโนโลยี ไปสู่ระดับที่ดีที่สุดเรียกว่า collaborative คือประชาชนมีความเชื่อมั่นทั้งในรัฐบาลและเทคโนโลยีซึ่งความเชื่อมั่นนี้จะก่อให้เกิดความเข้าใจ ความเห็นพร้องต้องกันซึ่งจะนำไปสู้ความสำเร็จในการใช้ e-government ในที่สุด

..



งานวิจัยชิ้นนี้ยังได้นำเสนอบทเรียนที่ได้รับไว้ดังนี้

ในด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐในที่นี้หมายถึงความเชื่อมั่นในสมรรถนะในความสามารถ ในความรับผิดชอบ ในนโยบาย เชื่อมั่นในความตั้งใจจริงของรัฐที่จะใช้ e-government ประเภทต่างๆ 

ตลอดระยะเวลาที่มีการพัฒนาปรับปรุงเวปไซด์ต่างๆ และบริการของ e-goverment ความเชื่อมั่นในการใช้ e-government ไม่เพียงแต่จะชักนำให้ผู้คนเข้ามาใช้บริการนี้เท่านั้น แต่มันยังหมายถึงการเพิ่มความเชื่อมั่นในรัฐบาลมากยิ่งขึ้นขึ้นเพราะประชาชนได้เข้ามาอ่านมารับรู้ความเป็นไปในส่วนต่างๆ ของรัฐมากขึ้น สิ่งที่รัฐได้ทำซึ่งนำไปสู่ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นนั้นคือ

1. Solicit feedback from citizens - รับฟังความคิดเห็น คำร้องเรียน ปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการของประชาชนในทุกๆ การเริ่มต้นการให้การบริการ e-government ประชาชนรู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมในการปรับปรุงบริการนี้

2. Demonstrate top leadership commitment and support - แสดงความจริงใจในการเป็นผู้นำและให้การสนับสนุนด้านนี้อย่างชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน e-government ต่างเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำในแต่ละองค์กรของรัฐทั้งสิ้น



ในด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเทคโนโลยี ถึงแม้ว่าประชาชนจะมีความมั่นใจในความสามารถของรัฐแต่ความปลอดภัยในด้านเทคโนโลยี และความกังวลด้านความเสี่ยงก็ยังเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ผู้คนไม่กล้าใช้บริการของรัฐผ่าน e-government สิ่งที่รัฐได้ทำเพื่อเพิ่มความมั่นใจในด้านนี้คือ

1. Build institutional trust - รัฐได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และความมั่นใจกับประชาชนโดยเฉพาะเรียกว่า The National Trust Council (NTC) ซึ่งได้ออกมาจัดโปรแกรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนใช้บริการทั้งของรัฐและเอกชนผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นการให้สัญลักษณ์ TrustSg เมื่อประชาชนเห็นร้านรวงและเวปไซด์ที่มีสัญลักษณ์นี้เขาจะรู้ได้ทันทีว่าข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลต่างๆ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับการป้องกันและปกป้องภายใต้กฎหมายทางอินเตอร์เน็ตที่เข้มงวดของประเทศนี้ และเวปไซด์ที่มีสัญลักษณ์นี้แสดงว่าได้มีระบบป้องกันความปลอดภัยจาก hacker ในรูปแบบต่างๆ 

ความไม่มั่นใจของประชาชนส่วนใหญ่เกิดจากความกลัวว่าข้อมูลส่วนตัวอาจถูกเปิดเผยและเวปไซด์อาจถูก hack เพื่อเอาข้อมูลต่างๆ ไปใช้ในทางที่ผิด เมื่อความกังวลจากทั้งสองด้านลดลง ประชาชนจึงกล้าใช้เวปไซด์ในการเบิกจ่ายมากขึ้น

โครงการนี้ได้ถูกนำเสนอเข้ารับรางวัลด้านการบริการประชาชนขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ประชาชนได้มากขึ้นอีกด้วย

2. Cultivate IT Literacy - ความรู้และความมั่นใจเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป นอกเหนือไปจากความปลอดภัยทางด้านอินเตอร์เน็ต การให้ข้อมูล การสื่อสาร การให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งด้านวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งตีพิมพ์ ช่วยสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้มากขึ้น 

3. Enact comprehensive and effective legal system - การมีระบบกฎหมายทางด้านอินเตอร์เน็ตที่เข้มงวด และการเอาจริงในด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว ของธุรกิจ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนได้อย่างมาก

งานวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2009 และผู้วิจัยก็ยังได้เสนอแนะว่าประเทศต่างๆ สามารถนำปรับไปใช้ได้ตามความเหมาะสมและบริบทของประเทศนั้นๆ

..


..

การสร้างความเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ความเชื่อมั่นที่อาจใช้เวลาหลายๆ ปีสร้างขึ้นมาอาจพังทลายลงอย่างง่ายดายเพียงเพราะความสงสัย ความกังวลใจ และหากมันถูกทำลายลง มันจะใช้เวลานานในการเยียวยาให้เหมือนเดิม เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เราทุกคนจึงต้องช่วยกันทั้งรัฐและประชาชน 

.....

ชายคนหนึ่งกำลังจะข้ามสะพานพร้อมลูกสาว เขารู้สึกหวาดหวั่นกับความสูงและความไม่มั่นคงของสะพาน เขาจึงเอ่ยกับลูกสาวตัวเล็กๆ ซึ่งเห็นความสูงของสะพานเป็นสิ่งท้าทายและน่าตื่นเต้นว่า 

"ลูกจ๋า ลูกจับมือพ่อไว้นะ ลูกจะได้ไม่ตกลงไปในแม่น้ำ" 
เด็กหญิงส่ายหัว และตอบว่า "ไม่ค่ะคุณพ่อ คุณพ่อจับมือหนูดีกว่า" 
"มันต่างกันยังไงล่ะลูก?" พ่อชักสงสัย
"ต่างกันอย่างมากค่ะ" เด็กหญิงตอบ "หากหนูจับมือคุณพ่อและอะไรเกิดขึ้นกับหนู หนูอาจจะปล่อยมือคุณพ่อได้ค่ะ แต่หากคุณพ่อจับมือหนู หนูรู้ว่ายังไงคุณพ่อก็จะไม่มีวันปล่อยมือหนูแน่นอน"


ในทุกความสัมพันธ์แก่นแท้ของความเชื่อมั่นเชื่อใจไม่ได้อยู่ที่การผูกมัด แต่อยู่ที่สายใย ดังนั้นเราควรยื่นมือออกไปจับมือคนที่เรารัก...มากกว่าคาดหวังให้เขามาจับมือเรา

เป็นกำลังใจให้ทุกท่านเป็นส่วนหนึ่งในการยื่นมือออกไปสร้างความมั่นใจกับรัฐ และหวังว่าทั้งภาครัฐและประชาชนจะยื่นฝ่ามือเข้าหากันเพราะเราคงไม่อาจจับมือกันได้หากใครยังถือกำปั้นอยู่นะคะ

You can't shake hands with a clenched fist. - Mahatma Gandhi


ด้วยความนอบน้อม,

ปริม ทัดบุปผา

๑๑ กันยายน ๒๕๕๕

..

.

Bangkok Symphony Orchestra - เขมรไทรโยค

http://www.youtube.com/watch?v=34PD37102JM

 

คำสำคัญ (Tags): #e-trust
หมายเลขบันทึก: 501911เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 06:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

* ความเชื่อมั่นไว้วางใจ..หลั่งรินมาจากการหยิบยื่นความจริงใจ..ที่เปี่ยมไปด้วยความหวังดีต่อกัน..และสร้างการมีส่วนร่วมด้วยกันอย่างต่อเนื่องนะคะ

* ภาพงดงามสดชื่นมากค่ะ..

* อากาศเมืองไทยอึมครึมฟ้าฝนทั้งวัน..แต่ใจเราสว่างกระจ่างด้วยความสุข..

 

Trust In Technology นั้น ok แต่ Trust In Government สงสัยว่าต้องวิเคราะห์มาก....ให้เป็นไปตามแบบไทยๆ

:):) แซงมาก่อน อ. ขจิต กับ คุณชลัญอีกครับ.......:):)

  • ขอบคุณที่นำข้อมูลมาย่อยให้เราฟังคะ ...
  • เพราะเราคงไม่อาจจับมือกันได้หากใครยังถือกำปั้นอยู่นะคะ You can't shake hands with a clenched fist. - Mahatma Gandhi ... 
  • ทำให้คิดเรื่องการจัดคิวพบแพทย์ จะดีมาก หากประชาชนสามารถกรอกข้อมูลส่วนตัว และขอคิวเวลาล่วงหน้าได้ online ได้ เขาก็ไม่ต้องมานั่งรอตั้งแต่ตี 5 พบแพทย์ 2 นาที กลับ 5 โมงเย็นอย่างทุกวันนี้

มาสนับสนุนคุณหมอ ป. นะคะ อยากให้มีระบบการนัดหมายไปถึงได้ตรวจ จะดีมาก อิอิ

like เพิ่มให้เพลงเขมรไทรโยคด้วยครับ ;)

อืม...ต่อไปผมคงต้องจับมือน้องโมเดลเพื่อลดต้นทุนแห่งความหวาดกลัวลงไปและเสริมสร้างเป็นความมั่นใจให้เพิ่มขึ้น...(อิ...อิ...)

           ขอบคุณมากครับ คุณปริม          

 

ผมขอเป็นหนึ่งในตัวแทนภาครัฐที่พร้อมจะยื่นมือไปจับมือกับประชาชนด้วยสายใยรักและปรารถนาดีเสมอครับ

  • ตามมาเชียร์
  • แต่ขำอาจารย์วิชญธรรม
  • มีแซงด้วย
  • 555

สวัสดีค่ะคุณพี่ใหญ่

ที่สิงคโปร์วันนี้อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนเช่นกันค่ะ แต่ยังไม่ตกลงมา เราโชคดีมากค่ะที่ไม่ได้อิทธิพลของฟ้าฝนมากมาย ได้แต่เอาใจช่วยคนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนที่บ้านเราในตอนนี้นะคะ

หวังว่าความเชื่อมั่น ไว้วางใจจะเกิดขึ้นในสังคมบ้านเราให้มากค่ะ เพื่อที่เราจะได้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างพร้อมเพรียง

ขอบคุณคุณพี่ใหญ่มากค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์วิชญธรรม

เกรงจะหมดเขตก่อนแล้วอดลุ้นรางวัลค่ะอาจารย์ อิอิอิ

สงสัยปริมจะอยู่ในโลกแห่งความฝันมากเกินไป เพราะยังไงก็ไม่เข้าใจว่าทำไมปัญหาด้านการเมือง รัฐบาล ความเชื่อมั่น การพัฒนาประเทศมันถึงไปได้ยากจังค่ะ ทั้งๆ ที่เราก็มีศักยภาพเหมือนคนทั่วไป เพราะไม่เข้าใจนี่แหละเลยไม่ใส่ใจเลย ;)

ทำในส่วนของเราดีกว่านะคะ

สุข สงบค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ ป.

ขอให้ความฝันของคุณหมอและคนไทยเราเป็นจริงโดยเร็วนะคะ นอกจากการเสียเวลาในการคิวทำบัตรแล้ว ก็คงยังมีความขาดแคลนในด้านบุคลากรและเครื่องมือด้วยนะคะ เพราะจำนวนคนในบ้านเราที่ไป รพ สวนดอกนั้นมากมายเหลือเกิน

สิงคโปร์มีขนาดประมาณหนึ่งในสามของเชียงใหม่ มีประชากรประมาณสี่เท่าของเชียงใหม่ แต่มีโรงพยาบาลใหญ่ของรัฐ ก็ประมาณห้าหกแห่ง แต่ก็มีโพลีคลีนิกอยู่ทั่วเมือง เวลาไปโรงพยาบาลเราก็รอเหมือนกันนะคะ โดยเฉพาะคลีนิกพิเศษต่างๆ แต่ก็ไม่ถึงกับนานมากเป็นครึ่งวันแบบบ้านเรา หากมีการกระจายความพร้อมทางด้านบุคลากรและเครื่องมือออกไปตามโรงพยาบาลประจำอำเภอต่างๆ มากขึ้น การบริการอาจรวดเร็วทันใจกว่านะคะ

เคยพาคุณยายไปตรวจที่คลีนิกตาหูจมูก ไปถึงโรงพยาบาลตอนโมงครึ่ง รอห้องถ่ายเอกสารเปิดตอนสองโมงเช้า เวลาทำบัตรไม่เท่าไหร่ เสร็จก่อนแล้วไปนั่งรอเวลาเริ่มงานของคุณหมอค่ะ และจำนวนคนไข้ก็มากด้วย ตอนเช้าไม่ถึงคิวเรา ไปทานกลางวันกลับมาตรวจประมาณยี่สิบนาที ไปรอรับยาอีกหนึ่งชั่วโมงกลับถึงบ้านสลบเหมือดกันทั้งยายทั้งหลานตอนบ่ายห้าโมงเย็น คุณยายบอกคนมาโรงพยาบาลคนเยอะเหมือนไปงานปอยหลวงสมัยก่อนที่นานๆ มีงานทีนะคะ

ที่ รพ บ้านเรามีทีมงาน R2R หรือ operational excellence หรือทีมงาน lean ทั้งหลายคอยดูและคิดค้นวิธีเพิ่ม efficiency and productivity โดยองค์รวมไหมคะคุณหมอ น่าสนใจมากๆค่ะโปรเจคแบบนี้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะครูตูม

ขอให้ความฝันเป็นจริงเช่นกันค่ะ ;)

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์จัตุเศรษฐธรรม

น้องโมเดลจะเต็มใจยื่นมือให้อาจารย์จับแน่นอนค่ะ แต่พูดจริงๆ น้องน่ารักมากค่ะ

ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ ธ.วัชชัย,

บันทึกปริมได้ดอกไม้เยอะค่ะจากคนใจดีอย่างคุณธวัชชัย บางคนก็ชอบเพลง บางคนก็ชอบรูปภาพค่ะ เนื้อหาจริงๆ คงไม่เท่าไหร่ค่ะ อิอิอิอิ

แต่เพลงเขมรไทยโยคนี้เพราะจริงๆ นะคะ

ขอบคุณค่ะ ;)

สวัสดีค่ะท่าน ดร. ดิศกุล,

เมืองไทยเราโชคดีที่มีคนภาครัฐที่ตั้งใจจริงอย่างท่านอาจารย์ค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้อีกแรงนะคะ

พูดจริงๆ คนทำงานให้ภาครัฐจริงๆแล้วก็คือคนที่เรารัก คนในครอบครัว ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเราทั้งสิ้นนะคะ ความห่างความต่างระหว่างรัฐกับประชาชนจริงๆแล้วมีน้อยจริงๆ ค่ะ หากคิดเสียว่ารัฐคือคนที่เรารัก รัฐก็คิดว่าประชาชนคือครอบครัว ก็น่าจะคุยกันได้ง่าย ยื่นมือเข้าหากันได้แบบสบายๆ นะคะ

สงสัยปริมจะฝันกลางวันรึเปล่าคะเนี่ย อิอิอิ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์พิชชา

สายใย ไว้ใจ เชื่อมั่นค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ขจิต

ท่านอาจารย์วิชญธรรมลุ้นให้อาจารย์กับคุณชลัญธรเขียนก่อนปริมค่ะ แต่ปริมกลัวหมดเขตลุ้นรางวัลเสียก่อนจึงแซงหน้าท่านอาจารย์ค่ะ อิอิอิ

ขอบคุณมากค่ะที่มาช่วยเชียร์

ขอขอบคุณกัลยาณมิตาทุกท่านที่แวะมาดูความเชื่อมั่นในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลจากประเทศเพื่อนบ้านของเรานะคะ

มีความสุขในการทำงานในวันนี้ค่ะทุกท่าน

ชอบทุกประเด็นครับ ........................ ชอบตอนจบ...เรื่องราว...ลูกสาว กับลูกพ่อ ความเชื่อใจ...อยู่ในหัวใจ...เหนือสัญชาตญาณ... ขอบคุณคุณปริมมากครับ.........................

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ JJ,

ขอบพระคุณมากค่ะที่กรุณามาฝากข้อคิดเห็นดีดีไว้กับบันทึกนี้ค่ะ

ทั้งทีมงานและผู้คนต่างเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นค่ะ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป คงจะไม่อาจบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดียามดึกค่ะคุณหมออดิเรก

สายใยผูกพันคนให้เชื่อมั่นกันมากกว่าสัญชาติญาณจริงๆ นะคะ

ขอบคุณและฝันดีค่ะ

ซาบซึ้งที่ได้อ่านผลงานของคุณปริมทุกครั้งคะ ขอบคุณมากๆคะ

สวัสดีค่ะคุณกาสะลอง

ด้วยความยินดีที่เข้ามาอ่าน มาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

พระมหาอัมพร ชุตินฺธโร

เออ....สมมตินะ สมมติ หากให้หัวหน้ารัฐบาลกับหัวหน้าฝ่ายค้าน(ในปัจจุบัน) ข้ามสะพานในลักษณะอย่างนี้ ประเทศไทยจะตกน้ำมั๊ยนี่ ? (อีทรัสท์ !)

นิทานประกอบเรื่องเยี่ยม !

ชอบมากค่ะ อ.ปริม :)

"ลูกจ๋า ลูกจับมือพ่อไว้นะ ลูกจะได้ไม่ตกลงไปในแม่น้ำ" เด็กหญิงส่ายหัว และตอบว่า "ไม่ค่ะคุณพ่อ คุณพ่อจับมือหนูดีกว่า" "มันต่างกันยังไงล่ะลูก?" พ่อชักสงสัย "ต่างกันอย่างมากค่ะ" เด็กหญิงตอบ "หากหนูจับมือคุณพ่อและอะไรเกิดขึ้นกับหนู หนูอาจจะปล่อยมือคุณพ่อได้ค่ะ แต่หากคุณพ่อจับมือหนู หนูรู้ว่ายังไงคุณพ่อก็จะไม่มีวันปล่อยมือหนูแน่นอน"

สวัสดีค่ะท่านาจารย์จันทวรรณ

ขอบคุณมากค่ะที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจค่ะ

สุขสันต์วันทำงานค่ะ

กราบนมัสการขอบคุณพระอาจารย์ที่เมตตามาอ่านค่ะ

มาสารภาพว่า แอบข้ามเนื้อหายาขมชุดนี้ของคุณปริมไปค่ะ :))

พบอนุทินอาจารย์จัน นำความละมุนของเมล็ดถั่วอัลมอนต์ไปฝาก :)

เลยตามมา... มาพบความหวานมัส์ส์ของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์อีกสองชั้น ว้าวๆ


ในทุกความสัมพันธ์แก่นแท้ของความเชื่อมั่นเชื่อใจไม่ได้อยู่ที่การผูกมัด

แต่อยู่ที่สายใย ดังนั้นเราควรยื่นมือออกไปจับมือคนที่เรารัก...มากกว่าคาดหวังให้เขามาจับมือเรา

หวังว่าทั้งภาครัฐและประชาชนจะยื่น ฝ่ามือเข้าหากัน

เพราะเราคงไม่อาจจับมือกันได้หากใครยังถือกำปั้นอยู่นะคะ

เพลงบรรเลงเพราะจังค่ะ (เครื่องโหลดได้กระท่อนกระแท่น เชื่อมเน็ตใหม่โพสใหม่สี่รอบแน่ะ)

ขอบคุณมากนะคะ (ส่วนที่ยังมึนส์ส์ กลืนไม่ไหวก็ฝากไว้ก่อนนะคะ สู้สู้สู้ สาธุค่ะ)

 

ขออภัยคุณปริมอย่างแรงค่ะ

พยายามอยู่เป็นนาน ตรวจสอบก็ไม่ได้ ข้อความมาถึงหรือยังหนอ?

เลยโพสหลายครั้งมาก ผิดพลาดอย่างไรไม่ทราบ ข้อความค้างที่ก้อนเมฆก้อนใดหนอ? :)

...มาเป็นตับเลย รบกวนช่วยลบด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

คุณปริมเขียนบันทึกเรื่องอะไรก็มีแง่งามสารพัดอย่างมาฝากพวกเราเสมอๆ ขอบคุณนะคะ

มาบอกข่าวดีสำหรับคุณปริมกับน้องหมอป.ว่า ที่ ม.สงขลานครินทร์ รพ.สงขลานครินทร์ของเรามีระบบการจัดการตรวจคลินิกผู้ป่วยนอกหลายๆคลินิกแล้วนะคะที่ประกันเวลาให้คนไข้ได้รับการตรวจโดยไม่ต้องมานั่งรอนานๆ และมีบางคลินิกปรับเปลี่ยนระบบการทำงานลดขั้นตอนที่ทำให้คนไข้ต้องวุ่นวายเดินวนหลายจุดเป็นระบบง่ายๆ ใช้ระบบ LEAN มาช่วยบริหารจัดการด้วยค่ะ ไว้ถ้าพี่โอ๋พอจะหาข้อมูลรายละเอียดได้จะมาเขียนเล่าเป็นบันทึกค่ะ

สวัสดีค่ะคุณตะวันดิน

ขอบคุณค่ะสำหรับความคิดเห็นค่ะ ปริมลบแล้วค่ะ ระบบคงรวนบ้างนิดหน่อยค่ะ ให้เวลาระบบพักบ้างค่ะ ตอนนี้หายดีทำงานเป็นปกติแล้วค่ะ

ปริมเขียนบันทึกค่อนข้างบ่อยค่ะพักนี้ก็ว่าจะเว้นระยะห่างให้มากขึ้น ให้กัลยาณมิตรได้อ่านและที่สำคัญปริมจะได้อ่านมากขึ้นด้วย ข้อมูลชักเริ่มฝืดค่ะ ;)

สุขสันต์วันศุกร์แห่งชาตินะคะ

สวัสดีค่ะพี่โอ๋

ที่บริษัทปริมเคยเข้ารับการฝึกอบรมและเป็นผู้ปฏิบัติ Operational Excellence หลายปีค่ะ ได้ถึงเข็มขัดเขียว ก็เลยพอจะรู้บ้างและนำมาปรับใช้ลด waste ในที่ทำงานๆ ได้ดีมากค่ะ เวลาที่เสียไป การเดินทางไปมา ก็เป็น waste เช่นกัน

น่าสนใจมากค่ะ งานด้านนี้ ให้ประโยชน์แบบเห็นๆ เลยทีเดียว จะรออ่านบันทึกของพี่โอ๋ด้วยใจจดจ่อค่ะ ;)

ขอบคุณค่ะ

สุขสันต์วันศุกร์ค่ะ ;)

แอบข้ามส่วนยากไปเหมือนคุณตะวันดินเลย อิ อิ

ชอบมากที่ หากเราไม่เป็นผู้เข้าหาภาครัฐก่อน ไม่เชื่อมั่น แล้วสายใยต่อ ๆ ไปจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

คล้าย ๆ ความสัมพันธ์ของคนเรานะคะ

เรา ให้ ความเชื่อมั่นยื่นมือไปแตะมือเขาก่อน

สายใยต่อ ๆ มาจึงเกิด สัมพันธภาพที่ดีตามมานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท