เมื่อไหร่เด็กไทยจะคิดเป็น


“เด็กไทยไม่เก่งเรื่องการคิด  การใช้เหตุผลก็เพราะครูไทยเองก็ไม่สัดทัดในการใช้เหตุผล  เราให้ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงแต่เราไม่ให้ความรู้ที่เป็นทักษะการคิด  ซึ่งก็เป็นที่น่าเสียดายที่เด็กไทยเสียเวลาในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงมากเป็นร้อย ๆ หน้า  โดยไม่ได้อะไรเป็นผลตอบแทนเลย”

                จากสภาพการณ์ดังกล่าว  สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของเด็กไทย  ซึ่งจะพบว่า  นักเรียนมีศักยภาพในด้านทักษะการคิดต่ำ   ปัญหาของเด็กที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน  คือ  พื้นฐานในการเรียนรู้ในโลกอนาคต  กระบวนการคิดวิเคราะห์  และการแก้ปัญหา  ซึ่งเป็นผลมาจาก  เด็กไทยคิดไม่เป็น  จึงส่งผลให้แก้ปัญหาไม่ได้

                ทั้งนี้   ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลางในโรงเรียน  เน้นการให้ความรู้  การให้นักเรียนท่องจำเป็นสำคัญ  ไม่ได้ฝึกให้เด็กเกิดทักษะการคิด  การแก้ปัญหา  ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในระบบโรงเรียน  ทั้ง ๆ ที่แนวคิดเรื่องการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีการนำมาเผยแพร่ในเมืองไทยกว่า 20 ปี  และเกือบจะ 30 ปี มาแล้ว  การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรประถมศึกษา  พ.ศ. 2503  เป็นหลักสูตร  พ.ศ. 2521  ก็ได้ใช้แนวคิดหลักในการเปลี่ยนแปลง  ต่อมาเมื่อหลักสูตรประถมศึกษา  พ.ศ. 2521  ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2533  แนวคิดนี้ก็ยังคงอยู่จวบจนปัจจุบันที่มีการปฏิรูปการศึกษา  และเปลี่ยนเป็นหลักสูตร  พ.ศ. 2544  แล้วก็ตาม  ก็ยังปรากฏให้มีการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน  โดยให้ใช้แนวความคิดนี้ 

                ระบบการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน  ไม่ได้ให้ความสำคัญของกระบวนการคิดเท่าที่ควร  การจัดการเรียนการสอนได้มีการท่องจำที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมายาวนานหลายร้อยปี  ทำให้เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ขาดความสามารถในการวิเคราะห์  ไม่เสริมสร้างให้ผู้เรียนคิดเป็น  วิเคราะห์และประยุกต์เป็น  ส่งผลให้สิ่งที่เรียนมากลายเป็นความรู้ที่ไม่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตได้  ครูมีหน้าที่เป็นนักถ่ายทอดข้อมูลมากกว่าเป็นผู้ชี้แนะความรู้  การวัดผลไม่ได้ช่วยช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักใช้ความคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์

                นอกจากนั้นแล้ว  นักเรียนยังเคยชินกับการสอนและการสอบที่นิยมคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว  (Best  Answer)  โดยนักเรียนจะให้ความสนใจแต่คำตอบที่สุด  (key)  ละเลยคำตอบที่เป็นตัวลวง  (distracter)  ที่ถูกน้อยกว่า  เป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมองปัญหาด้านเดียว  หรือมองโลกแบบมิติเดียว  ไม่สามารถมองโลกแบบหลายมิติได้  มองว่าปัญหาหนึ่ง ๆ จะต้องมีเพียงคำตอบเดียว    ปัญหาหนึ่ง ๆ จะต้องมีวิธีแก้ไขเพียงวิธีเดียว  ไม่มีคำตอบหรือวิธีอื่นอีกแล้ว  แต่ตามความเป็นจริงแล้วปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ สามารถอธิบายได้ด้วยชุดเหตุผลที่หลากหลาย  ไม่ใช่ชุดเหตุผลชุดเดียว  เพราะความจริงมีหลายมิติ  เพื่ออธิบายเรื่องราวหนึ่ง  เหตุและผลชุดหนึ่งก็จะถูกสร้างขึ้น  และทุกอย่างก็จบที่ชุดเหตุและผลนั้น  นี่คือการคิดแบบมิติเดียว  คำตอบทุกคำตอบมีความจำกัด  ปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ไม่เพียงแต่เชื่อมต่อกับปรากฏการณ์อื่น ๆ เท่านั้น  หากยังมีรากของปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องด้วยเสมอ  ดังนั้นมิติในการอธิบายสิ่งต่าง ๆ จึงต้องมีมิติไม่เพียงแต่ภาพด้านกว้างเท่านั้น “ เมื่อไหร่เด็กไทยจะคิดเป็น”  ก็คงจะตอบไม่ได้หากระบบการศึกษาของสังคมไทยยังไม่มีการพัฒนา

                ดังนั้น  การที่จะสอนให้นักเรียนมีทักษะในการคิดก็คือ  จะต้องทำให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้  ด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์

คำสำคัญ (Tags): #ดอกไม้
หมายเลขบันทึก: 495587เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 06:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
 ระบบการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน  ไม่ได้ให้ความสำคัญของกระบวนการคิดเท่าที่ควร  การจัดการเรียนการสอนได้มีการท่องจำที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมายาวนานหลายร้อยปี
  • ลูกโซ่นี้ ถ้าไม่ตัดวงจร ก็จะส่งผลไปอีกร้อยปี
  • เด็กไม่ต้องการคิด อยากได้อะไรสำเร็จรูปเป็น package เพื่อเอาไปบอกต่อๆ ว่านี่ฉันคือผู้มีความรู้
  • อาจารย์ ก็ต้องเตรียมการสอนให้สำเร็จรูป
  • อาจารย์ของอาจารย์ ก็ต้องเตรียมการสอนให้สำเร็จรูป
  • ไม่ใช่ความผิดของใคร แต่ที่มามันเป็นเช่นนี้..ขอบคุณที่เปิดประเด็นค่ะ

I was once a child going through the same pressure "be silent; why don't you learn to think".

Today, I put the same pressure on children but in a different way: "tell me; what do you think?"

Most time I (we) don't listen when children tell us what they think because I (we) think that "children don't know how to think". I (we) should try to listen more and tell them less. Then, maybe, just maybe, I (we) would learn that they do "think of what important to them".

;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท