หมออนามัย หลักประกันสุขภาพ


หมออนามัย หลักประกันสุขภาพ

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ


หลักประกันสุขภาพ
  คือ สิทธิของประชาชนไทยทุกคนที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างเสมอหน้า ด้วยเกียรติและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน โดยที่ภาระด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการไม่เป็นอุปสรรคที่ประชาชนจะได้รับสิทธินั้น ดังนั้น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงไม่ใช่สิ่งต่อไปนี้
  1.ไม่ใช่บริการสงเคราะห์หรือบริการราคาถูก เพียงเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่เป็นบริการที่ต้องมีมาตรฐาน
  2.ไม่ใช่บริการที่ต้องมีการ "สมัคร" หรือ "ร้องขอ" จึงจะได้รับบริการ แต่เป็นสิทธิที่ประชาชนพึงได้รับ
  3.ไม่ใช่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่เป็นของประชาชนทุกคน
ความสำคัญ ของการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำไมจึงต้องมีหลักประกันสุขภาพ คำตอบสำหรับคำถามนี้คือ การมีหลักประกันสุขภาพ เป็นเรื่องของการเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่สร้างความอุ่นใจแก่ประชาชนและเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง การเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การมีสุขภาพที่ดีเป็นสิทธิประการหนึ่งที่มนุษย์พึงมี การให้หลักประกันทางสุขภาพแก่ประชาชนเป็นความจำเป็นทางสังคมที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของประเทศในการเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ ซึ่งเป็นสมาชิกในสังคม การเข้าใช้บริการสาธารณสุขไม่ควรเป็นเรื่องของการร้องขอ และไม่ใช่การซื้อขายแบบธุรกิจ แต่เป็นการที่ประชาชนมารับบริการอันพึงมีพึงได้จากผู้ให้บริการ และเป็นเรื่องของการเฉลี่ยสุขเฉลี่ยทุกข์กันของสมาชิกในสังคม การสร้างความอุ่นใจให้แก่ประชาชน การจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะช่วยให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ทำให้ไม่ต้องเดือดร้อนจากค่าใช้จ่ายของบริการสาธารณสุขที่มีความจำเป็นในยามเจ็บป่วย เพราะค่าใช้จ่ายที่สูงอาจส่งผลกับวิถีการดำเนินชีวิต และหลายครั้งเป็นเหตุทำให้ไม่กล้าไปรับบริการทางด้านสาธารณสุข หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงนับเป็นแนวทางในการยกระดับความเป็นอยู่และแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนได้เช่นกัน การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะกระตุ้นให้เกิดบริการสาธารณสุขที่เป็นองค์รวม ประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย เกิดเครือข่ายของการบริการที่ต่อเนื่อง และส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรในระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีกลไกในการประกันคุณภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคอีกด้วย ความสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในทางสังคม การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ได้จัดให้มีขึ้นแล้วในประเทศเหล่านั้น ไม่เพียงแต่ประชาชนจะได้รับสิทธิอย่างครบถ้วนภายใต้ระบบที่มีมาตรฐานเดียวกัน รายจ่ายด้านสุขภาพในประเทศยังมียอดรวมต่ำกว่าหรือสามารถควบคุมรายจ่ายได้ดีกว่าประเทศที่ไม่มีการจัดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการกระจายภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ การจัดให้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านับเป็นการสร้างระบบและกลไกเพื่อกระจายภาระทางการเงินการคลังด้านสาธารณสุขไปสู่กลุ่มคนต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นในระบบสุขภาพ โดยผู้ที่มีฐานะและโอกาสดีกว่าในสังคมช่วยรับภาระเป็นสัดส่วนมากกว่าผู้ด้อยโอกาส ซึ่งก็คือการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขกันของสมาชิกในสังคมการมีส่วนร่วมของประชาชน ระบบหลักประกันสุขภาพที่ดีจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมในการกำหนดสิทธิประโยชน์ การจัดการและการตรวจสอบการใช้ทรัพยากรต่างๆ ว่าได้ใช้ไปเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางสุขภาพของคนในชุมชนและในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป้าหมายของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นั้นไม่เพียงสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขได้ตามสิทธิอันพึงมีพึงได้เท่านั้น เพราะการมีสุขภาพดีไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการเข้ารับบริการ แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนจะต้องสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพได้มากขึ้น สามารถเข้ามามีส่วนร่วมดูแลและบริหารจัดการระบบสุขภาพได้ โดยถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ระบบต้องเน้นที่การ "สร้าง"สุขภาพมากกว่าการ"ซ่อม"สุขภาพ
 แนวคิดสำคัญในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
1. ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย มีส่วนร่วมรับผิดชอบทั้งในด้านความเป็นเจ้าของ การควบคุมกำกับและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในระดับที่สมเหตุสมผล
2. ประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มที่ และมีกลไกในการคุ้มครองสิทธิที่เป็นจริง
3.หน่วยบริการจะต้องได้มาตรฐานและได้รับการรับรองคุณภาพเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
4. ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าควรให้ความสำคัญกับการมีและใช้หน่วยบริการระดับปฐมภูมิเป็นหน่วยบริการด้านสาธารณสุขด่านแรกสำหรับประชาชน กรณีที่เกินความสามารถจึงจะส่งต่อไปยังหน่วยบริการระดับสูงขึ้นไป
5. สนับสนุนให้หน่วยบริการระดับปฐมภูมิจัดหน่วยบริการร่วมกันในลักษณะเครือข่ายเพื่อให้บริการได้อย่างครอบคลุมกว้างขวาง
6. ระบบการเงินการคลังเพื่อการสร้างระบบหลักประกันถ้วนหน้าจะต้องเป็นระบบที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาวและต้องระวังไม่ให้เกิดสภาพที่ประชาชนมาพึ่งบริการมากเกินความจำเป็น
7. สิทธิประโยชน์หลักและรูปแบบหรือกลไกการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน
8. ระบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพไม่ซ้ำซ้อน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้อย่างเต็มที่
9. ระบบประกันสุขภาพในอนาคตหรือระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ควรจะประกอบด้วยกองทุนประกันสุขภาพเพียงกองทุนเดียว





 

 

หมายเลขบันทึก: 492280เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

There are some "costs" problems with health "safety net" concept. Free general health care can lead to abuses (over-use by patients and over-service by doctors).

Health insurance (private and government subsidised) increases complexity of patient identification, careful description of complaints (wrong words may deem patients uncovered), and billings. (More effort is spent on administration rather than on treatment and patient care.)

Shared responsibility seems a middle ground. Here the service costs are paid by patients and health (insurance) funds. Because patients have to pay, over-use is minimised. Because patients have to pay, over-service is not always agreeable to patients.

Self-care and community-care models can be formulated as cultural solutions to promote self-care know-how and to create community care facilities as sufficient need arises. In short, a culture of good health and well-being for one and for all in any community is the aim.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท