การดูพระรอดฝีมือช่างต่างๆ คือ การสังเกตสารเคมีแต่งผิว


สาระสำคัญของพระปลอมก็คือการแต่งผิวให้ดูเก่า การแต่งผิวก็คือการโปะสารเคมีต่างๆไปที่ผิว ทำให้ดูคล้ายพระเก่า แต่ความจริงคิอ ไม่เก่า ก็เลยสามารถสะกิดออก ล้างออก ขูดออก ได้โดยง่าย

หลังจากผมทดสอบสายตาและความรู้ในการหยิบพระรอด ผมก็เริ่มมั่นใจว่าพอจะแยกแยะพระรอดฝีมือต่างๆ ได้โดยไม่ยาก

เพราะ สาระสำคัญของพระปลอมก็คือการแต่งผิวให้ดูเก่า

การแต่งผิวก็คือการโปะสารเคมีต่างๆไปที่ผิว ทำให้ดูคล้ายพระเก่า

แต่ความจริงคิอ ไม่เก่า ก็เลยสามารถสะกิดออก ล้างออก ขูดออก ได้โดยง่าย

แม้ไม่ล้างก็จะมองเป็น

  • ความมันเยิ้มของสารเคมี สารแต่งสี
  • ทำให้ผิวที่ควรจะเหี่ยว เป็นริ้วกร่อน กลับเป็นมันๆ เยิ้มๆ
  • ทำให้ผิวที่ควรจะเป็นสนิมขุย ยุ่ยๆ กลับกลายเป็นก้อนหรือฟิล์มสารเคมีหลากสีเคลือบอยู่

ที่อาจทำให้พิมพ์ผิดเพี้ยนไป หรือลำดับชั้นของสีที่ปรากฏที่ผิวพระผิดพลาดไป ผิดที่ ผิดจุด

ควรอยู่ที่สูงมาอยู่ที่ต่ำ ควรอยู่ที่ต่ำกลับอยู่ที่สูง

ที่ภาษาวงการว่า ความเป็นธรรมชาติ นั่นแหละครับ

หรือไม่ ถ้ายังทำไม่ดี หรือไม่สมบูรณ์ ก็ดูเนื้อเรียบๆใหม่ๆ ไม่มีความเหี่ยว ดูง่ายไปอีกอย่างครับ

นี่คือวิธีการดูพระรอดฝีมือต่างๆ ด้วยเทคนิคเดียว ดูคราบโปะ

แบบ ง่ายๆ จริงครับ

พระรอดปลอมยังไม่แต่งผิว หรือไม่ก็ล้างออกไปแล้ว ผิวจะดูใหม่ๆ

คราบโปะต่างๆ ที่ดูเรียบๆมันๆ

การแต่งผิวหยาบๆ เนื้อดูใหม่ๆ อ่อนๆ ไม่หลากหลาย

แม้จะดูเก่า แต่ความเรียบมันแสดงว่ามาจากการโปะผิว

เก๊ตาเปล่า คราบโปะสารพัดชนิด ได้มาตอนเข้าวงการใหม่ๆ

พยายมแต่งยังไง ก็หนีความเรียบมันไม่ได้

องค์นี้ทำได้ใกล้เคียง แต่ความเหี่ยวของผิวของไม่ได้

องค์นี้แต่งสีผิดหลักการ คราบเขียวดำ(ของเนื้อ)ต้องอยู่ในเนื้อ ไม่ใช่มาอยู่บนผิวแดง (ของสนิม) และจุดที่สีดำโผล่ต้องเป็นส่วนนูนผิวกร่อน ไม่ใช่ในร่องแบบนี้

องค์นี้ความพยายามดี แต่หนีความมันของสารเคมีแต่งผิวไม่ได้

องค์นี้ขาดความเหี่ยวของผิว

องค์นี้พระสมมติหลอกมือใหม่ เป็นเนื้อชินเงินแต่งผิว

องค์นี้คราบโปะหนา จนไม่เห็นอะไรเลย ความมันยังปรากฏชัด

พระเนื้อเรซิน จะแต่งได้ใกล้เคียงมากกว่าเนื้อดิน

พระพิมพ์สมมติ เนื้อใหม่ ผิวแต่งบางๆ

องค์นี้ความเหี่ยวไม่พอ คราบผิวยังมัน การแต่งผิวประปราย ดูง่าย

หมายเลขบันทึก: 493099เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ครับภาพไม่ขึ้นครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท