Show and tell : จุดประกายความคิดสร้างสรรค์


กิจกรรม Show and tell แบบที่คุณครูให้เด็กๆ เล่าว่าเสาร์อาทิตย์ไปทำอะไรมา ช่วยสร้าง new association นำไปสู่ creativity

มีผู้แนะนำว่า ควรฝึกภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กับการวิ่ง ( ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นท่าน Sr)
ซึ่งตอนแรก ข้าพเจ้าก็ไม่เชื่อว่า ถ้าวิ่งแล้วเหนื่อยจะฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องได้อย่างไร...

แต่ก็ลองปฎิบัติดู
เพื่อพยุงทักษะภาษาอังกฤษไม่ให้เป็นสำเนียงเมืองก่อนเวลาอันควร
ข้าพเจ้าเลือกการวิ่งบนลู่วิ่ง ไปพร้อมๆ กับฟัง podcast
ปรากฎว่า รู้สึกดีเพราะทำให้ไม่ค่อยรู้สึกเหนื่อย เพลินไปกับเรื่องใน podcast
ประมาณ 30 นาทีได้เหงื่อ โดยไม่ปวดเมื่อยเกินไป
ตอนแรก podcast ที่ข้าพเจ้าฟังเป็นของ NPR แต่มักเป็นข่าวยาวไป
ตอนหลังจึงเปลี่ยนเป็น ESL English cafe
ซึ่งประมาณ 30 นาทีและเป็นเรื่องเกร็ดเล็กเร็ดน้อยสนุกด้วย
และที่สำคัญ ผลิตออกมาถี่มาก สัปดาห์ละครั้ง

" You listening to ESL podcast English cafe episode... 
I am your host Dr. Jef Mcquinland 
comming to you from center of educational and development
in beutiful Los Angeles California
our website is ESLpod dot com..."
(จะสังเกตว่า เว็บเขาเรียบง่าย หาง่าย แต่ update บ่อยมาก)
 

แต่วันนี้เป็นตอนที่ข้าพเจ้าชอบจนเอามาเล่าต่อ
เป็น English cafe # 346 (ฟังได้ที่นี่)

ที่นำเสนอหัวข้อ "นวัตกรรม-Innovation"
เป็นเคล็ดลับ ที่่ผู้ก่อตั้งธุรกิจ- entrepreneur (อา เทอ เพรอ เนอ )
ช่วยทำให้พนักงานในบริษัทของเขามีไอเดียทางธุรกิจใหม่ๆ คือ
กิจกรรม "Show and tell" ในวันจันทร์
กิจกรรมที่ว่านี้ ลองนึกถึง เด็กอนุบาลมาโรงเรียนแล้วคุณครูถามว่า
"วันเสาร์อาทิตย์หนูทำอะไรบ้างค่ะ เล่าให้ฟังหน่อย"
แต่บริษัทนี้ เขาให้พนักงานมา "show and tell"
ว่าเสาร์อาทิตย์ เจออะไร น่าสนใจ "โดยบังเอิญ-stumble across"
ไปดูหนัง  ลูกเล่นเกมส์ ไปดูนิทรรศการศิลปะ ฯลฯ อะไรก็ได้
แล้วคิดเชื่อมโยงกับงานที่ทำอยู่
เขาบอกว่า สิ่งเหล่านี้ "สร้างความเกี่ยวพันใหม่ - new association"
ซึ่งเป็นบ่อเกิดความคิดสร้างสรรค์
(คิดถึงคุณชลัญเจ้าของรางัล R2R ขึ้นมา
มีกลไกนี้แบบอัตโนมัติหรือเปล่านะค่ะ :)

###

ทำให้ข้าพเจ้านึกถึง ตอนที่ฝึกอบรมในอเมริกานั้น
ตอนเช้าวันจันทร์ ก่อนเข้าเรื่องผู้ป่วย
จะมี "show and tell"
อาจารย์มักให้แต่ละคนในทีมเล่าว่า
เสาร์อาทิตย์ไปทำอะไรสนุกสนาน ตื่นเต้นมาบ้าง
ตอนแรกข้าพเจ้าเข้าใจว่า เป็นเพียงการทำให้บรรยากาศผ่อนคลาย
แต่ตอนนี้ คุณประโยชน์อีกอย่าง อาจเป็น "new association"
ให้เกิดมุมมองใหม่ในการเข้าใจผู้ป่วย 
หรือวิธีใหม่ในการทำงานก็ได้

หมายเลขบันทึก: 492284เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เรื่องเล่าเร้าพลัง...เป็น KM sharing ที่สร้างแรงบันดาลใจดีๆ เพื่อต่อยอดและขยายผลค่ะ

สวัสดีค่ะหมอ ป. พี่สนใจเรื่องแบบนี้แหละค่ะ แบบว่าเอาไปสอนนักเรียนให้คิดๆๆ..แต่สร้างสรรค์..นอกกรอบได้..จะขอติดตามต่อไปนะคะ

ขอบคุณค่ะหมอ ป.ที่มีประเด็นดีๆ ให้ชวนคิด ชลัญมักจะถูกคนรอบข้างพูดเสมอว่าเป็น"เด็กพิเศษ" ฟังดูเหมือนจะดี แต่ ในนัยคือแกไม่เหมือนชาวบ้านเขาน่ะ แต่ไอ้ความหมายหลังนี่ เองที่ ทำให้ตัวเอง รู้สึกโดดเดี่ยวในบางครั้งคือ การเป็นคนคิดเร็ว จนคนอื่นคิดตามไม่ทัน มักจะคิดเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เห็น พอเห็นปุ๊บคิดปั๊บ ทำปุ๊บ เร็วมาก จนบางครั้งยังรู้สึกเราสมาธิสั้นหรือเปล่า(ว่ะ) บางเรื่องก็ออกมาดี บางเรื่องก็แผลงจนคนอื่นรับไม่ได้ ผ่านไปอีกสักระยะ เขากลับมาทำในสิ่งที่เราคิดไว้แล้วเขาไม่เอา เหมือนคิดอนาคต ยังไงก็ไม่รู้ แต่ตอนที่เขามาทำแล้วมีคนยกย่องน่ะ กลายเป็นความคิดของคนอื่นไม่ใช่ของชลัญซะแล้ว

   สัปดาห์ที่แล้วมีการประชุม เรื่องบันทึกทางการพยาบาล  มีประเด็นน่าสนใจคือ  การซักประวัติ ผู้ป่วยที่ นอน รพ. โดยใช้แบบแผนการซักประวัติ 11 แบบแผนของกอร์ดอน   ถามพี่ที่อยู่ใน ward  รู้สึกยังไงกับแบบฟอร์มนี้ พี่เขาบอกก็ใช้มาเป็น 10 ปี  หา! ใช้มาเป้น 10 ปี ไม่รู้สึกอะไร  ประชุมเมื่อไรก็โดน หน.ด่าตลอดว่าไม่รู้จัก เอามาเกี่ยวข้องกับ  การวางแผนการรักษาผู้ป่วย  ชลัญว่าสมควรโดน ตั้งแต่หัวหน้า พบ.นั่นแหล่ะ  ใช้กันมาได้มาเป็น 10 ปี  คนแรกคิดไว้ยังไงก็อยู่อย่างงั้นไม่มีการปรับ แบบฟอร์มนัวซะขนาดนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนผิดปกติ  ก็กำลังปรับแบบฟอร์มเสนอพี่เขาดู  แถมได้หัวข้อวิจัยให้เขาอีกเรื่องหนึ่ง คือการหาคอริเรชั่นระหว่างแบบแผนการดำเนินชีวิต 11 แบบแผนกับโรคที่ป่วย    วิจัยชิ้นนี้เสร็จ จะรู้เลยว่า แบบแผนไหนส่งเสริมให้เกิดโรคอะไรในคนพิมาย จะได้แก้ปัญหาถูกจุด  ไม่รู้วิจัยนี้มีใครคิดไว้ยัง  เอ้าใครมาอ่านยังไม่มีหัวข้อวิจัยก็ลองเอาไปทำก่อน เรื่องง่ายๆทำทุกวันมาเป็น 10 ปี เป็นข้อมูลอยู่แต่ในกระดาษเฉยเลย  ไม่มีใครคิด R2Rชั้นดีทีเดียว ที่ยุให้คนอืนทำก่อนนี่เพราะชลัญคิดไว้แต่เขาจะมีคนทำตามหรือเปล่าไม่รู้  ขืนให้เราทำเองตายพอดี  มีเป็นแสนโครงการในหัว  นี่ยังคิดเลยว่าเราเป็น pks เพราะใช้สมองมากไปเปล่า มันเลยเสื่อมเร็ว  อิ อิ เอ้า......เงยหน้ามาดูอีกที  เขียนซะยาวเหยียว  ว่าแล้วอย่าได้พาดพิงเชียว ....ขอโทษนะแย่งซีนบทความหรือเปล่า ?น่าจะยาวพอกันซะมั๊ง   อิ อิ อิ 

ไอเดียชลัญดีจริงๆ  ขอไปบอกคนทำงานเรื่องนี้หน่อยนะคะ

ขอบคุณมากครับ จะนำเทคนิค Show & Tell ไปสอนนักศึกษานะครับผม

"เรื่องเล่า (เร้าพลัง) เช้านี้" :)

ชื่อคล้ายรายการคุณสุรยุทธเลยค่ะ 

ดีใจค่ะที่คุณครูเห็นความสำคัญ ความคิดสร้างสรรค์

เพิ่งทราบเหมือนกันค่ะว่า การให้เขาพูดเรื่องส่วนตัว

นอกจากเป็นการ "ละลายน้ำแข็ง" แล้วยังช่วยเชื่อมโยงโลกทัศน์นอกห้องกับบทเรียนได้ด้วย

  • ทำไปแบบไม่รู้ว่ามีเทคนิคนี้
  • ทุก ๆ เช้าจันทร์  ชอบเล่าเสาร์อาทิตย์  น้อง ๆ ในห้องก็เล่าแลกกัน
  • อิ อิ  แต่ออกแนวเฮฮาเสียมากกว่านะคะ

แวะมาเยือนตอนเช้า เพราะมีเรื่องเล่าเรื่องบอกต่อ

เคยไปทดสอบหัวใจ หมอให้วิ่งบนลู่พร้อมกับให้เล่าเรื่องที่ชอบให้ฟัง

ขอบคุณ คุณชลัญที่มาเล่าประสบการณ์ค่ะ

คนส่วนมาก มีความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง

คนที่ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง มักมีบุคลิกผู้นำ
ที่ทำให้ผู้นำ (ในตำแหน่ง) ไม่ค่อยสบายใจได้

ในองค์กรบ้านเรา จึงเปลี่ยนไม่ค่อยได้ หากไม่ได้มาจากหัว
...

แต่ความดีของงานวิจัย คือ ไม่มีใครห้ามไม่ให้ทำได้
และทำออกมาแล้ว ทำให้เสียงดังขึ้นค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะค่ะ 

 

พี่แก้ว สมเป็นนักวิจัย เห็นคุณค่าแล้วสานต่อ เยี่ยมเลยค่ะ

คิดถึงค่ะ..ยินดีกับรางวัลที่ได้รับด้วยค่ะ

  • น่าลองบ้างครับ "show and tell อาจเป็น new association เกิดมุมมองหรือวิธีคิดใหม่ๆ" 
  • ขอบคุณความรู้ครับ

การคุยเรื่องสัพเพเหระก่อนเข้าเรื่องงาน มีคุณค่าแฝงอยู่ค่ะ
ขอไม่เป็นเรื่องศาสนาและการเมืองละกัน :) 

ขอบคุณสำหรับ "Like" อันเป็นเอกลักษณ์ค่ะ :)

ไอเดียของท่านวอญ่า เข้าทีนะค่ะ

วิ่งบนลู่ไปเล่าเรื่องที่ชอบไป :)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต
ที่แนะนำเวบแหล่งฝึกภาษาอังกฤษของไทย ที่ครบเครื่องอีกแหล่งหนึ่งค่ะ 

ขอบคุณค่ะ ด้วยความคิดถึงเช่นเดียวกันค่ะ :)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ธนิต
ลองแล้วได้ผลอย่างไรมาบอกด้วยนะคะ

..

ตัวเองก็จะลอง โดยจัด "ชั่วโมงดื่มชา"
ให้แพทย์ประจำบ้าน พบอาจารย์แล้วคุยแบบ ฟรีสไตล์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
กระนั้น ก็อาจารย์บางท่านก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าเสียเวลาเปล่าๆ
บ้านเรา อาจารย์ยังยึดกับ บทบาทผู้ให้เนื้อหา
มากกว่าการเป็นผู้ให้แรงบันดาลใจ
ซึ่งกลับกับประเทศที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ
นักศึกษามักสะท้อนว่า
" I did not get much more of content
but I got more courage, curiosity and consistency"
 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท